รถไฟความเร็วสูง เปรียบเสมือนฟันเฟืองในการขับเคลื่อนประเทศ

รถไฟความเร็วสูง เปรียบเสมือนฟันเฟืองในการขับเคลื่อนประเทศ

#สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ #อยู่ต่างประเทศซื้อบ้านในไทย #สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างแดน #อยู่ต่างประเทศอยากซื้อบ้านในไทย #อยู่ต่างประเทศอยากมีบ้านในไทย #กู้บ้านในไทยคนไทยในต่างแดน #สินเชื่อซื้อบ้านสำหรับคนไทยในต่างแดน #ทำงานต่างประเทศกู้บ้านในไทย

นึ่งในโครงการสำคัญที่จะยกระดับประเทศในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC ให้ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงมีอนาคตที่เท่าทันโลก คือ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งเป็นโครงการปรับฐานสาธารณูปโภคครั้งสำคัญ ที่จะช่วยสร้างศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิต-สังคมให้ทันเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่

รถไฟความเร็วสูงจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านภูมิทัศน์และการพัฒนาประเทศ ที่ช่วยปรับลดต้นทุนและเวลาการเดินทาง การคมนาคม และโลจิสติกลงมหาศาล ก่อให้เกิดห่วงโซ่การพัฒนายุคใหม่ในการปรับตัวของการตั้งถิ่นฐานยุคใหม่ การค้าการลงทุน การจ้างงาน การเติบโตและการขยายตัวของเมือง ที่ส่งผลต่อการลดความเหลื่อมล้ำในการพัฒนาโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญ!

ประเทศที่มีความก้าวหน้าหลายประเทศทั้งโลกตะวันตกและในภูมิภาคเอเชีย ที่มีประสบการณ์ในการใช้รถไฟความเร็วสูงปรับฐานเศรษฐกิจและความก้าวหน้าของประเทศ ต่างได้รับผลการพัฒนาที่ดีจากเศรษฐกิจระบบรางทั้งสิ้น! โดยเฉพาะประเทศจีนน่าจะเป็นตัวอย่างที่ดี ในการพัฒนาการคมนาคมทางรางเชื่อมต่อเมืองต่าง ๆ ทั่วประเทศในการปรับลดความเหลื่อมล้ำการพัฒนา ไม่ปล่อยความเจริญกระจุกตัวเติบโตเฉพาะในเมืองใหญ่โดด ๆ ซึ่งในหลายประเทศที่ประสบปัญหานี้ก็ต้องทุ่มงบประมาณมหาศาลเข้าแก้ไข เหมือนกับไทยที่ต้องแบกรับภาระการเติบโตของมหานครแออัดอย่างกรุงเทพ ต้องใช้งบประมาณมหาศาลแก้ไขสารพัดปัญหามาจนทุกวันนี้!

ที่จริงรถไฟความเร็วสูงของไทยได้มีการศึกษามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 โดยเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อม กรุงเทพฯ – สุวรรณภูมิ – ระยอง ได้เริ่มศึกษาตั้งแต่ปี 2537 แต่ก็พึ่งจะเกิดเป็นจริงขึ้นมาได้ในรัฐบาลที่ผ่านมา ด้วยเหตุว่าการรถไฟไทยเติบโตและพัฒนาช้ามาก ๆ แม้จะเป็นประเทศแรก ๆ ในเอซียที่มีรถไฟก่อนใคร ตั้งแต่ช่วงเวลาที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงตั้งกรมรถไฟขึ้นพัฒนากิจการรถไฟเมื่อปี พ.ศ. 2433

การรถไฟไทยพัฒนาไปอย่างช้ามาก หลายประเทศอย่างจีน ญี่ปุ่น ซึ่งในอดีตต้องมาดูงานรถไฟที่ประเทศไทย ปัจจุบันทั้งต่างก็ก้าวรุดหน้าไปมาก การศึกษารถไฟความเร็วสูงจึงเป็นเรื่องความต้องการและความจำเป็นไปในที่สุด ที่จะช่วยพัฒนากิจการรถไฟให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก!

