เจ้าหนี้อายัดเงินเดือน-โบนัสลูกหนี้ได้ รู้หรือไม่?

เจ้าหนี้อายัดเงินเดือน-โบนัสลูกหนี้ได้ รู้หรือไม่?

#สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ #สินเชื่อสำหรับคนไทยในต่างประเทศ #บ้านและสินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ
#สินเชื่อคนไทยในต่างแดน #สินเชื่อบ้านเพื่อคนไทยที่ทำงานในต่างประเทศ #อยู่ต่างประเทศซื้อบ้านที่ไทย #สินเชื่อบ้านคนไทยในต่างแดน
หลายคนเมื่อมีรายจ่ายมากกว่ารายรับหรือจำเป็นต้องใช้เงินก้อนใหญ่ขึ้นมาโดยไม่ได้วางแผนเอาไว้ล่วงหน้า ก็มักจะหันไปพึ่งพาสินเชื่อส่วนบุคคล บัตรกดเงินสด หรือกดเงินจากบัตรเครดิตมาใช้ หากเรามีวินัยในการจ่ายคืนทุกเดือนก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่หากไม่มีวินัยในการจ่ายคืน หรือไม่สามารถจ่ายได้แม้กระทั่งขั้นต่ำก็จะกลายเป็นภาระหนี้สิน สร้างปัญหาตามมาได้มากมาย
ลูกหนี้หลายคนคงอยากรู้ว่า หากเราจ่ายหนี้ไม่ได้ รายได้จากการทำงานของเรา อย่างเงินเดือน หรือโบนัสนั้น เจ้าหนี้จะสามารถอายัดได้หรือไม่ รวมถึงทรัพย์สินต่างๆ ที่มีอยู่จะถูกเจ้าหนี้ยึดไปด้วยไหม เราได้ไปหาคำตอบในเรื่องนี้มาฝากแล้ว
เบื้องต้นต้องทราบก่อนว่า เจ้าหนี้มีสิทธิอายัดเงินเดือน โบนัส และยึดทรัพย์ของลูกหนี้ได้ แต่เจ้าหนี้ไม่สามารถทำได้เองโดยพลการ จะทำได้ก็ต่อเมื่อศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าหนี้ชนะคดี และลูกหนี้เองไม่ชำระคืนให้กับเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาภายใน 15 วัน หรือ 30 วัน ขึ้นอยู่กับการกำหนดของศาลในคำพิพากษา แต่จะมีหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขในการอายัดเงินเดือน โบนัส และยึดทรัพย์อย่างไร มาดูรายละเอียดกัน

การอายัดเงินเดือนและโบนัส
– ในการอายัดเงินเดือนต้องดูก่อนว่า ลูกหนี้ทำอาชีพอะไร
– หากลูกหนี้เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างประจำของข้าราชการ ตรงนี้จะไม่ถูกอายัดเงินเดือนเลย
– แต่หากลูกหนี้เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจหรือพนักงานบริษัท เจ้าหนี้สามารถอายัดเงินเดือนได้ แต่จะอายัดได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของเงินเดือนก่อนหักค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้ว
ทั้งนี้ มีข้อยกเว้นอีกว่า ถ้าลูกหนี้มีเงินเดือนไม่ถึง 10,000 บาท เจ้าหนี้จะไม่สามารถอายัดเงินเดือนได้ เนื่องจากต้องเหลือเงินขั้นต่ำไว้อย่างน้อย 10,000 บาท ให้ลูกหนี้ได้ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เช่น ลูกหนี้มีรายได้เดือนละ 20,000 บาท ลูกหนี้จะถูกอายัดเงินเดือนได้สูงสุดไม่เกิน 30% x 20,000 = 6,000 บาท ทำให้มีเงินเหลือไว้ใช้จ่ายเดือนละ 14,000 บาท
แต่หากลูกหนี้มีรายได้เดือนละ 12,000 บาท เจ้าหนี้จะอายัดเงินเดือน 30% x 12,000 = 3,600 บาทไม่ได้ เพราะทำให้ลูกหนี้มีเงินเหลือไว้ใช้จ่ายเพียงเดือนละ 8,400 บาท กรณีนี้เจ้าหนี้จะอายัดได้เพียง 2,000 บาทเท่านั้น เพื่อให้ลูกหนี้เหลือเงิน 10,000 บาทไว้ใช้จ่ายนั่นเอง
นอกจากนี้ ยังมีกรณียกเว้น หากลูกหนี้มีค่าใช้จ่ายจำเป็นอื่นๆ เช่น ค่าเลี้ยงดูลูก ค่ารักษาพยาบาล ก็สามารถนำหลักฐานไปลดหย่อนที่กรมบังคับคดีเพื่อให้เจ้าหนี้ลดเปอร์เซ็นต์การอายัดเงินเดือนลงได้ครับ
ในส่วนของเงินโบนัสที่เราได้รับจากการทำงานมาตลอดทั้งปี เจ้าหนี้จะสามารถอายัดได้ไม่เกิน 50% ของจำนวนเงินโบนัสที่เราได้รับ เช่น สิ้นปีได้เงินโบนัสมา 100,000 บาท เจ้าหนี้สามารถอายัดเงินโบนัสได้ไม่เกิน 50% x 100,000 = 50,000 บาท เท่านั้น

