“เช็กสิทธิลดหย่อนภาษีของปี 59 และพิจารณาถึงความจำเป็นในการใช้จ่าย ก่อนตัดสินใจใช้สิทธิลดหย่อนภาษี”

“เช็กสิทธิลดหย่อนภาษีของปี 59 และพิจารณาถึงความจำเป็นในการใช้จ่าย ก่อนตัดสินใจใช้สิทธิลดหย่อนภาษี”

#คนไทยในต่างประเทศ #สินเชื่อสำหรับคนไทยในต่างประเทศ #สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ #อยู่ต่างประเทศซื้อบ้านในไทย #สินเชื่อสำหรับคนไทยในต่างประเทศ #คนไทยในต่างแดน #ซื้อบ้านในไทย #อยู่ต่างประเทศซื้อบ้านในไทย #สินเชื่อคนไทยในต่างแดน #สินเชื่อซื้อบ้านสำหรับคนไทยในต่างแดน #ทำงานต่างประเทศ #อยู่ต่างประเทศ.
ช่วงปลายปีแบบนี้ สำหรับมนุษย์เงินเดือนทั่วไปคงไม่มีเรื่องไหนจะฮอตฮิตไปกว่าการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีอีกแล้วล่ะค่ะ ยิ่งช่วงนี้มีมาตรการจากทางภาครัฐออกมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นช้อป กิน เที่ยว และอื่นๆ ที่ผ่านมา ซึ่งจะช่วยเราประหยัดภาษีได้มาก เพราะสามารถนำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงมาลดหย่อนภาษีได้นั่นเอง
สิทธิลดหย่อนภาษีเฉพาะกิจปี 59 ได้แก่
1. ช้อปช่วยชาติ
เพิ่งคลอดออกมาสดๆ ร้อนๆ ไม่กี่วันที่ผ่านมา สำหรับมาตรการช้อปช่วยชาติ โดยเราสามารถนำค่าซื้อสินค้าหรือบริการที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ในระหว่างวันที่ 14-31 ธันวาคม 2559 มาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยมีเงื่อนไขว่า ต้องซื้อสินค้าหรือบริการ และชำระค่าสินค้าหรือบริการในช่วงเวลาดังกล่าว
โดยมีหลักฐานเป็นใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบซึ่งระบุวันที่ซื้อสินค้าหรือบริการ รวมถึงชื่อและที่อยู่ของเราในใบกำกับภาษีอย่างชัดเจน ทั้งนี้ สินค้าหรือบริการที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้นั้นไม่รวมถึงเหล้า เบียร์ ไวน์ ยาสูบ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือ น้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ ค่าบริการที่พักโรงแรมภายในประเทศและค่าแพ็คเกจทัวร์ในประเทศ
2. เที่ยวไทยช่วยชาติ
มาตรการนี้มี 2 รอบด้วยกัน
– รอบแรก หากเที่ยวในประเทศระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2559 สามารถนำค่าบริการที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ สำหรับการเที่ยวภายในประเทศ และค่าที่พักโรงแรมให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม มาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
– รอบสองที่อนุมัติเพิ่มเติม หากเที่ยวในประเทศระหว่างวันที่ 1– 31 ธันวาคม 2559 สามารถนำค่าบริการที่จ่ายมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท รวมค่าลดหย่อนภาษีจากการเที่ยวในประเทศสูงสุดจำนวน 30,000 บาท ทั้งนี้ ต้องมีใบกำกับภาษีมาเป็นหลักฐานในการลดหย่อนภาษีด้วย
3. กิน-เที่ยวช่วงสงกรานต์
สามารถนำค่าอาหารและเครื่องดื่มที่จ่ายให้กับร้านอาหาร ค่าที่พักโรงแรม และค่าแพ็คเกจทัวร์ที่จ่ายให้กับผู้ประกอบการที่จดภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างวันที่ 9 – 17 เมษายน 2559 มาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ทั้งนี้ ไม่รวมถึงเหล้า เบียร์ และไวน์ และมีใบกำกับภาษีมาเป็นหลักฐานในการลดหย่อนภาษี
4. OTOP ช้อปช่วยชาติ
สามารถนำค่าซื้อสินค้า OTOP ในระหว่างวันที่ 1-31 สิงหาคม 2559 ซึ่งได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว โดยต้องเป็นสินค้า OTOP ที่ได้รับการรับรอง และเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น มาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท โดยมีใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบมาเป็นหลักฐานในการลดหย่อนภาษี

