#สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ #สินเชื่อสำหรับคนไทยในต่างประเทศ #บ้านและสินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ
#สินเชื่อคนไทยในต่างแดน #สินเชื่อบ้านเพื่อคนไทยที่ทำงานในต่างประเทศ #อยู่ต่างประเทศซื้อบ้านที่ไทย #สินเชื่อบ้านคนไทยในต่างแดน
จากยอดการปฏิเสธสินเชื่อในปัจจุบันที่ยังสูงอย่างต่อเนื่อง จากความเข้มงวดของธนาคาร ทำให้ผู้มีรายได้น้อย ปานกลาง หรือไม่มีรายได้ประจำ มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองยากขึ้น แต่ก็ยังมีความหวังที่ปลายอุโมงค์ เพราะล่าสุด ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ร่วมกับ 15 สมาคม/ชมรมผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย เป็นพันธมิตรทางธุรกิจเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการทั่วประเทศ นำร่อง 15 จังหวัด กว่า 200 โครงการจัดสรรจากทั่วประเทศ มูลค่ากว่า 30,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทุกกลุ่มเข้าถึงแหล่งเงินกู้ในระบบและมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองได้ง่ายขึ้น
ปัญหาใหญ่ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปี 2560 ยังคงเป็นเรื่องของธนาคารที่เข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ โดยแต่ละธนาคารมีข้อกำหนดคุณสมบัติผู้กู้ต่างกันทั้งในแง่ของอายุผู้กู้ รายได้ต่อเดือน และสัดส่วนหนี้ต่อรายได้ ทำให้ยอดปฏิเสธสินเชื่อสูงขึ้นต่อเนื่องมาจากปี 2559 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย-ปานกลาง และกลุ่มคนที่ไม่มีรายได้ประจำ โดยเฉพาะในกลุ่มบ้านระดับล่าง-กลาง ราคาต่ำกว่า 2 ล้านบาท ที่มีอัตราการปฏิเสธสินเชื่อสูงถึงประมาณ 30-50% แตกต่างจากระดับบนที่ไม่ได้รับผลกระทบ
15 เอกชน ทั่วประเทศ ร่วมใจ ทำให้คนไทยมีบ้าน พันธมิตรที่มาเข้าร่วมกับ ธอส. ในการขับเคลื่อนพันธกิจ ทำให้คนไทยมีบ้าน ปัจจุบันมี 15 สมาคม/ชมรมผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ ประกอบด้วย 1.สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย 2.สมาคมการค้าอสังหาริมทรัพย์ระยอง 3.สมาคมอสังหาริมทรัพย์ขอนแก่น 4.สมาคมอสังหาริมทรัพย์ภูเก็ต 5.สมาคมอสังหาริมทรัพย์สงขลา 6.สมาคมอสังหาริมทรัพย์ชลบุรี 7.สมาคมอสังหาริมทรัพย์นครราชสีมา 8.สมาคมอสังหาริมทรัพย์พิษณุโลก 9.สมาคมอสังหาริมทรัพย์นนทบุรี 10.สมาคมอสังหาริมทรัพย์เชียงใหม่ 11.สมาคมอสังหาริมทรัพย์อุดรธานี 12.ผู้แทนจังหวัดสระบุรี 13.ผู้แทนจังหวัดมุกดาหาร 14.ผู้แทนจังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 15.ผู้แทนจังหวัดสระบุรี
โครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ธอส ลูกค้าได้ประโยชน์เต็ม ๆ กู้ง่าย สะดวก สาระสำคัญของบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ประกอบด้วย
1.สมาชิกของสมาคมจะจัดส่งโครงการจัดสรรที่อยู่อาศัยมาเข้าโครงการพิเศษของ ธอส. อาทิ โครงการประเภท Fast Track, Smart Fast Track, Regional Fast Track และ LTF ซึ่งลูกค้าจะได้รับประโยชน์ลดค่าใช้จ่ายเรื่องการประเมินราคา เนื่องจากธนาคารกำหนดราคารับเป็นหลักประกันของที่อยู่อาศัยในโครงการล่วงหน้า ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาในการพิจารณาสินเชื่อได้เช่นกัน
2.สมาชิกของสมาคมจะจัดส่งลูกค้าภายใต้โครงการประเภท Fast Track, Smart Fast Track, Regional Fast Track และ LTF ที่มีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยจริงให้แก่ธนาคาร เพื่อพิจารณาสินเชื่อเบื้องต้น (Pre Approve) และยื่นกู้จริงไม่น้อยกว่า 70% ของจำนวนที่อยู่อาศัยทั้งหมดในแต่ละโครงการ
3.ธนาคารจะส่งเจ้าหน้าที่ทำการ Pre Approve ก่อนที่โครงการจะตัดสินใจขายให้แก่ลูกค้า
4.ธนาคารจะจัดทำผลิตภัณฑ์สินเชื่อให้แก่ลูกค้าในโครงการจัดสรรที่อยู่อาศัยด้วยเงื่อนไขพิเศษตามที่ธนาคารกำหนด
5.ธนาคารจะอำนวยความสะดวกให้บริการลูกค้านอกสถานที่ ตามที่ธนาคารและสมาชิกของสมาคมได้ตกลงกัน
ทั้งนี้ โครงการที่อยู่ในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยฉบับนี้ ครอบคลุม 15 จังหวัด กว่า 200 โครงการ มีมูลค่าของโครงการรวมกันกว่า 30,000 ล้านบาท โดยในอนาคตเตรียมขยายความร่วมมือไปยังสมาคม/ชมรมผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ที่มีความพร้อมเข้าร่วมโครงการกับ ธอส. ต่อไป โดยตั้งเป้าการปล่อยสินเชื่อใหม่ปี 2560 ไว้ที่ 178,224 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม จากมาตรการดังกล่าวของทาง ธอส. ประกอบกับภาคผู้ประกอบการในปัจจุบันที่หาแนวทางเพื่อแก้ปัญหาการปฏิเสธสินเชื่อของทางธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาสินเชื่อเบื้องต้น หรือการให้เช่าก่อนอยู่ 1-2 ปี โดยนำค่าเช่ามาเป็นเงินดาวน์ รวมทั้งรายจ่ายของผู้บริโภคเริ่มน้อยลงจากมาตรการรถยนต์คันแรกที่ครบกำหนด จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้บริโภคมีความสามารถทางด้านการผ่อนชำระมากขึ้น
ทั้งนี้ ประเทศไทยถือว่าเป็นเป็นประเทศที่กู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้ง่ายกว่าหลาย ๆ ประเทศ เมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกา ที่ต้องวางเงินดาวน์ 20% ของมูลค่าประเมิน ฮ่องกง 40% เมืองใหญ่ ๆ ในประเทศจีน 30% แต่ถ้าเป็นหัวเมืองรอง อาทิ เสิ่นเจิ้น ต้องวางเงินดาวน์ 50% ส่วนของประเทศไทยทางธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ผู้กู้วางเงินดาวน์เพียง 5-10% หรือบางแห่งมีโปรโมชั่นฟรีดาวน์ด้วย
ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ (Call Center) โทร. 0-2645-9000 หรือ www.ghbank.co.th และ Facebook fanpage: ธนาคารอาคารสงเคราะห์