#สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ #อยู่ต่างประเทศซื้อบ้านในไทย #สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างแดน #อยู่ต่างประเทศอยากซื้อบ้านในไทย #อยู่ต่างประเทศอยากมีบ้านในไทย #กู้บ้านในไทยคนไทยในต่างแดน #สินเชื่อซื้อบ้านสำหรับคนไทยในต่างแดน #ทำงานต่างประเทศกู้บ้านในไทย
บ้าน คือทรัพย์สินขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าค่อนข้างสูง ทำให้ก่อนการตัดสินใจซื้อนั้นจำเป็นจะต้องพิจารณาเงื่อนไขต่างๆ ให้ละเอียดรอบคอบ ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการกู้ของตัวเอง อัตราดอกเบี้ยจากธนาคาร รวมไปถึงเงื่อนไขต่างๆ ในการขอสินเชื่อ
บทความนี้ ธอส. จะมาแนะนำเคล็ดวิธีการคำนวณดอกเบี้ยบ้านโดยละเอียด เพื่อให้คุณสามารถเห็นภาพรวมของสินเชื่อบ้านก่อนที่จะเริ่มทำการกู้ได้อย่างชัดเจน!
มาดูกันเลยว่าจะสามารถคำนวณได้อย่างไรบ้าง!
ดอกเบี้ยบ้านมีกี่ประเภท? แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร?
ดอกเบี้ยบ้าน จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน ซึ่งแต่ละประเภทนั้นจะมีวิธีการคำนวณที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
ดอกเบี้ยบ้านแบบคงที่ (Fixed Rate)
ดอกเบี้ยบ้านแบบคงที่ (Fixed Rate) มีการระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ตายตัว โดยไม่มีการปรับขึ้นลงตามอัตราดอกเบี้ยของตลาด
สำหรับการขอสินเชื่อบ้าน โดยมากแล้วในระยะแรกจะทำการปล่อยสินเชื่อเป็นอัตราดอกเบี้ยบ้านแบบคงที่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยของแต่ละธนาคาร จากนั้นจึงจะปรับเปลี่ยนไปเป็นแบบลอยตัวในภายหลัง
ตัวอย่าง เช่น ดอกเบี้ยของสินเชื่อต่อปีอยู่ที่ 5% เป็นระยะเวลา 5 ปี เท่ากับว่าในระยะเวลานั้นอัตราดอกเบี้ยบ้านจะอยู่ที่ 5% ถึงแม้ว่าจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง จากนั้นเมื่อครบกำหนดตามสัญญาจึงเปลี่ยนเป็นคำนวณอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวตามประกาศของธนาคาร
ดอกเบี้ยบ้านแบบลอยตัว (Floating Rate)
ดอกเบี้ยบ้านแบบลอยตัว (Floating Rate) หรือที่หลายๆ คนรู้จักกันในชื่อของสินเชื่อแบบลดต้นลดดอก คืออัตราดอกเบี้ยที่จะมีการปรับเปลี่ยนไปตามที่ธนาคารกำหนด ซึ่งจะมีการประกาศออกมาเป็นระยะๆ
โดยอัตราดอกเบี้ยบ้านแบบลอยตัวนั้นจะพบได้ 2 ประเภทด้วยกัน ได้แก่
MLR (Minimum Loan Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยบ้านที่ธนาคารเรียกเก็บจาก ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี เช่น บริษัท หรือองค์กรขนาดใหญ่
MRR (Minimum Retail Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารเรียกเก็บจาก ลูกค้ารายย่อยชั้นดี หรือให้พูดง่ายๆ ก็คือ ลูกค้าทั่วไปที่มีประวัติทางการเงินที่ดีนั่นเอง
ตัวอย่าง ดอกเบี้ยต่อปีตามประกาศธนาคาร MRR = 6.80% อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อปีแรก = MRR 3% ดอกเบี้ยที่ใช้ในปีแรก = 3.80%
ต่อมาหากมีประกาศปรับอัตราดอกเบี้ย ลดลง 0.25 % MRR จะอยู่ที่ 6.55% จะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อปีแรกที่ใช้ MRR 3% นั้น จะปรับลดลงตามไปด้วยคงเหลืออัตราดอกเบี้ย = 3.55% ทั้งนี้หากมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็จะขึ้นตามไปด้วย
เคล็ดวิธีคำนวณดอกเบี้ยบ้านอย่างละเอียด
ก่อนที่เราจะเริ่มคำนวณดอกเบี้ยบ้านนั้น เราต้องเตรียมข้อมูลเหล่านี้ก่อนจึงจะสามารถนำมาคำนวณได้ โดยข้อมูลที่ต้องนำมาใช้ในการคำนวณ มีดังนี้
ราคาบ้าน หรืออสังหาริมทรัพย์ที่คุณต้องการ
ระยะเวลาที่ต้องการกู้
ความสามารถในการผ่อนชำระ
รายละเอียดสินเชื่อ หรืออัตราดอกเบี้ย
ซึ่งคุณสามารถหารายละเอียดเหล่านี้ได้จากประกาศผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของธนาคาร
สำหรับลูกค้าคนไทยในต่างประเทศ ธอส.มีอัตราดอกเบี้ยพิเศษ สำหรับคุณ
เริ่มต้น เพียง ปีละ 2.80% เท่านั้น
สำหรับขั้นตอนการคำนวณหาอัตราดอกเบี้ยบ้านโดยละเอียดนั้น หากทำการคำนวณเองจะต้องใช้สูตรคณิตศาสตร์ซึ่งมีความซับซ้อนค่อนข้างมาก และการคิดคำนวณเงินงวดของแต่ละผลิตภัณฑ์นั้นธนาคารจะกำหนดรูปแบบการคำนวณแต่ละผลิตภัณฑ์ไม่เหมือนกันเพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
หากต้องการคำนวณสินเชื่อเบื้องต้น สามารถคำนวณได้ที่ https://www.ghbank.co.th/loan/infomation-advices/calculator หรือหากต้องการรายละเอียดการคำนวณสินเชื่อ ค่างวด อย่างแม่นยำ สามารถทำการสอบถามได้ผ่าน ธอส. ทุกสาขา
Cr. GHB