แล้วนอกจากสิทธิลดหย่อนภาษีเฉพาะกิจปี 59 แล้ว ยังมีสิทธิลดหย่อนภาษีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนรวมถึงเป็นสิทธิที่พึงมีอยู่แล้ว ได้แก่
1.กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
หากเราต้องการวางแผนเกษียณ และได้ลดหย่อนภาษีด้วย RMF เป็นตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะมีนโยบายการลงทุนที่หลากหลายให้เราได้เลือก ตั้งแต่ความเสี่ยงต่ำ มีโอกาสขาดทุนน้อย ลงทุนในตราสารหนี้ และความเสี่ยงสูง มีโอกาสรับผลตอบแทนสูง ลงทุนในหุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ ทองคำ เป็นต้น
โดยเราจะต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปีจนถึงอายุ 55 ปีบริบูรณ์ และลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี ลงทุนขั้นต่ำที่ 5,000 บาทต่อปี หรือ 3% ของเงินได้ และลงทุนได้สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ทั้งปีที่ต้องเสียภาษี เมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และประกันบำนาญแล้วต้องไม่เกิน 5 แสนบาท
2. กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
เป็นทางเลือกในการลงทุนระยะยาว และเป็นตัวช่วยลดหย่อนภาษีที่หลายคนนิยมกัน โดยเราไม่จำเป็นต้องลงทุนทุกปี ลงทุนปีไหน ก็สามารถลดหย่อนภาษีได้ปีนั้น โดยสามารถลงทุนได้สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ทั้งปีที่ต้องเสียภาษี สูงสุดไม่เกิน 5 แสนบาท และต้องถือครอง 7 ปีปฏิทิน คือ หากลงทุนในปี 2559 จะสามารถขายคืนได้ในปี 2565 และสำหรับผู้ที่สนใจอยากลงทุนใน LTF หากเริ่มต้นตอนนี้ก็ยังไม่สายไป อ่านบทความ : เลือก LTF อย่างไรให้เหมาะกับตัวเอง เพื่อเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจ
3. ประกันชีวิต
เป็นสิ่งที่ช่วยสร้างความมั่นคงในชีวิต และยังได้ลดหย่อนภาษี โดยสามารถนำค่าเบี้ยประกันชีวิตที่มีความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป มาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 1 แสนบาท สำหรับค่าเบี้ยประกันบำนาญสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน โดยลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ทั้งปีที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 2 แสนบาท
4. ซื้อบ้านหลังแรก
สำหรับคนที่ซื้อบ้านหลังแรกในระหว่างวันที่ 13 ตุลาคม 2558 – 31 ธันวาคม 2559 และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แล้วเสร็จ ซึ่งมีราคาบ้านไม่เกิน 3 ล้านบาท สามารถนำ 20% ของราคาบ้านมาเฉลี่ยลดหย่อนภาษีได้เป็นเวลา 5 ปี เท่ากับลดหย่อนภาษีได้ปีละ 4% ของราคาบ้าน เป็นเวลา 5 ปี สูงสุดไม่เกินปีละ 120,000 บาท ทั้งนี้ คนที่จะใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ต้องไม่เคยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้าน หรือคอนโดฯ มาก่อน
5. ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อบ้าน
คนที่กำลังผ่อนบ้านอยู่ สามารถนำดอกเบี้ยเงินกู้ที่เราจ่ายไปเพื่อซื้อบ้านหรือคอนโดฯ เพื่ออยู่อาศัยมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท หากเป็นการกู้ร่วมกันหลายคน ให้แบ่งดอกเบี้ยคนละเท่าๆ กัน แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
6. ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา
สามารถนำมาลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท สูงสุด 120,000 บาท หากคุณพ่อคุณแม่ของเราหรือของคู่สมรส (ในกรณีที่คู่สมรสไม่มีรายได้) มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และมีรายได้ทั้งปีไม่เกิน 30,000 บาท โดยคุณพ่อคุณแม่จะต้องออกหนังสือรับรองว่าลูกคนไหนเป็นคนเลี้ยงดูเพียงคนเดียว
7. ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา สามารถนำมาลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท สำหรับคุณพ่อคุณแม่ของเรา หรือของคู่สมรสที่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และค่าเบี้ยประกันนี้สามารถหารกันได้ หากลูกหลายๆ คนช่วยกันจ่ายค่าเบี้ย
8. ค่าลดหย่อนบุตร สำหรับใครที่มีลูก หากลูกยังไม่ได้เข้าเรียน สามารถหักลดหย่อนได้ฝ่ายละ 15,000 บาท สำหรับลูก 1 คน จำนวนไม่เกิน 3 คน แต่หากลูกเข้าเรียนในไทย สามารถหักลดหย่อนได้เพิ่มฝ่ายละ 2,000 บาท ไม่เกิน 3 คนเช่นกัน รวมเป็นฝ่ายละ 17,000 บาท สำหรับลูก 1 คน
เมื่อทราบสิทธิลดหย่อนภาษีทั้งหมดแล้ว ก่อนตัดสินใจใช้สิทธิลดหย่อนภาษี อย่าลืมใช้สิทธิลดหย่อนที่มีอยู่แล้ว รวมถึงคำนวณภาษีดูก่อนว่า เราต้องเสียภาษีเป็นเงินจำนวนเท่าไร จะได้รู้ว่าควรจะใช้สิทธิลดหย่อนเพิ่มเป็นเงินเท่าไร เพื่อให้คุ้มค่ามากที่สุด โดยเฉพาะการช้อป กิน เที่ยว อยากให้พิจารณาให้รอบด้านถึงความจำเป็นในการใช้จ่ายและกำลังซื้อของเรา โดยทำแต่พอดี เพื่อป้องกันการเป็นหนี้ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้จ่ายมากเกินไปนั่นเอง