รถไฟความเร็วสูง เป็นระบบคมนาคมโลจิสติกหลักที่เชื่อมเมืองแต่ละเมือง โดยจะมีระบบการคมนาคมย่อยเชื่อมต่อย่อยเข้าในเมืองจากสถานีหลัก การพัฒนาเศรษฐกิจระบบราง เป็นการยกระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจ-ลดต้นทุนการคมนาคมขนส่งและเวลาได้สูงมาก และช่วยสร้างมูลค่าการเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นมาก

จากการศึกษาเศรษฐกิจระบบรางที่ ออสเตรีย ที่ใช้ระบบรางในการคมนาคมขนส่งและพัฒนาเศรษฐกิจสูงถึงร้อยละ 70 พบว่าระบบรางสร้างตัวคูณทางเศรษฐกิจขึ้นอย่างมาก ทุกรายได้ 1 ยูโรของธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมขนส่งทางรางสามารถก่อรายได้ในธุรกิจภาคอื่น ๆ ได้ 0.52 ยูโร และทุกส่วนของการจ้างงานในอุตสาหกรรมนี้จะสร้างตัวคูณทางเศรษฐกิจขึ้นถึง 2.26 หมายถึงการจ้างงาน 1 ตำแหน่งในระบบรางจะส่งผลให้มีการจ้างงานส่วนอื่น ๆ ได้ 1.26 ตำแหน่ง ซึ่งมีตัวเลขใกล้กันเมื่อเทียบกับการศึกษาเรื่องเดียวกันนี้ ในกลุ่มประเทศที่ใช้เศรษฐกิจระบบราง

รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา เป็นการลงทุนแบบ PPP (Public Private Partnership) ร่วมทุนระหว่างรัฐกับเอกชน เป็นการลดภาระงบประมาณของรัฐและเปิดให้เอกชนได้หามืออาชีพมาพัฒนาและบริหารจัดการกิจการนี้ โครงการนี้ “กลุ่มซีพี” ชนะการประมูลในราคาที่ต่ำกว่าราคากลาง จึงเป็นแกนการพัฒนากิจการนี้ร่วมกับพันธมิตรจีน-ญี่ปุ่น-ยุโรปและเอกชนไทย โดยจะเข้าบริหารสร้างความก้าวหน้าและรับความเสี่ยงไปด้วย เป็นความเสี่ยงตั้งแต่แรกเริ่มเลยทีเดียว เพราะหลังลงนามในสัญญาก็ต้องสร้างให้เสร็จก่อนจนกว่ารัฐฯจะตรวจรับแล้วถึงจะจ่ายเงินคืนให้ เนื่องจากมีการกลัวกันว่าถ้ามีความหละหลวมอาจจะทำให้เกิดเหมือนกรณีของโฮปเวล จึงทำให้ผู้ดำเนินกิจการนี้ ต้องแบกภาระหนักอึ้งทั้งเม็ดเงินในการลงทุนก่อสร้าง ภาระดอกเบี้ย และการบริหารความเสี่ยง ซึ่งงานนี้ไม่ใช่เป็นการลงทุนจากรัฐฯโดด ๆ ที่พอขาดทุนก็ปล่อยให้รัฐฯแบกรับภาระเช่นรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง ที่กลายเป็นภาระอันหนักอึ้งในปัจจุบัน!

เส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายแรก สายเชื่อม 3 สนามบิน มี 9 สถานีหลัก จากดอนเมือง พญาไท มักกระสัน สนามบินสุวรรณภูมิ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา พัทยา และสิ้นสุดที่สนามบินอู่ตะเภา ประมาณการว่าจะเริ่มใช้งานได้ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2566

ส่วนต่อขยายเส้นทางนี้จะขยายจากสนามบินอู่ตะเภาไปถึงระยองในปี พ.ศ. 2567 ซึ่งแผนงานระยะต่อไปจะขยายในเส้นทางสายตะวันออกไปจนถึงจังหวัดตราด และเชื่อมเข้าประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่ม CLMV เวลาการเดินทางจากอู่ตะเภาถึงดอนเมืองจะใช้เวลาราว 45 นาที นี่คือความเปลี่ยนแปลงใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่นาน เป็นการเปิดพื้นที่เศรษฐกิจระบบรางยุคใหม่ของประเทศ และเป็นการพัฒนาระบบรถไฟไทยที่มีผลต่อผู้คนทั้งแผ่นดิน รถไฟความเร็วสูงสายนี้เป็นสายที่เชื่อม 3 สนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อรองรับการเติบโตและการพัฒนาเศรษฐกิจยุคใหม่ ที่มีการแข่งขันด้วยการลดต้นทุน นวัตกรรมความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และการพัฒนาความเร็ว ซึ่งทุกปัจจัยมีความสำคัญต่อศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจและการยกระดับคุณภาพชีวิตในโลกปัจจุบันอย่างมาก

อนาคตและความเปลี่ยนแปลงนี้ จะเป็นกลไกสำคัญที่ เชื่อมไทยให้แล่นไปสู่อนาคตข้างหน้าได้อย่างมีความหมาย…

cr.mthai