ด้วยสภาพการจราจรในเมืองหลวงที่ติดขัดสาหัส ทำให้ระบบขนส่งมวลชนอย่างรถไฟฟ้าเป็นทางเลือกอันดับต้น ๆ ของคนกรุงเทพฯ ซึ่งทุกวันนี้ทั้งรถไฟฟ้าบนดินและใต้ดินเปิดให้บริการแล้วเพียง 4 สาย จำนวน 60 สถานี ประกอบด้วย
สายสีเขียวเข้ม
หมอชิต-อ่อนนุช (16.5 กิโลเมตร)
อ่อนนุช-แบริ่ง (5.3 กิโลเมตร)
สายสีเขียวอ่อน
สนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน (7 กิโลเมตร)
สะพานตากสิน-ถ.ตากสิน (2.2 กิโลเมตร)
สายสีน้ำเงิน
บางซื่อ-หัวลำโพง (20 กิโลเมตร)
สายท่าอากาศยาน แอร์พอร์ตเรลลิงก์
พญาไท-สุวรรณภูมิ (28.5 กิโลเมตร)
ขณะที่ยังมีโครงการก่อสร้างและแผนพัฒนาอยู่อีกหลายสาย ดังที่เราได้ยินข่าวกันอยู่บ่อย ๆ ซึ่งก่อนหน้านี้มีแผนว่าจะเปิดบริการให้ครอบคลุมทั้งหมดภายในปี พ.ศ. 2572 หรืออีก 15 ปีข้างหน้า แต่ล่าสุดมีความพยายามเร่งรัดการพัฒนาโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2562 ตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อเปิดบริการให้ได้ทุกเส้นทาง
นั่นหมายความว่าอีก 15 ปีข้างหน้า หรืออย่างน้อยที่สุดคือ 5 ปี (ถ้าเร่งรัดสำเร็จ) คนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะสามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น ด้วยโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าที่เชื่อมต่อกันทั่วทุกทิศเหมือนใยแมงมุม ส่วนจะผ่านเส้นทางไหน ใครจะได้ประโยชน์ในการเดินทางบ้าง กระปุกดอทคอม หยิบแผนที่โครงข่ายรถไฟฟ้ามหานครที่เมื่อสร้างเสร็จทั้งระบบมาให้ชมกันแล้ว
1.สายสีแดงเข้ม (ธรรมศาสตร์-มหาชัย) รถไฟฟ้าชานเมือง ระยะทาง 80.8 กิโลเมตร
ธรรมศาสตร์-บางซื่อ
บางซื่อ-หัวลำโพง (เปิดบริการภายในปี 2560)
หัวลำโพง-บางบอน
บางบอน-มหาชัย
2.สายสีแดงอ่อน (ศิริราช-ศาลายา-ตลิ่งชัน-หัวหมาก) รถไฟฟ้าชานเมือง ระยะทาง 54 กิโลมเตร
ศิริราช-ตลิ่งชัน (เปิดบริการภายในปี 2559)
ตลิ่งชัน-บางซื่อ (เปิดบริการภายในปี 2559)
บางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน (เปิดบริการภายในปี 2560)
มักกะสัน-หัวหมาก (เปิดบริการภายในปี 2560)
มักกะสัน-บางบำหรุ
3.สายท่าอากาศยาน แอร์พอร์ตเรลลิงก์ (ดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท-สุวรรณภูมิ) ระยะทาง 50.3 กิโลเมตร
สุวรรณภูมิ-พญาไท
พญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง (เปิดบริการภายในปี 2560)
4.สายสีเขียวเข้ม (ลำลูกกา-สมุทรปราการ) รถไฟฟ้ายกระดับ ระยะทาง 66.5 กิโลเมตร
ลำลูกกา-คูคต
คูคต-สะพานใหม่ (เปิดบริการภายในปี 2560)
สะพานใหม่-หมอชิต (เปิดบริการภายในปี 2559)
หมอชิต-อ่อนนุช
อ่อนนุช-แบริ่ง
อุดมสุข-สุวรรณภูมิ
ธนาซิตี้-วัดศรีวาน้อย
แบริ่ง-สมุทรปราการ (เปิดบริการภายในปี 2559)
สมุทรปราการ-บางปู
5.สายสีเขียวอ่อน (ยศเส-บางหว้า) รถไฟฟ้ายกระดับ ระยะทาง 15.5 กิโลเมตร
ตลิ่งชัน-บางหว้า
บางหว้า-วงเวียนใหญ่
วงเวียนใหญ่-สะพานตากสิน
สะพานตากสิน-สนามกีฬาแห่งชาติ
สนามกีฬาแห่งชาติ-ยศเส
6.สายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-หัวลำโพง-ท่าพระ-พุทธมณฑลสาย 4) รถไฟฟ้าใต้ดินและยกระดับ ระยะทาง 55 กิโลเมตร
ท่าพระ-บางซื่อ (เปิดบริการภายในปี 2560)
บางซื่อ-หัวลำโพง
หัวลำโพง-ท่าพระ-บางแค (เปิดบริการภายในปี 2560)
บางแค-พุทธมณฑลสาย 4
7.สายสีม่วง (บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ) รถไฟฟ้าใต้ดินและยกระดับ ระยะทาง 42.8 กิโลเมตร
บางใหญ่-บางซื่อ (เปิดบริการภายในปี 2559)
บางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ
8.สายสีส้ม (ตลิ่งชัน-มีนบุรี) รถไฟฟ้าใต้ดินและยกระดับ ระยะทาง 37.5 กิโลเมตร
ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-บางกะปิ (เปิดบริการภายในปี 2560)
บางกะปิ-มีนบุรี
9.สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ระยะทาง 36 กิโลเมตร
แคราย-ปากเกร็ด (เปิดบริการภายในปี 2559)
ปากเกร็ด-หลักสี่ (เปิดบริการภายในปี 2559)
หลักสี่-วงแหวนรอบนอก (เปิดบริการภายในปี 2559)
วงแหวนรอบนอก-มีนบุรี (เปิดบริการภายในปี 2559)
10.สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร
ลาดพร้าว-พัฒนาการ (เปิดบริการภายในปี 2559)
พัฒนาการ-สำโรง (เปิดบริการภายในปี 2560)
11.สายสีเทา (วัชรพล-สะพานพระราม 9) ระยะทาง 26 กิโลเมตร
วัชรพล-ลาดพร้าว
ลาดพร้าว-พระราม 4
พระราม 4-สะพานพระราม 9
12.สายสีฟ้า (ดินแดง-สาธร) อยู่ระหว่างฟื้นฟูโครงการ
ดินแดง-สาธร
13.สายสีน้ำตาล (แคราย-บึงกุ่ม) ระยะทาง 21 กิโลเมตร
แคราย-บึงกุ่ม
เส้นทางทั้งหมดนี้หากสร้างแล้วเสร็จจริง ๆ และสามารถเปิดบริการได้เต็มระบบไม่ว่าจะภายใน 5-15 ปีต่อจากนี้ ย่อมเป็นประโยชน์ต่อการเดินทางของผู้คนในเมืองหลวงและปริมณฑลอย่างแน่นอน และน่าจะช่วยบรรเทาเบาบางปัญหาจราจรได้พอสมควร