#คนไทยในต่างประเทศ #สินเชื่อสำหรับคนไทยในต่างประเทศ #สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ #อยู่ต่างประเทศซื้อบ้านในไทย #สินเชื่อสำหรับคนไทยในต่างประเทศ #คนไทยในต่างแดน #ซื้อบ้านในไทย #อยู่ต่างประเทศซื้อบ้านในไทย #สินเชื่อคนไทยในต่างแดน #สินเชื่อซื้อบ้านสำหรับคนไทยในต่างแดน #ทำงานต่างประเทศ #อยู่ต่างประเทศ
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในปี 2568 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบ คือ มีจำนวนผู้สูงอายุมากถึง 20% จากสัดส่วนประชากรทั้งประเทศ และต้องมีภาระงบประมาณเข้าไปดูแลสูงถึงปีละ 690,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันถึง 2 เท่าตัว ซึ่งจากประเด็นดังกล่าว ทางที่ประชุมครม.(วานนี้) เห็นชอบ 4 มาตรการรองรับสังคมผู้สูงอายุ ทั้งการจ้างงาน สร้างที่อยู่ ให้สินเชื่อ และตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคบังคับ เพื่อลดภาระงบประมาณของภาครัฐ
โดยมาตรการแรก เป็นการช่วยเหลือการจ้างงานผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่มีค่าจ้างไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท โดยเอกชนสามารถนำค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินเดือนและค่าจ้างดังกล่าว ไปหักภาษีได้ 2 เท่า แต่ขอใช้สิทธิได้ไม่เกิน 10% ของลูกจ้างทั้งหมด ช่วยลดภาระให้เอกชนที่จ้างงานได้เดือนละ 3,000 บาทต่อคน คาดว่าจะครอบคลุมลูกจ้างในกลุ่มนี้ประมาณ 94,000 คน ซึ่งรัฐจะสูญเสียรายได้ประมาณปีละ 3,300 บาท
มาตรการที่ 2 จะเป็นการสร้างที่อยู่อาศัยให้กับผู้สูงอายุ แบ่งเป็นบนที่ราชพัสดุ ในจังหวัดชลบุรี นครนายก เชียงราย และเชียงใหม่ โดยใน 3 จังหวัดแรก คิดค่าเช่าตารางวาละ 1 บาทต่อเดือน และค่าธรรมเนียมการจัดให้เช่า 2 เท่าของค่าเช่า 1 ปีส่วนเชียงใหม่ ให้คิดตามระเบียบกระทรวงการคลัง โดยผู้เช่าได้รับสิทธิ์เช่าเป็นเวลา 30 ปี และต่ออายุได้อีก 30 ปี
ด้านมาตรการที่ 3 เป็นการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้สูงอายุที่มีบ้านปลอดภาระหนี้ สามารถนำมาเปลี่ยนเป็นรายได้ ซึ่งมูลค่าเงินที่กู้ได้จะขึ้นอยู่กับอายุของผู้กู้ มูลค่าบ้าน และอัตราดอกเบี้ย ซึ่งผู้กู้สามารถเลือกรับเงินเป็นก้อนเดียวหรือทยอยรับเป็นงวดจนกว่าจะเสียชีวิต หรือจนกว่าจะหมดอายุสัญญาเงินกู้
และมาตรการสุดท้าย จะเป็นการบรูณาการระบบบำเหน็จบำนาญ โดยจะออกเป็นร่างพ.ร.บ.จำนวน 2 ฉบับ ต่อไป เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน พร้อมให้กบช. เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคบังคับ สำหรับแรงงานในระบบ ครอบคลุมลูกจ้างเอกชน ลูกจ้างชั่วคราวส่วนราชการ พนักงานราชการ และรัฐวิสาหกิจ ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รวม 11.37 ล้านคน