#สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ #อยู่ต่างประเทศซื้อบ้านในไทย
ประเทศไทยเราเป็นประเทศเมืองร้อนใคร ๆ ต่างก็รู้จักกันดี การสร้างบ้านในประเทศไทยจึงต้องสร้างเพื่อให้อยู่ได้แบบไม่ต้องทนร้อน แต่แม่ว่าจะเป็นประเทศที่ร้อนแต่ก็ไม่ได้ร้อนตลอดทั้งปี เพราะว่าเป็นประเทศที่มีทั้งหมด 3 ฤดูคือ ฤดูร้อน ฤดูหนาว และ ฤดูฝน การจะสร้างเพื่อตอบโจทย์ความร้อนอย่างเดียวคงไม่ได้ต้องสร้างเผื่อหนาวและฝนแล้ว เพราะเวลาที่ฝนตกมาบ้านก็ต้องไม่โดนน้ำฝนสาด ไม่ได้รับความเสียหายจะฝนตกแบบธรรมดา ๆ ไม่ต้องหนาวสั่นเวลาที่ฤดูหนาวมาเยือน แต่ยังไม่หมดเท่านี้สำหรับโจทย์ที่เราจะต้องวิเคราะห์ก่อนการสร้างบ้านในประเทศไทย ลองดูภูมิภาคด้วย
ภาคกลาง การสร้างบ้านในภาคกลางที่เป็นภาคที่มีครบทั้ง 3 ฤดูจะต้องสร้างบ้านที่มีความแข็งแรงไม่ว่าจะเป็นบ้านไม้ หรือบ้านปูนก็ตาม แม้ว่าส่วนใหญ่จะอยู่บ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมกันหมดแล้วเนื่องจากพื้นที่มีจำกัด ยังไงก็จะเป็นบ้านปูนกันส่วนมากแล้ว
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่นกันกับภาคกลางคือจะมีครบทุกฤดูกาลเช่นกัน แต่บ้านของคนทางนี้จะเป็นบ้านไม้ในส่วนมาก เพราะว่ายังคงความเป็นดั้งเดินของบ้านไว้ในหลาย ๆ พื้นที่ หากเป็นบ้านไม่สำคัญที่สุดอยู่ที่การเลือกไม้มาเป็นตัวบ้านเพราะต้องเป็นไม้ที่สามารถทดแดด ทนฝนได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะส่วนไม้ที่เป็นต้นเสาจะต้องมีความแข็งแรงมากพิเศษ เพราะว่าหากเวลาผ่านไปมักจะมีปลวกแทะ ผุกร่อนได้ง่ายกว่าเสาปูน แต่ว่าปัจจุบันนี้มีหลายบ้านที่เปลี่ยนต้นเสาจากไม้มาเป็นเสาปูนแล้วตัวบ้านเป็นไม้กันแล้ว
ภาคเหนือ เป็นภูมิภาคที่เต็มไปด้วยภูเขาสูงมากมาย ป่าไม้ยังคงความอุดมสมบูรณ์ดีเช่นกัน บ้านนั้นก็เป็นแบบทึบเล็กน้อยเพราะว่าเป็นภูมิภาคที่อยู่กับความหนาวเย็นตลอดทั้งปี แต่เมื่อยานฤดูร้อนพื้นที่ภาคนี้ก็จะร้อนมากเหมือนกันเพราะอยู่สูงก็รับเอาแสงแดดไปแบบเต็ม ๆ เหมือนกัน และบ้านหากเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ห่างไกลก็อาจจะยังเป็นหลังเล็ก ๆ สร้างพอให้อยู่ได้เท่านั้นแทบจะเรียกกว่ากระต๊อบมากกว่าบ้าน แต่สำหรับพวกเขามันก็คือบ้านที่แสนอบอุ่นของครอบครัว
ภาคใต้ เป็นภูมิภาคติดทะเลมากที่สุดในประเทศไทยและที่แปลกกว่านั้นคือภาคใต้จะมีแค่ 2 ฤดูกาลคือ ร้อนนิดหน่อยกับ ฤดูฝน ฤดูหนาวไม่มีเพราะฝนจะตกอยู่ตลอด อากาศทางภาคใต้จึงค่อนข้างชื้นมากและคนที่จะสร้างบ้านก็ต้องเป็นบ้านที่ทนฝนได้ บางทีหน้าร้อนฝนก็ยังตกอยู่ในบางปีก็จะมีแต่ฤดูฝนยาวเลย ร้อน กับ หนาวหาย และสำหรับคนที่มีบ้านอยู่ติดกับทะเลชายฝั่งตัวบ้านอาจจะต้องระบายอากาศได้พอเหมาะแล้วจะต้องมีผนังทึบเป็นพิเศษและไม่หันหน้าเข้าทะเล เพราะว่าหากตัวบ้านไม่ทึบลมทะเลเหนียว ๆ ก็จะเข้ามาภายในบ้านทำให้บ้านนั้นโดยลมที่มีเกลือนั้นกัดเซาะตัวบ้านจะพังง่าย คนที่อาศัยอยู่ในบ้านก็จะเหนียวตัวอยู่แบบไม่มีความสุขเอาได้ง่าย ๆ
