Alternative Protein อาหารแห่งอนาคต

Alternative Protein อาหารแห่งอนาคต

#สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ #ThinkOfThailandThinkSunGateway

โปรตีนทางเลือก (alternative proteins) เริ่มมีการพูดถึงกัน 3-4 ปีมาแล้ว เกิดขึ้นจากความตระหนักว่า ประชากรโลกเพิ่มขึ้นรวดเร็วกว่าอัตราการผลิตอาหาร อาจทำให้ต้องหาแหล่งโปรตีนอื่น ๆ ทดแทนเนื้อสัตว์ จึงมีการแสวงหาแหล่งโปรตีนคุณภาพจากแหล่งอื่น ๆ ส่งเสริมการบริโภคให้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ มีหลากหลายเหตุผลสนับสนุนให้อุตสาหกรรมโปรตีนทางเลือกเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว

เหตุผลที่ทำให้ alternative protein กลายเป็นกระแสอาหารแห่งอนาคต

1.ความตระหนักต่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนทางธรรมชาติ เพราะเนื้อสัตว์ต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมากในการผลิต การเลี้ยงปศุสัตว์ก่อให้เกิดก๊าซมีเทนทำลายชั้นบรรยากาศ เกิดก๊าซเรือนกระจก ผู้บริโภคบางส่วนก็ลดการเบียดเบียนสิ่งมีชีวิต
2.กระแสความนิยมที่ผู้บริโภคหันมารักสุขภาพมากขึ้น บริโภคเนื้อสัตว์น้อยลง หันไปรับประทานมังสวิรัติ และ vegans เพิ่มมากขึ้น การสำรวจของ Euromonitor’s Health and Nutrition Survey พบว่า ปี 2563 ผู้บริโภคที่เป็น vegetarians และ vegans คิดเป็นร้อยละ 4 และร้อยละ 6 ของประชากรโลก แม้ตลาดอาหารมังสวิรัติไม่ได้ใหญ่นักแต่เป็นตลาดที่น่าสนใจ มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องทุกปี ทั้งยังเป็นตลาดเฉพาะที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูง ไม่รวมถึงกระแส flexitarian หรือการกินมังสวิรัติแบบยืดหยุ่น ก็เติบโตต่อเนื่อง
3.การเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยของหลายประเทศทั่วโลก ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค เป็นอาหารที่ย่อยง่าย ไม่มีไขมันเกินความต้องการ โปรตีนทางเลือกจึงเป็นตัวเลือกสำคัญมาทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ในอนาคต
4.ปัญหา food security ทำให้ alternative protein ยิ่งจำเป็น จาก UN คาดการณ์ว่า ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 9.7 พันล้านคนในปี 2050 ซึ่งจะยิ่งกระทบต่อ food security ความเพียงพอของโปรตีนจากเนื้อสัตว์จะลดลงต้องหาโปรตีนทดแทน
5.COVID-19 ทำให้ความกังวลในการบริโภคเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้น การเลือกซื้อเนื้อสัตว์ในท้องตลาดอาจเกิดการปนเปื้อนเชื้อ COVID-19 รวมถึงความวิตกกังวลการแพร่ระบาดของโรคบางชนิดจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์สู่คน เช่น โรคไข้หวัดนก โรควัวบ้า ทำให้ผู้บริโภคในสหรัฐถึง 23% เลือกบริโภคอาหารโปรตีนจากพืชมากขึ้นในช่วงการระบาดของ COVID-19 อัตราการเติบโตของยอดขายอาหารระหว่างเดือน มี.ค.-พ.ค. 2020 ของร้านค้าปลีกในสหรัฐ plant-based meat หรือเนื้อสัตว์ทางเลือก ขายได้มากกว่าปีก่อนถึงเกือบ 3 เท่า
เหตุผลดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนการบริโภค alternative protein ทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ แหล่งโปรตีนที่สำคัญและได้รับความนิยมนำมาผลิตโปรตีนทางเลือก เช่น โปรตีนจากพืช (plant-based protein), โปรตีนจากสาหร่าย (algae-based protein) โปรตีนจากแมลง (insect-based protein) โปรตีนจากเชื้อราที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ (mycoprotein) โปรตีนจากการเพาะเลี้ยงในห้องทดลอง (lab-grown protein) เป็นต้น

cr. https://www.prachachat.net/columns/news-745741

#สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ #สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างแดน #อยู่ต่างประเทศอยากมีบ้านในไทย #กู้บ้านในไทยคนไทยในต่างแดน #สินเชื่อบ้านสำหรับคนไทยในต่างแดน #ทำงานต่างประเทศกู้บ้านในไทย