อาหารไทยจะเป็น Soft Power สร้างจุดขายให้กับประเทศและสร้างโอกาสในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
Krungthai COMPASS ระบุว่า อาหารไทยจะเป็น Soft Power สร้างจุดขายให้กับประเทศและสร้างโอกาสในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
ทำไมอาหาไทยถึงจะเป็น Soft Power ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
1. เป็นที่นิยมของชาวต่างชาติ
อาหารไทยเป็นแม่เหล็กดึงดูดชาวต่างชาติ เห็นได้ชัดจากบทความจัดอันดับของเว็บไซต์ต่าง ทั้งของ TasteAtlas ที่จัดให้ ข้าวซอย ติดอันดับ 1 ของซุปที่ดีที่สุดในโลก ในรายการ The 50 Best Soup และ แกงพะแนงติด อาหารที่ดีสุดในโลก และ The Best Traditional Dishes In The World In 2022 , นิตยสาร Reader’s Digest 2022 ที่ให้ผัดไท ติดอันดับ 6 จาก 50 อันดับ อาหารต่างชาติที่เป็นที่นิยมของชาวสหรัฐ , แกงเขียวหวาน ติดอันดับ 3 ของอาหารที่เป็นที่นิยมของประชากรในสหราชอาณาจักร ในรายการ The 10 Most Popular International Cuisines In The UK , แกงมัสมั่น ที่ CNN Travel (2022) จัดให้ เป็นอาหารที่ดีที่สุดในโลก ในรายการ The World’s 50 Best Foods , บทความ Most Popular Ethnic Foods From Around The World ของ Discovery Lifestyle (2021) ที่ระบุว่า อาหารไทยเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมในโลกเพราะมีการผสมผสานรสชาติต่างๆ อย่างลงตัว และ ร้าน Le Du ของประเทศไทย คว้าอันดับ 1 ในรายการ Asia’s 50 Best Restaurants ในปี 2023
2. เป็นผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ของโลก
ไทยส่งออกอาหารเป็นอันดับ 15 ของโลก เนื่องจากไทยมีความได้เปรียบด้านวัตถุดิบสินค้าเกษตร โดยในปี 2565 มูลค่าส่งออกอาหารของไทยอยู่ที่ 36,480 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท) เฉพาะมูลค่าส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับอาหารไทย ทั้งกลุ่มวัตถุดิบ เช่น เครื่องปรุงรส รวมถึงกลุ่มอาหารพร้อมปรุง อยู่ที่ 4,589 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 161,100 ล้านบาท) คิดเป็นสัดส่วน 11.5% ของการส่งออกอาหารไทยทั้งหมด
3.นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
อาหารจึงเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีบทบาทมากขึ้นในการสนับสนุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ธุรกิจต่อยอดอาหารไทยเป็น Soft Power
ธุรกิจผลิตเครื่องปรุงรส
ที่จะชูจุดขายวัตถุดิบของไทย เช่น น้ำพริก เครื่องแกง เครื่องต้มยำ ควบคู่กับการพัฒนาไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ด้านสุขภาพ เช่น เครื่องปรุงรสลดโซเดียม หรือเครื่องปรุงรสออร์แกนิก ที่ตอบโจทย์ทั้งในด้านสุขภาพและเป็นสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ธุรกิจผลิตอาหาร
กลุ่มผู้ประกอบการที่ผลิตอาหารสำเร็จรูปพร้อมปรุงและพร้อมทาน เจาะกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ที่ต้องการสะดวกและรวดเร็วในการรับประทาน อาทิ ผัดไทย ผัดกะเพรา หรือผัดแกงเขียวหวานพร้อมทาน
ธุรกิจร้านอาหารและร้านค้าท้องถิ่น
โดยเฉพาะร้านที่ตั้งอยู่ในแหล่งท่องเที่ยว เช่น ลิซ่า แบล็กพิงค์ ที่ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับลูกชิ้นยืนกิน ส่งผลให้ยอดขายลูกชิ้นยืนกินในจังหวัดบุรีรัมย์เพิ่มขึ้น
ธุรกิจร้านอาหารไทยในต่างประเทศ
โดยเฉพาะร้านอาหารไทยที่มีเมนูอาหารไทยแบบดั้งเดิม เช่น ต้มยำกุ้ง มัสมั่น ข้าวซอย เป็นต้น หรือมีการขายผ่านแพลตฟอร์มสั่งอาหารออนไลน์ซึ่งเป็นช่องทางที่เป็นที่นิยมมากขึ้นในกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่
ธุรกิจท่องเที่ยว
โดยเฉพาะธุรกิจท่องเที่ยวเชิงคุณภาพในกลุ่มการท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Foods Tourism หรือ Gastronomy Tourism) ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในกลุ่มนี้ที่มีแนวโน้มเติบโตเนื่องจากพฤติกรรมนักท่องเที่ยวยุคใหม่ต้องการเรียนรู้วัฒนธรรมอาหาร หรือเติมเต็มประสบการณ์และสัมผัสกิจกรรมท่องเที่ยวอันหลากหลายที่เกี่ยวเนื่องกับอาหารแต่ละท้องถิ่น
ที่มา : https://thaipublica.org/2023/04/krungthai-compass50/
ที่มารูปภาพ : pixabay