#สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ #อยู่ต่างประเทศซื้อบ้านในไทย #สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างแดน #อยู่ต่างประเทศอยากซื้อบ้านในไทย
ที่ห้องประชุมสำนักงานเทศบาลนคร (ทน.) นครราชสีมา เมื่อเวลา ๑๐.๓๐ น. วันที่ ๙ มกราคม นายสุรวุฒิ เชิดชัย นายก ทน.นครราชสีมา พร้อมผู้บริหาร ฯ ให้การต้อนรับ คณะผู้บริหาร บริษัท จงหยวนฉวง นิว อีเนอร์จี จำกัด บริษัท จงถาง สกายเรลเวย์ กรุ๊พ จำกัด และบริษัท บริหารสินทรัพย์ เหอจุน เหนียนหลุน (เซียะเหมิน) จำกัด ซึ่งเป็นกลุ่มพัฒนานวัตกรรมระบบขนส่งมวลชน โดยรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ให้การสนับสนุน จากนั้นได้เปิดวีดิทัศน์แนะนำโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีขนาดพื้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีจำนวนประชากรกว่า ๒.๖ ล้านคน มากที่สุดในภูมิภาคและอันดับ ๒ ของประเทศ มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม ๒.๖ แสนล้านบาท อันดับ ๑ ภาคอีสาน และเป็นศูนย์กลางคมนาคม ทั้งมอเตอร์เวย์,รถไฟความเร็วสูง,รถไฟทางคู่ ฯ ต่อมาได้ประชุมหารือยุทธศาสตร์การพัฒนาทางเศรษฐกิจ หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง ของจีนสำหรับภูมิภาคอาเซียน บรรยากาศเป็นไปอย่างชื่นมื่น โดยคณะผู้บริหารได้สอบถามผ่านล่ามขอข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างทางสังคมและรายละเอียดเกี่ยวกับการขยายตัวของเมืองรวมทั้งความเป็นไปได้หากสนใจมาลงทุน
นายสุรวุฒิ ฯ นายก ทน.นครราชสีมา เปิดเผยว่า ขอขอบคุณกลุ่มเอกชนจากประเทศจีน ให้ความสนใจและมาสำรวจพื้นที่ ทน. ฯ รวมทั้งได้นำเสนอการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน ระบบใหม่ที่ได้เปิดใช้งานจริงในมณฑลเฉินตู ประเทศจีน จึงเป็นโอกาสที่ดี ทน. ฯ ได้นำเสนอรายละเอียดประโยชน์ความจำเป็นต่างๆ ให้นำกลับไปคิดวิเคราะห์ความเป็นไปได้ เพื่อให้สอดคล้องเชื่อมโยงกับ Mega Project ของรัฐบาล ที่ใช้โคราช เป็นศูนย์กลางคมนาคมอย่างเต็มรูปแบบ ที่สำคัญต้องสอบถามความต้องการของประชาชนด้วย ต่อจากนี้ ทน. ฯ และรัฐบาลจีน รวมทั้งบริษัทตัวแทน จะร่วมศึกษาพัฒนาระบบขนส่งมวลชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีประสิทธิภาพรองรับการเจริญเติบโตอย่างเข้มแข็งของเมืองให้สมกับเป็นมหานครโคราช
ด้านนายเอกวัสส์ กุลวงษ์สมบูรณ์ ตัวแทนบริษัท ฯ ประเทศจีน กล่าวว่า เมืองโคราช เป็นชุมชนที่เจริญเติบโตทุกๆด้าน ทำให้มีปัญหาการจราจรตามมาคู่กัน ระบบขนส่งที่นำเสนอคือ รถไฟระบบรางเบา ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ มีความทันสมัยสามารถตอบโจทย์แก้ไขปัญหาการเดินทางให้คล่องตัวมากขึ้น ไม่เกิดมลภาวะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เบื้องต้นมูลค่าการก่อสร้างกิโลเมตรละ ๗๕๐ ล้านบาท หากระบบขนส่งมวลชนนี้ ยังไม่ตรงต่อความต้องการ สามารถศึกษารูปแบบโดยปรับเปลี่ยนได้ในกระบวนการเพื่อให้ตรงต่อความต้องการของชาวโคราชมากที่สุด
ที่มาและภาพประกอบ :blog.daryldelacruz,koratdaily