เปิดแผนที่ฉบับเต็ม รถไฟฟ้าใต้ดินผ่านบ้านใครบ้าง!!

เปิดแผนที่ฉบับเต็ม รถไฟฟ้าใต้ดินผ่านบ้านใครบ้าง!!

หากนับถอยหลังไปเมื่อปี 2542 จนถึงวันนี้เป็นเวลากว่า 15 ปีที่กรุงเทพฯเริ่มมีการใช้รถไฟฟ้า แม้ในปัจจุบันจะมีเพียง 4 เส้นทาง 60 สถานีและมีระยะทางเพียง 86.52 กิโลเมตร ก็ตาม แต่ก็มีอีกหลายโครงการที่กำลังก่อสร้าง วางแผนการประมูล ดำเนินการ

ซึ่งคาดว่ากรุงเทพมหานครจะมีรถไฟฟ้า-รถไฟฟ้าใต้ดินเชื่อมโยงทั่วทุกพื้นที่ภายในปี 2572 แต่มีแผนเร่งรัดการดำเนินการพยายามให้เสร็จภายในปี 2562 ซึ่งจะเร็วกว่ากำหนดเดิม 10 ปี

1.สีแดงเข้ม (รถไฟฟ้าชานเมือง)
– ธรรมศาสตร์ – บางซื่อ
-ศูนย์กลางสถานีบางซื่อ แถวถนนเทอดดำริ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีแดงอ่อน และแอร์พอร์ตลิงก์ จากนั้นมุ่งหน้าสู่ -สถานีจตุจักร บริเวณใกล้กับบ้านพักนิคมรถไฟ กม.11 ผ่าน
-สถานีวัดเสมียนนารี
-สถานีบางเขน ตรงข้ามมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
-สถานีทุ่งสองห้อง ใกล้กองกำกับการสุนัขตำรวจ
-สถานีหลักสี่ เยื้องห้างไอทีสแควร์ เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีชมพู
-สถานีการเคหะ ใกล้แฟลตการเคหะฯ ดอนเมือง
-สถานีดอนเมือง
-สถานีหลักหก ใกล้หมู่บ้านเมืองเอก
และสถานีรังสิต แถวหมู่บ้านรัตนโกสินทร์ 200 ปี
นอกจากนี้ยังมี
-สถานีรังสิต
-สถานีคลองหนึ่ง
-สถานี ม.กรุงเทพ
-สถานีเชียงราก
– บางซื่อ – หัวลำโพง
-สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ
-สถานีสามเสน แถวสามเหลี่ยมรถไฟจิตรลดา
-สถานีราชวิถี ซึ่งสามารถเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนได้
-สถานียมราช เชื่อมรถไฟฟ้าสายสีส้ม
-สถานียศเส เชื่อมรถไฟฟ้าบีทีเอส
และสถานีรถไฟหัวลำโพง เพื่อเชื่อมต่อรถไฟฟ้าใต้ดิน
– หัวลำโพง – บางบอน
– บางบอน – มหาชัย

2.สีแดงอ่อน (รถไฟฟ้าชานเมือง)
– ศาลายา – ตลิ่งชัน
– ตลิ่งชัน – บางซื่อ
-สถานีกลางบางซื่อ
-สถานีบางซ่อน เชื่อมต่อกับสายสีม่วง
-สถานีพระราม 6
-สถานีบางกรวย-กฟผ.
-สถานีบางบำหรุ
-สถานีชุมทางตลิ่งชัน ก่อนไปสิ้นสุดที่สถานีบ้านฉิมพลี
– บางซื่อ – พญาไท – มักกะสัน
– มักกะสัน – หัวหมาก
-สถานีบางซื่อมุดอุโมงค์มาโผล่สถานี
-ราชวิถี จากนั้นก็ถูกยกระดับทางขึ้นมาสู่
-สถานีพญาไท จากนั้นขึ้นลอยฟ้ามาจอด
-สถานีมักกะสัน
-สถานีศูนย์วิจัย
-สถานีรามคำแหง
และ สถานีหัวหมาก ซึ่งสามารถเชื่อมกับรถไฟแอร์พอร์ตลิงก์ และสายสีเหลืองได้
– มักกะสัน – บางบำหรุ

3.แอร์พอร์ตเรลลิงก์
– สุวรรณภูมิ – พญาไท
– พญาไทย- บางซื่อ
-สถานีราชวิถี
-สถานีบางซื่อ
-สถานีบางเขน
-สถานีหลักสี่
-สถานีดอนเมือง โดยช่วงเส้นทาง พญาไท-ถ.พระราม 6 จะเป็นทางยกระดับ จากนั้นพอถึง ถ.พระราม 6-ถ.ระนอง 1 จะมุดลงใต้ดินตรงสามแยกจิตรลดา และยกระดับอีกครั้งจาก ถ.ระนอง 1

