รีไฟแนนซ์บ้าน ทางเลือกในยุครัดเข็มขัด ช่วยผ่อนน้อย-หมดเร็ว

รีไฟแนนซ์บ้าน ทางเลือกในยุครัดเข็มขัด ช่วยผ่อนน้อย-หมดเร็ว

#สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ #อยู่ต่างประเทศซื้อบ้านในไทย #สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างแดน #อยู่ต่างประเทศอยากซื้อบ้านในไทย
สำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย เช่น บ้าน คอนโดมิเนียม หรือทาวเฮ้าส์ คงพอทราบกันบ้างแล้วว่า สินเชื่อบ้านส่วนใหญ่จะให้อัตราดอกเบี้ยถูกในช่วง 1-3 ปีแรกเท่านั้น ในปีถัดไปอัตราดอกเบี้ยจะปรับตัวสูงขึ้น จึงต้องมองหาวิธีที่จะช่วยลดอัตราดอกเบี้ยและค่างวดที่ต้องผ่อนชำระต่อเดือนให้ถูกลง “การรีไฟแนนซ์” เป็นอีกหนึ่งวิธีที่เจ้าของที่อยู่อาศัย “ควรรู้” เพราะสามารถช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย และยังช่วยให้การผ่อนบ้านหมดเร็วขึ้นด้วย ลองมาดูกันว่าข้อดีและขั้นตอนของการรีไฟแนนซ์เป็นอย่างไร
ข้อดี รีไฟแนนซ์ ผ่อนน้อย หมดเร็ว
รีไฟแนนซ์ คือการเปลี่ยนการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินใหม่ ที่มีข้อเสนอที่ดีกว่า เช่น อัตราดอกเบี้ย หรือระยะเวลาในการผ่อนชำระ เพื่อนำเงินไปชำระหนี้จากสถาบันการเงินเดิม โดยหลักทรัพย์ที่สามารถทำรีไฟแนนซ์ได้คือ บ้านเดี่ยว ทาวเฮ้าส์ อาคารพานิชย์ คอนโดมิเนียม ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง และต่อเติมที่อยู่อาศัย
ข้อดีของการรีไฟแนนซ์บ้านก็คือ
• ลดภาระค่าใช้จ่ายรายเดือน
• ได้อัตราดอกเบี้ยที่ถูกลง
• สามารถปิดหนี้ได้เร็วขึ้น
• สามารถขยายระยะเวลาการผ่อนชำระได้
• สามารถเพิ่มวงเงินได้ในกรณีต้องการเงินก้อนไว้ใช้
รีไฟแนนซ์ทำได้ไม่ยาก
การรีไฟแนนซ์บ้านไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิดโดยมีขั้นตอนดังนี้
• ติดต่อกับธนาคารเดิมเพื่อขอรายการสรุปยอดหนี้สินเชื่อบ้าน โดยค่าใช้จ่ายในขั้นตอนนี้ขึ้นอยู่กับธนาคารนั้น ๆ บางธนาคารอาจไม่มีค่าใช้จ่าย
• หลังจากได้รายการยอดหนี้ที่ต้องการแล้ว นำเอกสารดังกล่าวไปยื่นขอรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารใหม่
• เจ้าหน้าที่จะต้องมาประเมินบ้านหรือทรัพย์สินที่ต้องการจะรีไฟแนนซ์
• รอฟังผลการอนุมัติจากธนาคาร
• หากได้รับการอนุมัติสินเชื่อแล้ว เดินหน้าติดต่อกับธนาคารเก่านัดวันไถ่ถอนที่สำนักงานที่ดิน นำเอกสารไปไถ่ถอนบ้านจากสินเชื่อเดิม คิดยอดที่ต้องจ่ายเป็นเงินต้นบวกดอกเบี้ย (นับจนถึงวันไถ่ถอน)
• ติดต่อกับธนาคารใหม่ที่ต้องการรีไฟแนนซ์บ้าน เพื่อทำสัญญาสินเชื่อใหม่ โดยนัดวันทำสัญญาและโอนบ้านที่ใช้จำนอง อย่าลืมนัดทั้ง 2 ธนาคารมาภายในวันเดียวกัน เพื่อชำระหนี้
• เดินทางไปที่สำนักงานที่ดิน ณ เขตที่ตั้งของทรัพย์สิน เพื่อทำเรื่องโอนกรรมสิทธิ์ โดยมีเจ้าหน้าที่จากทั้งสองธนาคารไปด้วย
• ขั้นตอนสุดท้าย มอบโฉนดที่ได้มาจากสำนักงานที่ดินให้กับธนาคารใหม่ เป็นอันเสร็จสิ้น
Cr.DDproperty