ขั้นตอนการทำพาสปอร์ตแบบ

ขั้นตอนการทำพาสปอร์ตแบบ

#สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ #อยู่ต่างประเทศซื้อบ้านในไทย #สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างแดน #อยู่ต่างประเทศอยากซื้อบ้านในไทย

เอาใจสายเที่ยวกับพาสปอร์ตรุ่นใหม่ ปรับโฉมใหม่น่าใช้กว่าเดิม พร้อมอนุมัติค่าธรรมเนียมแล้ว 1,500 บาท! สมัครพาสปอร์ตที่มีอายุการใช้งาน 10 ปี ได้แล้ววันนี้!

พาสปอร์ต มีกี่ประเภท
พาสปอร์ต หรือ หนังสือเดินทาง คือเอกสารที่ใช้แสดงตนในการเดินทางไปยังประเทศต่าง ๆ เป็นเหมือนบัตรประชาชนที่ใช้ทั่วโลกโดยประเทศไทยมีพาสปอร์ต 4 ประเภท ดีงนี้

หนังสือเดินทางธรรมดา (ปกสีน้ำตาล) หนังสือเดินทางที่มีหน้าปกเป็นสีเเดงเลือดหมู จะเป็นหนังสือเดินทางที่ทางกระทรวงต่างประเทศ ออกให้กับบุคคลธรรมดา โดยมีอายุของหนังสือเดินทางไม่เกิน 5 ปี
หนังสือเดินทางราชการ (ปกสีน้ำเงิน) เป็นหนังสือเดินทางที่ออกให้ข้าราชการ สมาชิกรัฐสภา ที่จำเป็นต้องเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ รวมถึงบุคคลอื่นใดที่เดินทางไปทำประโยชน์ทางราชการตามที่กระทรวงต่างประเทศกำหนด โดยหนังสือเดินทางประเภทนี้จะมีอายุไม่เกิน 5 ปี
หนังสือเดินทางทูต (ปกสีแดงสด) หนังสือเดินทางประเภทนี้จะออกให้เฉพาะเชื้อพระวงศ์ องคมนตรี ประธานเเละรองประธานผู้เเทนราษฏร เเละวุฒิสภา ประธานเเละรองประธานศาลฏีกา ประธานศาลอุทธณ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด อดีตนายก อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เเละผู้บัญชาการเหล่าทัพ รวมถึงบุคคลอื่นในที่เผยเเพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของประเทศไทย โดยหนังสือเดินทางประเภทนี้มีอายุไม่เกิน 5 ปีเเละไม่สามารถต่ออายุเพิ่มได้
หนังสือเดินทางชั่วคราว (ปกสีเขียว) สำหรับผู้ที่ทำพาสปอร์ตหายแต่มีความต้องการเดินทางไปต่างประเทศอย่างเร่งด่วน มีข้อจำกัดคือไม่สามารถนำไปขอวีซ่าได้ในบางประเทศ

ทำพาสปอร์ต เตรียมเอกสารอะไรบ้าง
ก่อนจะไปถึงขั้นการทำพาสปอร์ต เราไปดูกันก่อนว่า เอกสารในการทำพาสปอร์ตมีอะไรบ้าง โดยเอกสารที่เราจะพูดถึงนี้เป็นเอกสารในการทำพาสปอร์ตประเภท 1 สำหรับคนทั่วไป มีเอกสารที่ต้องเตรียมดังนี้

สำหรับทารกแรกเกิด – อายุ 14 ปี
ใช้สูติบัตรฉบับจริง (หากมีบัตรประจำตัวประชาชนแล้วต้องแสดงบัตรฯ ตัวจริง)
บิดาและมารดามาลงนามทั้ง 2 คน พร้อมแสดงบัตรประชาชนตัวจริง

สำหรับผู้เยาว์ อายุ 15 -20 ปี
ใช้บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง
บิดาและมารดามาลงนามทั้ง 2 คน พร้อมแสดงบัตรประชาชนตัวจริง

สำหรับผู้บรรลุนิติภาวะ (20 ปี ขึ้นไป)
บัตรประชาชนตัวจริง
แต่ถ้าหากคุณเคยเปลี่ยนชื่อ หรือเคยมีประวัติการหย่าร้างมาก่อน ให้เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้ด้วยนะคะ เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล ใบสำคัญการหย่าหรือบันทึกการหย่า เป็นต้น