4. สีเขียวเข้ม (รถไฟฟ้ายกระดับ)
– ลำลูกกา – คูคต
– คูคต – สะพานใหม่
– สะพานใหม่ – หมอชิต
แนวเส้นทางเริ่มต้นจากรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีหมอชิต ผ่านห้าแยกลาดพร้าว มุ่งสู่แยกรัชโยธิน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไปจนถึงแยกหลักสี่ หลบอุโมงค์ไปจนถึงหน้าตลาดยิ่งเจริญ จากนั้นไปตามถนนพหลโยธิน และเบี่ยงออกขวาข้ามคลองสอง ผ่านสถานีตำรวจภูธรคูคต เข้าสู่เกาะกลางของถนนลำลูกกา จนสิ้นสุดที่คลองสอง สถานีคูคต
– หมอชิต – อ่อนนุช
– อ่อนนุช – แบริ่ง
– อุดมสุข – สุวรรณภูมิ
– ธนาซิตี้ – วัดศรีวาน้อย
– แบริ่ง – สมุทรปราการ
แนวทางเส้นทางก่อสร้าง จะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีแบริ่ง ไปตามแนวเกาะกลางของถนนสุขุมวิท ผ่านคลองสำโรง แยกเทพารักษ์ แยกปู่เจ้าสมิงพราย จนถึงบริเวณจุดตัดถนนวงแหวนรอบนอกด้านใต้ จากนั้นข้ามทางต่างระดับสุขุมวิทไปตามเกาะกลางถนนสุขุมวิท ผ่านแยกศาลากลาง แยกการไฟฟ้า แยกแพรกษา แยกสายลวด จนสิ้นสุดหน้าสถานีรถไฟฟ้าย่อยบางปิ้ง
– สมุทรปราการ – บางปู

5.สีเขียวอ่อน (รถไฟฟ้ายกระดับ)
ตลิ่งชัน – บางหว้า
บางหว้า – วงเวียนใหญ่
วงเวียนใหญ่ – สะพานตากสิน
สะพานตากสิน – สนามกีฬาแห่งชาติ
สนามกีฬาแห่งชาติ – ยศเส

6.สีน้ำเงิน (รถไฟฟ้าใต้ดินและยกระดับ)
ท่าพระ – บางซื่อ
เส้นทางนี้จะเป็นลอยฟ้า เริ่มต้นจากสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินบางซื่อ ผ่านแยกเตาปูน ซึ่งเป็นสถานีร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง เข้าสู่ถนนประชาราษฎร์สาย 2 ผ่านแยกบางโพ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เลี้ยวซ้ายเข้า ถ.จรัญสนิทวงศ์ บริเวณโรงเรียนเทคโนโลยีพระราม 6 ผ่านแยกบางพลัด แยกบรมราชชนนี แยกไฟฉาย และสิ้นสุดที่แยกท่าพระ
บางซื่อ – หัวลำโพง
หัวลำโพง – ท่าพระ – บางแค
แนวเส้นทาง เริ่มจากสถานีหัวลำโพง วิ่งแบบรถใต้ดินไปตามแนวถนนพระรามที่ 4 เข้าสู่ถนนเจริญกรุง ผ่านวัดมังกร–กมลาวาส ผ่านวังบูรพา เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสนามไชย ลอดอุโมงค์ใต้แม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากคลองตลาดไปจนถึงคลองบางกอกใหญ่ เข้าสู่ถนนอิสรภาพ และปรับโหมดวิ่งแบบลอยฟ้า มุ่งสู่แยกท่าพระ ซึ่งใช้สถานีร่วมกับสายสีน้ำเงินช่วงบางซื่อ-ท่าพระ จากนั้นวิ่งไปตามถนนเพชรเกษม ผ่านบางไผ่ บางหว้า ภาษีเจริญ บางแค สิ้นสุดที่วงแหวนรอบนอกถนนกาญจนาภิเษก
บางแค – พุทธมณฑลสาย 4
กำลังเร่งศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเพื่อเชื่อมต่อสถานีหลักสองไปถึงพุทธมณฑลสาย 4 รองรับการเดินทางประชาชนฝั่งธนที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง มีระยะทาง 8 กม.ประกอบด้วย 4 สถานี 1.สถานีพุทธมณฑลสาย 2 2.สถานีทวีวัฒนา 3.สถานีพุทธมณฑลสาย 3 4.สถานีพุทธมณฑลสาย 4 คาดก่อสร้างเสร็จปี 2564

