#สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ #อยู่ต่างประเทศซื้อบ้านในไทย #สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างแดน #อยู่ต่างประเทศอยากซื้อบ้านในไทย
ร.ฟ.ท.กางแผนลงทุนอีกกว่า 5 แสนล้าน ผุดโครงข่ายรถไฟสายใหม่เชื่อมต่อจังหวัดสำคัญและเมืองท่องเที่ยวอีก 14 เส้นทางครอบคลุม 61 จังหวัด ขณะที่ปี 61 เร่งลงทุนซื้อ หัวรถจักร 134 คัน รถโดยสาร 953 คัน ทดแทนรถเก่าและรองรับทางคู่ที่ก่อสร้างเสร็จ “อานนท์” เร่งจดทะเบียน บริษัทลูก บริหารสินทรัพย์ มี.ค.นี้ เริ่มถ่ายโอนทรัพย์สิน ชง กก. PPP ประมูลแปลง A ย่านพหลฯนำร่อง
นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศ ไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ปัจจุบัน ร.ฟ.ท. อยู่ระหว่างก่อสร้างเส้นทางรถไฟทางคู่ ระยะที่ 1 จำนวน 7 เส้นทาง ระยะทางรวม 993 กม. วงเงินค่าก่อสร้างรวม 113,660.20 ล้านบาท ซึ่งการก่อสร้างจะแล้วเสร็จเดือน ต.ค. 2565 ส่วนรถไฟทางคู่ระยะ 2 จำนวน 7 เส้นทางและสายใหม่ 2 เส้นทาง ระยะทางรวม 2,174 กม. มูลค่าโครงการรวม 427,012.03 ล้านบาทนั้น อยู่ในขั้นตอนนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งวางเป้าหมายก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือน ก.ค. 2566 และเดือน ส.ค. 2567 ตามลำดับซึ่งจะทำให้ในปี 2567 จะมีระยะทางรวม 4,832 กม. มีความจุทางรถไฟเพิ่มขึ้น 4 เท่าจากปัจจุบัน ครอบคลุม 53 จังหวัดโดยเป็นระบบทางเดี่ยว 1,568 กม. (32.41%) ทางคู่ 3,157 กม.(65.33%)
ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.ได้วางโครงข่ายทางรถไฟสายใหม่เชื่อมต่อจังหวัดสำคัญรวม 14 เส้นทาง วงเงินลงทุน 501,455 ล้านบาท ซึ่งจะเพิ่มโครงข่ายครอบคลุมจาก 47 จังหวัดเป็น 61 จังหวัด อีกทั้งเป็นเส้นทางเชื่อมกับเมืองท่องเที่ยวตามนโยบายอีกด้วย ได้แก่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 326 กม. มูลค่า 85,345 ล้านบาท EIA ได้รับอนุมัติแล้ว อยู่ระหว่างเสนอครม. นอกจากนี้ยังมี เส้นทางตะวันออกตะวันตก ตอนบน (E-W Upper) จาก แม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ (256 กม. วงเงิน 96,785 ล้านบาท) โดยศึกษาความเหมาะสมแล้ว เตรียมของงบออกแบบในปี 2563 ช่วงนครสวรรค์บ้านไผ่ (291 กม. วงเงิน 47,712 ล้านบาท ของบปี 2563 สำหรับการศึกษาความเหมาะสม ช่วง บ้านไผ่-มุกดาหารนครพนม (355 กม.วงเงิน 60,352 ล้านบาท)อยู่ระหว่างขออนุมัติโครงการ
โครงการเส้นทางตะวันออก-ตะวันตก ตอนบน (E-W Lower) กาญจนบุรีบ้านพุน้ำร้อน ( 36 กม. วงเงิน 6,497 ล้านบาท) /กาญจนบุรี-สุพรรณบุรี-บ้านภาชี (221 กม.วงเงิน 41,771 ล้านบาท) /ศรีราชา-ระยอง(70 กม. วงเงิน 13,357 ล้านบาท) มาบตาพุด-ระยอง-จันทบุรีตราด (197 กม. วงเงิน 34,649 ล้านบาท) อยู่ระหว่างเริ่มศึกษาความเหมาะสม
นอกจากนี้ ยังมีเส้นทางชุมพรระนอง (116 กม.วงเงิน 18,748 ล้านบาท) / สุราษฎร์ธานี-พังงา-ท่านุ่น (158 กม. วงเงิน 34,237 ล้านบาท) / สุราษฎร์ธานีดอนสัก (76 กม.วงเงิน 17,147 ล้านบาท) /ทับปูด-กระบี่ (68 กม. วงเงิน 15,223 ล้านบาท) / ศรีสะเกษ-ยโสธร-ร้อยเอ็ด (162 กม. วงเงิน 20,435.50 ล้านบาท) / อุบลราชธานี-ช่องเม็ก (87 กม.วงเงิน 9,197 ล้านบาท) ซึ่งบางเส้น กำลังศึกษาความเหมาะสม บางเส้นอยู่ในขั้นออกแบบรายละเอียด
สำหรับแผนงานในปี 2561 นี้ จะเร่งรัดการก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะที่1 ซึ่งได้ลงนามสัญญากับผู้รับเหมาเมื่อเดือนธ.ค. 2560 ส่วนทางคู่ระยะ 2 จะเร่งประมูลและลงนามสัญญาภายในเดือน ธ.ค. 2561 พร้อมกันนี้จะเดินหน้าการจัดหารถจักรและล้อเลื่อน ได้แก่ ซื้อรถจักร 50 คัน วงเงิน 6,240 ล้านบาท คาดว่าจะจัดทำร่างทีโออาร์เสร็จในเดือน ก.พ.นี้ และ เปิดประมูลให้เรียบร้อยในเดือน มิ.ย., เช่าหัวรถจักร 50 คัน เพื่อทดแทนรถเก่า, โครงการจัดหารถจักร 34 คัน จัดหารถโดยสารใหม่ 429 คัน จัดหารถดีเซลราง 524 คัน รองรับรถไฟทางคู่เฟส1,2 ซึ่งจะเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณาในเดือนมิ.ย. ส่วนการตั้งบริษัทลูกบริหารทรัพย์สินจะดำเนินการจดทะเบียนในเดือน มี.ค. และในเดือน ก.ย. จะเริ่มทยอยส่งมอบทรัพย์ สินไปยังบริษัทลูก ส่วนบริษัทลูกเดินรถสายสีแดง จะเสนอ ครม.อนุมัติได้ในเดือน ก.ค. และจดทะเบียนบริษัทในเดือน ส.ค. 2561 โดยแนวทางนั้นจะ อัปเกรดจาก บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (แอร์พอร์ตเรลลิงก์) ในปัจจุบันมาบริหารสายสีแดง
“ที่ดินแปลง A ติดสถานีกลางบางซื่อ เสนอคณะ กก.PPP แล้ว ซึ่งมีความเห็นว่าควรรวมแปลง B,C,D เป็นแปลงใหญ่เพื่อทำให้มีผลตอบแทนดีขึ้น ซึ่ง ร.ฟ.ท.จะทำข้อมูลเพิ่มเติม โดยยืนยันแยกแปลง A ประมูลก่อน เพราะการรวมแปลงจะมีข้อเสีย ที่ผู้เข้ามาลงทุนได้น้อยเพราะต้องใช้เงินจำนวนมาก”
ที่มา : ผู้จัดการรายวัน 360 องศา