ขั้นตอนการทำพาสปอร์ต
เมื่อเตรียมเอกสารต่าง ๆ พร้อมแล้ว ก็ถึงเวลาในการเดินทางไปทำพาสปอร์ต โดยกระทรวงการต่างประเทศได้มีการจัดตั้งสำนักงานหนังสือเดินทางขึ้นหลายแห่งเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่ต้องการทำพาสปอร์ต โดยคุณสามารถเลือกทำกับสำนักงานหนังสือเดินทางที่ไหนก็ได้ค่ะ เพราะทุกที่จะใช้เอกสารและขั้นตอนเหมือนกัน หรือคุณจะค้นหาคำว่า “สำนักงานหนังสือเดินทาง ใกล้ฉัน” ใน Google ก็จะช่วยให้คุณไม่ต้องเดินทางไกลได้อีกด้วย

เมื่อถึงสำนักงานหนังสือเดินทางที่คุณเลือกแล้ว ให้ทำตามขั้นตอนดังนี้เลย

กดรับบัตรคิว
กรอกใบคำร้อง แนบบัตรประชาชนที่มีเลข 13 หลัก พร้อมเอกสารหลักฐานอื่นที่เตรียมมา ให้เตรียมมาให้ครบในทีเดียวเลยนะคะ อย่าลืมนะ!
นั่งรอคิว เมื่อถึงคิวเรา เจ้าหน้าที่จะให้เรา วัดส่วนสูง เก็บลายพิมพ์นิ้วมือนิ้วชี้ซ้าย และนิ้วชี้ขวาด้วยเครื่องสแกนเนอร์ และถ่ายรูปใบหน้า
ชำระค่าธรรมเนียม 1,000 บาท (หากต้องการให้ส่งหนังสือเดินทางไปที่บ้าน จะมีค่าธรรมเนียมประมาณ 40-60 บาท) หรือหากใครทำที่กรุงเทพ สามารถเดินทางไปรับหนังสือเดินทางได้เองที่กรมการกงสุล
รับใบเสร็จรับเงิน และรับใบนัดรับเล่มตามวันที่
โดยทั่วไปแล้ว พาสปอร์ตจะจัดส่งไปที่บ้านของเราภายใน 5- 7 วันทำการ หากอยู่ในกรุงเทพหรือปริมณฑลก็อาจจะเร็วกว่า หนังสือเดินทางที่เรารอคอยก็จะส่งถึงบ้านอย่างสะดวกโยธินเลยหล่ะ

ทำอย่างไรถึงจะได้พาสปอร์ต 10 ปี
กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ประกาศเปิดบริการให้ประชาชนที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป สามารถขอทำพาสปอร์ตสำหรับบุคคลทั่วไปอายุการใช้งานไม่เกิน 10 ปี ที่กรมการกงสุลและสำนักงานหนังสือเดินทาง (ชั่วคราว) ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด รวมถึงที่สถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ และสำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทยทุกแห่ง โดยมีค่าธรรมเนียม 1,500 บาท โดยมีรายละเอียดดังนี้

ค่าธรรมเนียมพาสปอร์ตอายุ 10 ปี�

เล่มปกติ : 1,500 บาท
เล่มด่วน : 3,500 บาท (สามารถรับเล่มได้ในวันยื่นคำร้อง)
ค่าธรรมเนียมพาสปอร์ตอายุ 5 ปี�

เล่มปกติ : 1,000 บาท
เล่มด่วน : 3,000 บาท�(สามารถรับเล่มได้ในวันยื่นคำร้อง)
โดยมีประกาศเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 11 มี.ค. 2564

พาสปอร์ตรุ่นใหม่มีอะไรใหม่?
สำหรับหนังสือเดินทางรุ่นใหม่จะมีรายละเอียดในรูปเล่มมากขึ้นกว่ารุ่นเก่า เท่าที่สามารถเปิดเผยได้ มีดังนี้

การถ่ายภาพจะมีการเก็บรูปหน้าจริงไว้ในหนังสือเดินทางด้วย
ลายเซ็นจะนูนสัมผัสได้
มีภาพช้างยกงวงอยู่ในหน้าหนังสือเดินทาง เวลากรีดทั้งเล่มจะเห็นภาพช้างยกงวงขึ้นลง
หน้าหนังสือเดินทางทุกหน้าจะพิมพ์ภาพสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ชาติไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา จนถึงรัตนโกสินทร์ พร้อมคำบรรยายสถานที่ เพื่อให้ความรู้แก่คนไทยทุกคน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่จะได้ศึกษาระหว่างนั่งรอขึ้นเครื่องบินหรือเดินทาง

นอกจากนี้ยังมีบริการให้ถือหนังสือเดินทางได้ 10 ปี ซึ่งเปิดให้บริการยื่นขอทำหนังสือเดินทางได้แล้ววันนี้ ส่วนรายละเอียดการเก็บข้อมูลทางชีวภาพตัวบุคคล เช่น ม่านตา และอื่นๆ เป็นการเก็บข้อมูลชั้นความลับในทางราชการไม่เป็นที่เปิดเผย

Cr.wongnai , itravelroom