#สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ #อยู่ต่างประเทศซื้อบ้านในไทย #สินเชื่อสำหรับคนไทยในต่างประเทศ #คนไทยในต่างแดน #ซื้อบ้านในไทย #อยู่ต่างประเทศซื้อบ้านในไทย #สินเชื่อคนไทยในต่างแดน #สินเชื่อซื้อบ้านสำหรับคนไทยในต่างแดน #ทำงานต่างประเทศ #อยู่ต่างประเทศ
คำถามที่พบบ่อยมากในกล่องข้อความของเพจเรา โดยสมาชิกแฟนเพจนำภาพบ้านจากเพจของเราหรือเพจอื่น ๆ มาถามหาแบบบ้าน ก่อนอื่นต้องขออธิบายให้ผู้อ่านได้เข้าใจก่อนว่า ภาพบ้านบนเว็บไซต์ต่าง ๆ นั้น มีลิขสิทธิ์ ไม่สามารถนำไปใช้งานได้โดยทันที หรือแม้ผู้อ่านจะนำไปใช้งานแบบละเมิดลิขสิทธิ์ทันที ก็ไม่เหมาะต่อการอยู่อาศัยจริงเช่นกันค่ะ เพราะลักษณะของบ้านแต่ละหลัง ออกแบบมาเพื่อสถานที่นั้น ๆ โดยเฉพาะ อาจมีทิศทางแสงแดด ลม และบริบทแวดล้อมที่แตกต่างกัน รวมทั้งกรณีเป็นผลงานของสถาปนิกต่างประเทศ ยิ่งต้องปรับแบบบ้านให้เหมาะกับสภาพอากาศของประเทศไทยก่อน ถึงจะเหมาะสมต่อการอยู่อาศัยจริง กรณีที่เป็นผลงานบนเว็บไซต์ หากเป็นผลงานของสถาปนิกไทย โดยปกติจะมีเครดิตเว็บไซต์หรือข้อมูลติดต่อไว้ให้ แนะนำให้ติดต่อผู้ออกแบบโดยตรงย่อมดีที่สุดค่ะ แต่หากผลงานชิ้นดังกล่าวเป็นผลงานจากต่างประเทศ การติดต่ออาจทำได้ยาก ผู้อ่านอาจบันทึกไฟล์ภาพเหล่านี้ไว้เป็นไอเดียอ้างอิง เพื่อติดต่อให้สถาปนิกใกล้บ้านออกแบบใหม่ให้ตรงกับความต้องการและทิศทางของที่ดินได้ โดยขั้นตอนและกระบวนการออกแบบ มีดังนี้
สถาปนิก สัมภาษณ์พูดคุยกับเจ้าของบ้านถึงรายละเอียดความต้องการ อาจคุยผ่านช่องทางออนไลน์ หรือนัดคุยกับสถาปนิกโดยตรงได้เช่นกันค่ะ และหากเจ้าของบ้านมีสไตล์บ้านที่ชื่นชอบ หรือมีผังบ้านเบื้องต้น ก็สามารถแจ้งสถาปนิกได้ เพื่อที่จะสามารถปรับแบบบ้านให้ตรงกับหลักสถาปัตยกรรม วิศวกรรม และโจทย์ความต้องการของลูกค้ามากที่สุด เมื่อพูดคุยถึงความต้องการเรียบร้อยแล้ว สถาปนิกจะทำการประมาณราคาออกแบบให้หากเจ้าของบ้านตกลงว่าจ้างสถาปนิก ก็จะเข้าสู่กระบวนการออกแบบบ้าน
อีกกรณีที่พบเจอบ่อย คือแบบบ้านสำเร็จที่มีขายบนเว็บไซต์ แนะนำว่า สั่งซื้อจากผู้จำหน่ายได้เลยค่ะ เพราะแบบบ้านสำเร็จปกติจะมีราคาถูกมาก ถูกกว่านำแบบดังกล่าวไปให้ช่างถอดแบบอีกด้วยนะ จึงไม่มีความจำเป็นใดเลยที่เราจะนำแบบเค้าไปใช้งานโดยไม่สั่งซื้อ กรณีที่ชอบแบบสำเร็จแต่ฟังก์ชั่นยังไม่ถูกใจ ผู้อ่านอาจติดต่อสอบถามไปยังผู้จำหน่าย อาจจะมีแบบอื่น ๆ ใกล้เคียงหรือให้ผู้จำหน่ายปรับแบบบ้านให้ค่ะ