การยึดทรัพย์สิน
นอกจากการอายัดเงินเดือน และโบนัสของลูกหนี้แล้ว เจ้าหนี้ยังสามารถยึดทรัพย์สินที่มีค่าของลูกหนี้ได้อีกด้วย เช่น สร้อย แหวน ทองคำ นาฬิกา
แต่หากเป็นทรัพย์สินที่จำเป็นในการดำเนินชีวิตอย่างข้าวของเครื่องใช้ในครัวเรือน เช่น โต๊ะกินข้าว เก้าอี้ อุปกรณ์เครื่องครัว โทรทัศน์ ที่มีมูลค่า 50,000 บาทแรก หรือทรัพย์สินที่ใช้เป็นเครื่องมือในการทำมาหากินของลูกหนี้ ถ้ามีมูลค่ารวมกันไม่ถึง 100,000 บาท เจ้าหนี้จะไม่สามารถยึดได้ ทั้งนี้ หากเครื่องมือทำมาหากินมีมูลค่าสูงกว่า 100,000 บาท และลูกหนี้จำเป็นต้องใช้จริงๆ ก็สามารถร้องขอต่อศาลได้ครับ
นอกจากการอายัดเงินเดือน โบนัส และการยึดทรัพย์สินแล้ว สำหรับเงินฝากในบัญชีธนาคารของลูกหนี้ เจ้าหนี้สามารถสั่งอายัดได้ทั้งจำนวน ในส่วนของทรัพย์สินที่เป็นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ หรือหากไปร่วมทุนกับคนอื่นเปิดบริษัท กรมบังคับคดีสามารถยึดใบหุ้นเพื่อขายทอดตลาด และอายัดทรัพย์สินเฉพาะส่วนที่เป็นของลูกหนี้เพื่อนำมาชำระหนี้ได้ทั้งจำนวน
จุดเริ่มต้นของการเป็นหนี้ไม่ได้เป็นการได้เงินมาใช้สบายฟรีๆ แต่เป็นการนำเงินในอนาคตมาใช้ล่วงหน้า และต้องใช้คืนหนี้ทั้งหมด ทั้งเงินต้นรวมถึงดอกเบี้ย หากทุกวันนี้เรายังเป็นหนี้ไม่มากและพอที่จะชำระไหว ควรมีวินัยในการชำระหนี้และรีบปลดหนี้ให้หมดเร็วไวเพื่อความเป็นไทของตัวเราเอง เงินที่หามาได้ทุกบาททุกสตางค์ รวมถึงทรัพย์สินต่างๆ ที่เราสร้างขึ้นมาก็จะไม่ถูกอายัดหรือยึดไป ที่สำคัญคือ พยายามรักษาเครดิตเอาไว้ให้ดี เพราะหากพลาดพลั้งก่อหนี้เสียไปแล้ว ในอนาคตหากต้องการกู้ซื้อบ้านหรือทำธุรกิจขึ้นมา โอกาสในการขอสินเชื่อก็อาจเป็นไปได้ยาก