7.สีม่วง (รถไฟฟ้าใต้ดินและยกระดับ)
บางใหญ่ – บางซื่อ
แนวเส้นทางเริ่มต้นจากสถานีเตาปูน จากนั้นเข้าถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี มุ่งหน้าทิศเหนือสู่สถานีบางซ่อน ซึ่งเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน ผ่านแยกวงศ์สว่าง เข้าสู่เขต ต.บางเขน จ.นนทบุรี เลี้ยวขวาที่แยกติวานนท์เข้าสู่ถนนติวานนท์ ผ่านกระทรวงสาธารณสุข เลี้ยวซ้ายก่อนถึงแยกแครายสู่ถนนรัตนาธิเบศร์ จากนั้นมุ่งหน้าไปทิศตะวันตก เชื่อมต่อกับจุดเริ่มต้นของรถไฟฟ้าสายสีชมพู ที่สถานีศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี ผ่านศาลากลางจังหวัดนนทบุรี ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านแยกบางรักน้อยหรือจุดตัดถนนราชพฤกษ์ และแยกบางพลู เลี้ยวขวาไปถนนกาญจนาภิเษก ผ่านชุมชนตลาดบางใหญ่ ไปสิ้นสุดที่คลองบางไผ่ จ.นนทบุรี รวมระยะทาง 23 กม.
-สถานีคลองบางไผ่
-สถานีตลาดบางใหญ่
-สถานีสามแยกบางใหญ่
-สถานีบางพลู
-สถานีบางรักใหญ่
-สถานีท่าอิฐ
-สถานีไทรม้า
-สถานีสะพานพระนั่งเกล้า
-สถานีแยกนนทบุรี 1
-สถานีศรีพรสวรรค์
-สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี
-สถานีกระทรวงสาธารณสุข
-สถานีแยกติวานนท์
-สถานีวงศ์สว่าง
-สถานีบางซ่อน
และสถานีเตาปูน
บางซื่อ – ราษฎร์บูรณะ

8.สีส้ม (รถไฟฟ้าใต้ดินและยกระดับ)
ตลิ่งชัน – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – บางกะปิ
แนวเส้นทางเริ่มจากสถานีศูนย์วัฒนธรรมเป็นแบบรถใต้ดิน เข้าสู่พื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุง รฟม. และมุ่งหน้าไปทิศตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนเข้าสู่ถนนพระราม 9 บริเวณหน้าที่ทำการของ รฟม.จากนั้นไปทิศตะวันออกผ่านแยกพระราม 9 ประดิษฐ์มนูธรรม เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ ถ.รามคำแหง ผ่านมหาวิทยาลัย รามคำแหง ราชมังคลากีฬาสถาน แยกลำสาลี ก่อนถึงจุดตัดถนนศรีบูรพา เพื่อยกระดับลอยฟ้าไปตามแนวเกาะกลางสู่สถานีบ้านม้า ผ่านหมู่บ้านสัมมากร ข้ามทางแยกต่างระดับรามคำแหงจุดตัดถนนกาญจนาภิเษก ผ่านแยกลาดบัวขาว จุดตัดถนนมีนพัฒนา ไปเคหะรามคำแหง ก่อนสิ้นสุดเส้นทางที่ ถ.สุวินทวงศ์ คาดก่อสร้างเสร็จปี 2563
บางกะปิ – มีนบุรี

