#สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ #อยู่ต่างประเทศซื้อบ้านในไทย #สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างแดน #อยู่ต่างประเทศอยากซื้อบ้านในไทย
โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ นครราชสีมา ระยะทาง 252.3 กม. หรือไฮสปีดไทย-จีน วงเงินลงทุนกว่า 179,000 ล้านบาท โดยในส่วนงานโยธามีค่าก่อสร้าง 122,593 ล้านบาท แบ่งประมูล 14 สัญญา เริ่มดำเนินการแล้ว 1 สัญญา เหลือ 13 สัญญา
ทั้งนี้ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เดินทางไปเป็นประธานเปิดจุดการก่อสร้างไฮสปีดเทรนไทย-จีน บริเวณมอหลักหิน พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 5 ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เมื่อวัยที่ 17 ธันวาคม 2560 ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ นครราชสีมา ระยะทาง 252.3 กม. โดยงานช่วงที่ 1 ตั้งแต่บริเวณสถานีรถไฟกลางดง-สถานีรถไฟปางอโศก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ระยะทาง 3.5 กม.
ขณะที่ นายหวัง เสี่ยวเทา รองผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน เป็นประธานในพิธีเริ่มการก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยบริษัทของประเทศจีนได้ทำสัญญาเป็นผู้ดำเนินการสร้าง โดยมีนายช่างที่ชำนาญการ และมีคณะกรรมการของประเทศไทยเป็นผู้ควบคุมดูแแล
สำหรับโครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงนี้จะเชื่อมโยงประเทศไทยกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคและโครงข่ายคมนาคม One Belt One Road ของรัฐบาลจีน ที่จะสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ของภูมิภาคอาเซียน เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 252.3 กม.วงเงินลงทุนประมาณ 179,000 ล้านบาท โดยรถไฟจะใช้ความเร็วสูง 250 กม./ชม. ซึ่งมีสถานีทั้งหมด 6 สถานี คือ
สถานีกลาง
สถานีดอนเมือง
สถานีอยุธยา
สถานีสระบุรี
สถานีปากช่อง
สถานีนครราชสีมา
โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าเข้ามาในพื้นที่ มักถูกแลกด้วยการเวนคืนที่ดิน เหตุนี้จึงควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม!
ทั้งนี้นับตั้งวันนั้นถึงวันนี้ การดำเนินการปรับพื้นที่การก่อสร้างย่างเข้าสู่เดือนที่ 6 แล้วมีความคืบหน้าเป็นลำดับ โดยเมื่อวันที่ 5 พ.ค. ที่ผ่านมา อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม นำคณะเดินทางลงพื้นที่ เพื่อติดตามความคืบหน้าการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ซึ่งพื้นที่การก่อสร้างมีการปรับพื้นที่ พร้อมนำอุปกรณ์และเครื่องจักรกลหนักครบครัน ในบริเวณการก่อสร้าง
ไพจิตร แสงทอง นายช่างโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ นครราชสีมา เล่าให้ฟังว่า การก่อสร้างคืบหน้าไปประมาณ 10% เนื่องจากได้ปรับถมพื้นที่เป็นระยะทาง 900 เมตร โดยใช้วัสดุกรุ๊ปเอ บี ถมเกือบตลอดแนวแล้ว ความหนา 210 ซม. รวมทั้งวัสดุกรุ๊ปบี ปรับพื้นให้หนาประมาณ 40 ซม. โดยการก่อสร้างได้ขยายแนวเขตออกไปเล็กน้อยเกือบชิดทางรถไฟเดิม และต้องรื้อรางรถไฟออกบางจุด รวมทั้งการปรับเทร่องระบายน้ำควบคู่กันไป ปัจจุบันมีคนงานที่เป็นคนไทย 70-80 คน ซึ่งจะเพิ่มเข้ามาอีก
หากงานช่วงที่ 1 เสร็จ จะเริ่มงานช่วงที่ 2 จากสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม.ต่อไป คาดว่าจะเปิดประมูลภายในเดือนมิถุนายน คาดว่าจะใช้วงเงินก่อสร้างช่วงนี้ประมาณ 5,000 ล้านบาท มีเนื้องาน 3 ส่วน คือสร้างคันรถไฟ โครงสร้างทางยกระดับและอาคารซ่อมบำรุง
อย่างไรก็ตามต้องดูต่อไปว่าโครงการก่อสร้างไฮสปีดไทย-จีน ซึ่งถือเป็นสายแรกของประเทศไทยที่จะแล้วเสร็จตามเป้าหมายที่คาดไว้ในช่วงปี 2564 ได้หรือไม่