7 ขั้นตอนออกแบบบ้านที่ได้มาตรฐาน
สำหรับผู้อ่านที่ยังไม่เคยสร้างบ้าน อาจเข้าใจผิดว่า การออกแบบบ้านเป็นเพียงแค่การขีด ๆ เขียน ๆ ก็สามารถใช้งานได้แล้ว หรือเอาภาพบ้านตัวอย่างไปให้นักเขียนแบบเขียนให้ก็สามารถใช้งานได้ สิ่งเหล่านี้เป็นความเข้าใจที่ผิดทั้งหมด โดยกระบวนการออกแบบบ้านที่ได้มาตรฐาน จะมี 7 ขั้นตอน ดังนี้
1. สถาปนิกลงพื้นที่จริง หรือดูพื้นที่ก่อสร้างตามข้อมูลของลูกค้า, แผนที่ Google Earth เพื่อวิเคราะห์ถึงทิศทางและสภาพแวดล้อมโดยรอบ
2. สถาปนิกทำการดราฟท์แบบบ้านตามโจทย์งาน สเปค และความต้องการต่าง ๆ ที่เคยได้พูดคุยกับเจ้าของบ้าน แบบดราฟท์จะเป็นแบบเบื้องต้นเท่านั้น ในขั้นตอนนี้อาจพูดคุยกันเยอะเป็นพิเศษ เจ้าของบ้านสามารถแจ้งปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการ
3. เมื่อแบบดราฟท์เสร็จสมบูรณ์แล้ว สถาปนิกทำการเก็บรายละเอียดงานสถาปัตยกรรมทั้งหมด ปัจจุบันนิยมใช้การสื่อสารผ่านภาพ 3D ช่วยให้เจ้าของบ้านมองเห็นบ้าน ผ่านภาพเสมือนจริงได้
4. หลังจากแบบสถาปัตยกรรมเสร็จแล้ว สถาปนิกส่งงานต่อให้กับวิศวกร โดยทีมวิศวกรทำการออกแบบโครงสร้าง ทั้งระบบฐานราก คาน ระบบรับน้ำหนักต่าง ๆ รวมทั้งระบบไฟฟ้าและสุขาภิบาล
5. อีกหนึ่งตำแหน่งงานที่มีความสำคัญสูง คือนักเขียนแบบ นักเขียนแบบทำการเขียนแบบบ้านตามที่สถาปนิกให้งานมา และตามที่วิศวกรคำนวณโครงสร้างมาให้
6. ถอดรายละเอียด รายการวัสดุ รายการค่าแรง และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ หรือที่เราเรียกกันว่า BOQ นั่นเองค่ะ
7. บ้านที่ออกแบบโดยสถาปนิก และคำนวณโดยวิศวกร จะมาพร้อมกับลายเซ็นรับรอง ใช้ในการขออนุญาตก่อสร้าง โดยจะเซ็นมาให้ครบประมาณ 5 ชุดค่ะ เมื่อเซ็นเสร็จแล้ว ส่งแบบบ้านให้กับเจ้าของบ้าน สามารถนำแบบบ้านไปใช้งานได้โดยทันที
ทั้ง 7 ขั้นตอนนี้ เป็นเพียงกระบวนการโดยย่อ การทำงานจริงจะใช้ระยะเวลาเป็นเดือนถึงจะเสร็จสมบูรณ์ บ้านที่ออกแบบโดยสถาปนิกมืออาชีพ โดยปกติแล้วจะสร้างเอกลักษณ์เฉพาะ ให้บ้านของเราดูโดดเด่น ไม่ซ้ำใคร อีกทั้งขนาดสัดส่วนต่าง ๆ ยังได้สัดส่วนที่ดี ที่สำคัญ บ้านจะอยู่สบาย เนื่องด้วยออกแบบให้สอดคล้องกับทิศทางลมและแสงแดด แน่นอนว่า ถูกต้องตามหลักฮวงจุ้ยด้วยนะคะ
สิ่งที่ห้ามทำ