9.สีชมพู
แคราย – ปากเกร็ด
-ศูนย์ราชการนนทบุรี
-แคราย ใกล้ รพ.โรคทรวงอก
-สนามบินน้ำ ซ.ติวานนท์ 35
-สามัคคี ใกล้แยกสามัคคี
-กรมชลประทาน ซ.ติวานนท์ 4-6
-ปากเกร็ดหัวมุมห้าแยก
ปากเกร็ด – หลักสี่
-เลี่ยงเมืองปากเกร็ด ถ.แจ้งวัฒนะ
-แจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28 ใกล้ห้างเซ็นทรัล พลาซา
-เมืองทองธานี ใกล้ทางเข้าเมืองทองธานี
-ศรีรัช ทางเข้าอิมแพค
-เมืองทอง 1 ซ.แจ้งวัฒนะ 14
-ศูนย์ราชการ หน้ากรมการกงสุลและการสื่อสาร
-ทีโอที ซ.แจ้งวัฒนะ 5-7
-หลักสี่ ใกล้ไอทีสแควร์ เชื่อมต่อสายสีแดง
-ราชภัฏพระนคร หน้าห้างแม็กซ์แวลู และ ม.ราชภัฏพระนคร
หลักสี่ – วงแหวนรอบนอก
-วงเวียนหลักสี่ ใกล้อนุสาวรีย์หลักสี่ เชื่อมสายสีเขียว
-รามอินทรา 3 ใกล้ห้างเซ็นทรัล
-ลาดปลาเค้า ใกล้สะพานข้ามแยก
-รามอินทรา 31 ใกล้ฟู้ดแลนด์
-มัยลาภ รามอินทรา ซ.12-14 21.วัชรพล ใกล้ซอยวัชรพล
-รามอินทรา 40 ระหว่าง ซ. 40-42
-คู้บอน แยกนวมินทร์
-รามอินทรา83 ใกล้ รพ.สินแพทย์
วงแหวนรอบนอก – มีนบุรี
-วงแหวนตะวันออก หน้าแฟชั่นไอส์แลนด์
-นพรัตนราชธานี ใกล้แยกเข้าสวนสยาม
-บางชัน รามอินทรา ซ.109-115
-เศรษฐบุตรบำเพ็ญ
-ตลาดมีนบุรี ถ.สีหบุรานุกิจใกล้ตลาดมีนบุรี
และ มีนบุรี ถ.รามคำแหง ซอย 192 ใกล้แยกร่มเกล้า จะเชื่อมกับสายสีส้ม
แนวเส้นทางเริ่มต้นจากหน้าศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรีเชื่อมกับสายสีม่วง วิ่งเข้า ถ.ติวานนท์และเลี้ยวขวาห้าแยกปากเกร็ด ผ่านถนนแจ้งวัฒนะ เมืองทองธานี ศูนย์ราชการ ผ่านแยกหลักสี่ เพื่อเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีแดงที่สถานีหลักสี่ จากนั้นข้ามถนนวิภาวดี ไปสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว และแล่นไปตามถนนรามอินทรา จนถึงแยกมีนบุรีแล้ววิ่งเข้าเมืองมีนบุรีตามถนนสีหบุรานุกิจข้ามคลองสามวา เลี้ยวขวาข้ามคลองแสนแสบ เข้าสู่ถนนรามคำแหงจนสิ้นสุดแถวแยกร่มเกล้า คาดว่าจะเสร็จปี 2563

10.สีเหลือง
ลาดพร้าว – พัฒนาการ
-รัชดาฯ
-ภาวนา ปากซอยภาวนา ลาดพร้าว 41
-โชคชัย 4 ลาดพร้าว 53
-ลาดพร้าว 65
-ฉลองรัชหน้าห้างอิมพีเรียลเวิลด์ ลาดพร้าว 81
-วังทองหลาง หน้าโรงเรียนบางกอกศึกษา ลาดพร้าว 112
-ลาดพร้าว 101
-บางกะปิ ใกล้เดอะมอลล์
-แยกลำสาลี ด้านทิศใต้แยกลำสาลี
-ศรีกรีฑา ด้านทิศใต้แยกศรีกรีฑา
-พัฒนาการ ช่วงจุดตัดรถไฟและ ถ.พัฒนาการ
-คลองกลันตัน หน้าธัญญาช็อปปิ้ง พาร์ค
พัฒนาการ – สำโรง
-ศรีนุช
-ศรีนครินทร์ 38
-สวนหลวง ร.9 กึ่งกลางห้างซีคอนสแควร์และพาราไดซ์ พาร์ค
-ศรีอุดม
-ศรีเอี่ยม เยื้องศุภาลัยปาร์ค
-ศรีลาซาล
-ศรีแบริ่ง
-ศรีด่าน
-ศรีเทพา
-ทิพวัล ปากซอยหมู่บ้านทิพวัล
และสำโรง ใกล้ตลาดเทพารักษ์
แนวเส้นทางเริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าใต้ดินที่แยกรัชดา-ลาดพร้าว จากนั้นวิ่งไปตามแนวถนนลาดพร้าว จนถึงทางแยกบางกะปิ และเลี้ยวขวาไปตามถนนศรีนครินทร์ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้มที่แยกลำสาลี ตัดข้ามแยกต่างระดับพระราม 9 สามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ ผ่านแยกพัฒนาการ แยกศรีนุช แยกศรีอุดมสุข แยกศรีเอี่ยม จนถึงแยกศรีเทพา จากนั้นเลี้ยวขวาไปทางทิศตะวันตก ตามแนวถนนเทพารักษ์ผ่านรถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่สถานีสำโรง และสิ้นสุดบริเวณถนนปู่เจ้าสมิงพราย โดยคาดจะสร้างแล้วเสร็จในปี 2563

11.สีน้ำตาล
แคราย – บึงกุ่ม

12.สีเทา
วัชรพล – ลาดพร้าว
ลาดพร้าว – พระราม 4
พระราม 4 – สะพานพระราม 9

13.สีฟ้า
ดินแดง – สาธร