#อยู่ต่างประเทศซื้อบ้านที่ไทย #สินเชื่อบ้าน #สินเชื่อบ้านคนไทยในต่างแดน #สินเชื่อบ้านธอส #อยู่ต่างประเทศ #ซื้อบ้านในไทย #คนไทยในต่างประเทศ
กระบวนการซื้อขายบ้าน-คอนโดฯ มีขั้นตอนท้ายที่สุดคือ การโอนกรรมสิทธิ์ เมื่อผ่านขั้นตอนนี้ผู้ซื้อจะกลายเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์อย่างเต็มตัว ซึ่งในการโอนกรรมสิทธิ์นี้อาจพบเจอกับปัญหาบางประการได้ วันนี้เรายกประเด็นสำคัญที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ในขั้นตอนการโอนมาให้ได้อ่านกันค่ะ
1. ที่ดิน-พื้นที่ขาดหรือเกิน
มีโอกาสเกิดขึ้นได้ทั้งบ้านและคอนโดฯ บ้านจริงหรือห้องจริงอาจมีขนาดต่างไปจากแบบที่เขียนไว้ ตามกฏหมายได้กำหนดว่าหากที่ดินหรือพื้นที่ห้องชุดขาดหรือเกินไม่ถึง 5% ผู้ซื้อต้องรับไว้และจ่ายเงินไปตามส่วน แต่ถ้ามากกว่า 5% มีสิทธิ์ปฏิเสธได้หากต้องการ
2. โฉนด / อ.ช.2
เป็นเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ที่จะได้รับในวันโอน โดยบ้านจะได้โฉนด และคอนโดฯจะได้ใบ อ.ช.2 ออกให้โดยกรมที่ดิน ซึ่งระบุขนาดที่ดินหรือพื้นที่ห้องชุด รังวัดโดยเจ้าหน้าที่ ดังนั้น โฉนดหรือ อ.ช.2 กำหนดขนาดไว้เท่าไหร่ต้องยึดถือตามนั้น
3. ใบปลอดหนี้ โฉนดปลอดอายัด
ในกรณีบ้านมือสองต้องตรวจสอบก่อนว่าโฉนดถูกอายัดไว้หรือไม่ ซึ่งอาจถูกอายัดไว้ถ้าเจ้าของเดิมค้างชำระค่าส่วนกลาง ส่วนถ้าเป็นคอนโดฯมือสอง จะต้องมีใบปลอดหนี้ประกอบการโอนกรรมสิทธิ์ ซึ่งจะได้มาเมื่อเจ้าของไม่ได้ค้างชำระค่าส่วนกลางหรือจ่ายหมดแล้ว
4. การตรวจรับมอบบ้าน คอนโดฯ
ก่อนโอนกรรมสิทธิ์ผู้ซื้อจะต้องตรวจและเซ็นรับมอบบ้านหรือห้องชุด แต่ถ้ามีงานก่อสร้างต้องแก้ไขให้เสร็จก่อนจึงจะเซ็นรับมอบ ไม่ว่าจำนวนงานจะมากหรือน้อยแค่ไหน ถ้าไม่เสร็จสมบูรณ์ไม่ควรรับโอน
5. เงินกองทุน
เป็นค่าใช้จ่ายอย่างหนึ่ง ที่ต้องชำระในวันโอนกรรมสิทธิ์ หลายคนเข้าใจว่าจ่ายเพียงครั้งเดียว แต่ความเป็นจริงกฏหมายได้กำหนดไว้ว่าหากเงินกองทุนหมด สามารถเรียกเก็บใหม่ได้ภายหลัง แต่ต้องผ่านมติที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมเท่านั้น