จับตาเศรษฐกิจไทย ก้าวสู่ไตรมาส 2 หลังไตรมาสแรกเป็นไปตามคาด

จับตาเศรษฐกิจไทย ก้าวสู่ไตรมาส 2 หลังไตรมาสแรกเป็นไปตามคาด

#สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ #อยู่ต่างประเทศซื้อบ้านในไทย #สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างแดน #อยู่ต่างประเทศอยากซื้อบ้านในไทย

เป็นที่รู้กันดีว่าสภาพตลาดอสังหาฯ นั้นมีความสอดคล้องกับเศรษฐกิจไทย ดังนั้นในช่วงไตรมาสแรกปี 2561 ยังคงเป็นไปตามคาดว่าปี 2561 จะดีขึ้นกว่าปี 2560 และทุกฝ่ายทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชน ยังมองมุมบวกต่อเศรษฐกิจไทยจะยังเติบโตอย่างต่อเนื่องในไตรมาส 2 แต่จะเริ่มกังวลต่อผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน อาจส่งผลเสียหายได้ทีั้งทางตรงและทางอ้อม รวมถึงการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยต่อจากนี้ เพราะไทยยังพึ่งพาการส่งออกกว่า 70% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) มีความเห็นจากภาครัฐและเอกชนเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยของปีนี้ในช่วงเวลาที่เหลือ
เป็นไปตามคาด เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรก ยังโตต่อเนื่อง
นายศรพล ตุลยะเสถียร ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหาภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง ย้อนถึงไตรมาสแรกที่ผ่านมาว่า จากภาวะเศรษฐกิจจะโตอย่างที่สศค. ประเมินไว้ และทำให้ทั้งปีสามารถโต 4.2% เศรษฐกิจไตรมาสแรกรับแรงหนุน 3 สูงคือ การส่งออกสินค้าที่ขยายตัวสูงสุดต่อเนื่องจากปลายปี 2560 จำนวนนักท่องเที่ยวขยายตัวสูง และการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ดี นอกจากนี้การลงทุนภายในประเทศทั้งการลงทุนภาครัฐ และการลงทุนเอกชน ยังขยายตัวดี
ในปีนี้ถือว่าเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างเต็มที่ มีหลายสำนักประเมินตรงกัน จะได้เห็นการขยายตัวเกินกว่า 4% เป็นการเติบโตแตกต่างจาก 3-4 ปีที่ผ่านมา เพราะในปีนี้เครื่องยนต์เกือบทุกตัวกลับมาเดินเครื่องเต็มที่ทั้งการจับจ่ายใช้สอยและการบริโภคเริ่มดี ส่วนการลงทุนรัฐยังเดินหน้า เมื่อรวมกับการลงทัุนเอกชน คาดว่าน่าจะเพิ่มมากขึ้น ยิ่งทำให้เศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีเติบโตต่อไป
ภาวะสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน
สิ่งที่ต้องจับตามองคือเรื่องต่างประเทศ โดยเฉพาะกรณีสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน มีโอกาสเกิดขึ้น แต่คิดว่าจะไม่รุนแรง ทัั้งนี้มีความชัดเจนของรายการสินค้าที่ 2 ประเทศนำมาใช้ตอบโต้กัน ในส่วนสหรัฐประกาศออกมา 1,300 รายการ มูลค่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เช่น อิเล็กทรอนิกส์ เหล็ก อะลูมิเนียม ยางพารา เมล็ดพลาสติก เครื่องใช้ไฟฟ้า ส่วนจีนประกาศออกมา 128 รายการ มูลค่า 3 พันล่านดอลลาร์สหรัฐ เช่น ผลไม้แปรรูป อาหารแช่แข็ง
เรื่องนี้ทางสศล. กำลังนำรายการสินค้าดังกล่าว มาพิจารณาว่ากระทบต่อไทยอย่างไรบ้าง เท่าที่ดูกระทบไม่มาก เนื่องจากไทยมีการส่งออกไปทั้งสหรัฐและจีน ประเทศละ 11% ของการส่งออกทั้งหมด และไทยอาจได้ผลดี หากสินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าที่ไทยมีการนำเข้า ไทยอาจได้ประโยชน์ เพราะสินค้าดังกล่าวต้องถูกนำไปขายในประเทศอื่นแทนสหรัฐและจีน ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่าง 2 ประเทศ จึงไม่น่ากระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจของไทยนัก เพราะไทยกระจายสัดส่วนการส่งออกไปยังหลายประเทศ
นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหาภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ขณะนี้ตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมา มีข้อมูลเพียง 2 เดือน ต้องติดตามตัวเลขในเดือนมีนาคมที่จะออกมาอีกครั้้ง อย่างไรก็ดี อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจ (จีดีพี) ไตรมาสแรกปี 2561 น่าจะขยายตัวได้ใกล้ 4% ธปท. คาดว่าจีดีพีปี 2561 จะขยายตัวได้ 4.1% ส่วนการส่งออกปีนี้คาดขยายตัว 7% โดยตัวเลขการส่งออกมกราคมขยายตัว 16.7% กุมภาพันธ์ขยายตัว 7.7% เดือนแรกขยายตัวได้ 12%
ด้านแนวโน้มการขยายตัวเศรษฐกิจไทยช่วงที่เหลือของปีนี้ จะขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยแรงส่งเศรษฐกิจจากปัจจัยในประเทศจะมีผลมากขึ้นทั้งการบริโภคและลงทุนทั้งเอกชนและภาครัฐ โดยเฉพาะช่วงไตรมาสที่ 2 ที่จะมีการเบิกจ่ายงบกลางปี อาทิ โครงการบัตรสวัสดิการคนจนเฟส 2 จัดสรรงบให้กองทุนหมู่บ้าน โครงการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากสนับสนุนการท่องเที่ยวระดับชุมชน เป็นต้น ส่งผลดีต่อการบริโภค ในช่วงครึ่งปีหลังที่จะเห็นการลงทุนภาครัฐออกมาและทำให้เอกชนลงทุนมากขึ้น
การส่งออกยังขยายตัวดี แต่อัตราขยายตัวชะลอลง
ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศอย่างการส่งออกยังขยายตัวดี แต่อัตราขยายตัวชะลอลง และการท่องเที่ยวโตต่อเนื่องอย่างไรก็ตามมีความเสี่ยงที่ต้องติดตาม ได้แก่ กำลังซื้อยังไม่กระจายตัว โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย สะท้อนจากรายได้ทั้งในและนอกภาคเกษตรกรรม สถานการณ์การกีดกันทางการค้า อาจจะส่งผลกระทบกับการส่งออกไทยได้ แต่เชื่อว่าไม่น่าจะเกิดสงครามการค้ารุนแรง รวมทั้งปัญหาภูมิรัฐศาสตร์
น.ส. ณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล ผู้บริหารงานวิจัยศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า ศูนย์วิจัยฯ คาดว่าการส่งออกช่วงครึ่งปีแรกจะขยายตัว 5% และจีดีพีครึ่งปีแรกน่าจะขยายตัว 3.9% ขณะที่ทั้งปี 2561 คาดการส่งออกขยายตัว 4.5% และจีดีพีขยายตัว 4.0% มองว่าแรงหนุนยังมาจากการส่งออก ท่องเที่ยว การลงทุนทั้งรัฐและเอกชน แม้ว่าการบังคับใช้กฎหมายจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐจะส่งผลให้การเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐล่าช้าไปบ้าง แต่คาดว่าการเร่งเบิกจ่ายในช่วงที่เหลือของปีงบประมาณ น่าจะทำให้การลงทุนภาครัฐยังเป็นแรงหนุนที่สำคัญ ด้านการบริโภคคาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่อง
ขณะที่ นายเจน นำชัยศิริ อดีตประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน ประเมินเศรษฐกิจไตรมาสแรกได้รับผลดีจากการส่งออก (กกร.) และการท่องเที่ยวที่ขยายตัวดี ล่าสุดในการประชุม กกร. เมื่อช่วงต้นเดือนเมษายน ปรับเพิ่มประมาณการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 2561 ใหม่อยู่ที่ 4.0-4.5% จากเดิม 3.8-4.5% ส่งออกคาดอยู่ที่ 5.0-8.0% จาก 3.5-6.0% เงินเฟ้อทั่วไป คาดอยู่ที่ 0.7-1.2% จาก 1.1-1.6%
ในระยะเวลาที่เหลือของปีนี้ สิ่งที่จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย คือปัญหาความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐกับนานาประเทศ รวมทั้งการเปิดเผยรายงานนโยบายอัตราดอกเบี้ยแลกเปลี่ยนของประเทศคู่ค้าสหรัฐในเดือนเมษายนนี้ นอกจากนี้ ต้องการปรับตัวของราคาสินค้าเกษตรบางรายการ และความคืบหน้าของการลงทุนภาครัฐ
ส่วนในไตรมาส 2 ทิศทางของเศรษฐกิจไทย คงต้องติดตามนโยบายของโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ หลังมีคำสั่งจะพิจารณาขยายมูลค่าการนำเข้าจากจีน สูงถึง 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ จึงอาจส่งผลให้ค่าเงินบาทมีความผันผวนได้ตลอดเวลา