ที่อยู่อาศัยวัยเกษียณ เทรนด์ใหม่เมื่อไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ

ที่อยู่อาศัยวัยเกษียณ เทรนด์ใหม่เมื่อไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ

#สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ #อยู่ต่างประเทศซื้อบ้านในไทย #สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างแดน #อยู่ต่างประเทศอยากซื้อบ้านในไทย
โครงสร้างประชากรของไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงมานานกว่า 20 ปีแล้ว ภายหลังการเข้าสู่สังคมสมัยใหม่ได้สร้างแนวคิดให้ผู้คนนิยมมีลูกน้อยลง โดยเฉลี่ยครอบครัวละ 1-2 คนเท่านั้น เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในยุคปัจจุบัน ในขณะที่จำนวนคนรุ่นพ่อแม่หรือที่เรียกว่าคนรุ่น Baby Boomer ที่เกิดราวปี ค.ศ. 1946-1964 ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งมีอยู่จำนวนหลายล้านคนในสังคมไทยเริ่มแก่ตัวลง
จากการสำรวจพบว่า ในปี พ.ศ. 2548 ประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวน 12% ของจำนวนประชากรทั้งหมด นับว่าเป็นจุดเริ่มในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย (Aged Society) ก่อนที่จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2560 จากข้อมูลการสำรวจประชากรไทยพบว่า มีผู้สูงอายุมีจำนวน 11.3 ล้านคน หรือราว 16.7% ของจำนวนประชากรทั้งหมด โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดการณ์ว่าประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ ภายในปี พ.ศ. 2564 ดังนั้นการรับมือกับการก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุในสังคมจึงเป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้ไปพร้อมๆ กันทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นรัฐ องค์กรธุรกิจ และประชาชน
ที่อยู่อาศัย ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักสำคัญของชีวิตของผู้ที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษอย่างผู้สูงอายุ ซึ่งจำเป็นต้องมีฟังก์ชั่นที่สามารถตอบโจทย์การใช้งานของผู้ที่มีข้อจำกัดทางร่างกายได้อย่างเหมาะสม เช่น การออกแบบภายในห้องที่คำนึงถึงความเหมาะสมและปลอดภัย ติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ควบคุมสั่งการด้วยเสียงหรือการสัมผัส เพื่อช่วยให้การใช้งานอุปกรณ์นั้นง่ายขึ้น และสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ทันทีในเวลาเกิดเหตุฉุกเฉิน เป็นต้น
Cr.DDproperty