เจ้าของบ้านหลาย ๆ ท่าน เข้าใจผิดว่า ภาพบ้านบนเว็บไซต์ สามารถให้ใครถอดแบบ เขียนแบบเลยก็ได้ โดยเฉพาะการว่าจ้างให้นักเขียนแบบทั่วไปเขียนแบบแปลนให้ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า นักเขียนแบบมีหน้าที่หลักคือการเขียนแบบบ้านเท่านั้น แต่นักเขียนแบบไม่ใช่สถาปนิก ไม่ใช่วิศวกร จึงไม่รู้หลักของการออกแบบที่ถูกต้อง และที่สำคัญ ไม่รู้หลักการคำนวณโครงสร้างที่ได้มาตรฐาน ปัจจุบันเราจึงได้พบเห็นข่าวเกี่ยวกับบ้านทรุด บ้านพังเป็นจำนวนมาก หนึ่งในสาเหตุนี้เกิดจากการคำนวณที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิศวกรรมโครงสร้าง เจ้าของบ้านนำภาพไปให้ผู้รับเหมาถอดแบบพร้อมสร้าง กรณีนี้หากเป็นการถอดแบบ หรือ Copy แบบ จะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์งานออกแบบ และหากทีมผู้รับเหมา ไม่ได้มีสถาปนิกร่วมทำงานด้วย การถอดแบบโดยส่วนมากจะขาดความปราณีต บ้านจะมีดีไซน์ที่ขาดเอกลักษณ์
ข้อควรรู้
ผู้รับเหมาหรือบริษัทรับสร้างบ้านจำนวนมาก นิยมออกโปรโมชั่น แบบบ้านฟรี พร้อมสร้าง เนื้อหาข้างต้นนี้ ได้บอกถึงรายละเอียดการทำงานเบื้องต้นในการออกแบบ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาและบุคลากรหลายด้าน แน่นอนว่าการออกแบบบ้านทุกหลัง จึงมีต้นทุนการจ้างบุคลากรสูง โปรโมชั่นแบบบ้านฟรี พร้อมสร้าง จึงเป็นโปรโมชั่นที่ไม่ได้ฟรีจริง แต่เป็นเพียงกลยุทธ์ในการตั้งราคาเท่านั้น โดยผู้รับเหมาหรือบริษัทรับสร้างบ้าน จะนิยมนำค่าแบบบ้านไปรวมกับค่าสร้างบ้านแทน
สำหรับการออกแบบบ้านโดยสถาปนิกในไทย โดยปกติทั่วไปมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 4-6% ของราคาก่อสร้าง หรือ 400-600 บาท ต่อ ตร.ม. อาจต่ำหรือสูงกว่านี้ได้ ขึ้นอยู่กับเรทราคาของสถาปนิกแต่ละบริษัท หากเรานำมาพิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว การว่าจ้างสถาปนิกออกแบบบ้านใหม่ เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าเกินความคาดหมาย เพราะการออกแบบที่ดี ช่วยลดต้นทุนค่าก่อสร้างไปได้มาก การออกแบบที่ดี ช่วยให้เจ้าของบ้านได้ใช้งานคุ้มค่าทุกพื้นที่ ทุก ๆ ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง เจ้าของบ้านได้ใช้งานจริง และบ้านหลังนี้จะอยู่กับเราไปอีกนานแสนนาน ในกรณีเจ้าของบ้านที่ทำบ้านเพื่อสร้างขาย การออกแบบบ้านโดยสถาปนิก ช่วยให้มูลค่าบ้าน