สรุปก็คือการที่เราจะสร้างบ้านนั้นจะต้องดูส่วนประกอบรอบข้างด้วย ดูที่สภาพอากาศภาพรวมอย่างเดียวไม่ได้ สภาพอากาศของแต่ละพื้นที่ก็ไม่เหมือนกันฉะนั้นจะสร้างที่ไหนก็ควรจะวิเคราะห์ให้ดี ดูทิศทางแสง ทิศทางลม และสภาพอากาศให้เรียบร้อยด้วย เอาล่ะต่อไปเรามาดูกันว่าบ้านแบบไหนที่จะเหมาะกับสภาพอากาศในประเทศไทยบ้าง
1. ช่องระบายอากาศ ทุก ๆ บ้านจะต้องมีช่องสำหรับระบายอากาศได้ดีเป็นการหมุนเวียนของอากาศจากภายในและภายนอก หากเป็นบ้านที่ไม่มีช่องทางลมสำหรับการระบายอากาศมันคงจะเป็นบ้านที่อบอ้าว อยู่แล้วอึดอัดมาก นอกจากตัวบ้านที่เป็นห้องหลัก ๆ ทั้งหมดแล้วในแต่ละห้องของบ้านนั้นก็ต้องมีช่องสำหรับระบายอากาศด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะห้องนอน อาจจะใช้เป็นพัดลมระบายอากาศหรือช่องก็ได้ชึ้นอยู่กับความเหมาะสมของตัวห้อง
2. ไม่หนาทึบ เพราะว่าอากาศในประเทศนี้ไม่ได้มีความหนาวตลอดทั้งปีที่จะต้องสร้างบ้านเพื่อหลบลมเย็นตลอด การสร้างบ้านให้มีความโปร่ง สบาย รับลมได้ หันหน้าบ้านอย่างถูกทิศทางไม่หันหน้าไปทางทิศตะวันตก อยากให้แสงสาดเข้าไปในตัวบ้านมากเกินไป
3. วัสดุการสร้างดี การเลือกวัสดุในการสร้างบ้านก็ทำคัญ เราจะเลือกสร้างบ้านตามใจเราอย่างเดียวไม่ได้มันต้องคำนึงถึงระยะยาวของตัวบ้านด้วย ว่าอายุบ้านจะต้องอยู่ได้นานแค่ไหน แต่ถ้าไม่มีปัญหากับค่าใช้จ่าย และค่าเสียเวลาในการซ่อมแซมบ้านนั้นจะสร้างแบบไหนก็ไม่ใช้ปัญหาอะไรเลย แต่อย่างไรก็ตามสร้างบ้านที่ได้มาตรฐานไว้มันจะดีที่สุดเพราะว่าอย่างน้อยมันก็ไม่ต้องเสี่ยงกับบ้านถล่มและต้องคอยซ่อมบ่อย ๆ เอาเวลาตรงนี้ไปทำอย่างอื่นได้ตั้งอีกมากมายเลย จะเป็นบ้านไม้ก็ควรเลือกไม้ที่มีคุณภาพเหมาะกับการสร้างบ้าน หรือจะใช้ไม้เทียมก็ได้แต่ก็ต้องเลือกเช่นกัน เป็นยี่ห้อที่มีความแข็งแรงทนทานมากที่สุดเท่าที่งบประมาณจะจ่ายได้ หรือจะเป็นบ้านปูนการเลือกปูนก็ต้องดีเช่นกันหาข้อมูลของปูนแต่ละชนิดมาเปรียบเทียบกัน จะเลือกแบบฉาบง่ายแข็งแรงทนทานอะไรก็แล้วแต่ความชอบของเจ้าของบ้านเลย
4. ขนาดบ้านเหมาะสมกับพื้นที่ บางคนอยากจะได้บ้านหลังใหญ่ ๆ แต่มีพื้นที่ในการสร้างบ้านเพียงนิดเดียว ฉะนั้นการสร้างบ้านมันก็ต้องดูที่ขนาดของพื้นที่ที่จะสร้างก่อนจากนั้นค่อยทำการออกแบบว่าจะสร้างบ้านแบบไหน การออกแบบก่อนการสร้างจะดีที่สุดเพราะว่าอย่างน้อยก็มองออกว่าจะสร้างบ้านในรูปแบบไหน มีพื้นที่ตรงไหนสำหรับการทำอะไรบ้าง ในบางที่สร้างได้แต่บ้านขนาดเล็ก หรือบางที่ก็สร้างได้แค่บ้านขนาดกลางเท่านั้น ต้องเป็นพื้นที่มากพอสมควรหากต้องการบ้านขนาดใหญ่ ฉะนั้นแล้วหากคุณตะสร้างบ้านก็ต้องดูพื้นที่ของตัวเองก่อนนะวางแผนให้เรียบร้อยบ้านจะได้ออกมาสวยและอยู่ได้อย่างไม่มีปัญหาอะไร
5. ตัวบ้านทนแดดทนฝน สำหรับข้อนี้อาจจะเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับวัตถุที่ใช้ แต่มันก็เกี่ยวกับการออกแบบบ้านด้วยหากออกแบบมาผิดที่ผิดทาง ผิดทิศบ้านนั้นก็จะไม่มีความคงทนเหมือนกัน หากต้องการจะได้แบบบ้านที่ดีก็ต้องลงทุนกันเล็กน้อยให้วิศวกร หรือสถาปนิกทำการออกแบบบ้านให้