#สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ #อยู่ต่างประเทศซื้อบ้านในไทย #สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างแดน #อยู่ต่างประเทศอยากซื้อบ้านในไทย
จากเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องจากปลายปีที่ผ่านมา ทำให้หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าในปี 2561 เศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวขึ้น ซึ่งในส่วนของภาคอสังหาริมทรัพย์แม้ว่าจะมีการเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี แต่เป็นในลักษณะชะลอตัว เนื่องจากกำลังซื้อยังไม่ฟื้นตัวกลับมาชัดเจน โดยเฉพาะในตลาดล่าง จึงทำให้โครงการใหม่ ๆ เปิดตัวน้อยลง และทางด้านสถาบันการเงินยังคงระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ
ตลาดปี 60 เปิดใหม่น้อย ราคาต่อหน่วยเพิ่ม
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปีที่ผ่านมา กรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่อยู่อาศัยเปิดใหม่ยังคงเติบโตแต่เติบโตอัตราที่ไม่มากนักประมาณ 114,477 หน่วย หรือเติบโต 3.5% มีอัตราการขายอยู่ที่ 103,227 หน่วย หรือ 5.5% มูลค่าเฉลี่ยต่อหน่วยอยู่ที่ 3.85 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 11.6%
ส่วนตลาดในต่างจังหวัด หลังจากที่หลายปีที่ผ่านมาดีเวลลอปเปอร์ทั้งรายเล็ก รายใหญ่ แห่กันไปลงทุนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะใน 6 จังหวัดใหญ่ ได้แก่ ชลบุรี ระยอง เชียงใหม่ ภูเก็ต ขอนแก่น และสงขลา ในปีที่ผ่านมามีการเปิดตัวน้อยลงเพียง 19,852 หน่วย หรือลดลงถึง 30.8% และมีอัตราการขายน้อยลงเพียง 34,016 หน่วย หรือลดลง 9.2% มีมูลค่าเฉลี่ยต่อหน่วยอยู่ที่ 3.1 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 19.4%
ค้นหาประกาศบ้าน-คอนโดฯ ในชลบุรีที่นี่
สต็อกเหลือขายเพิ่ม จับตาภาวะฟองสบู่
ด้านสต็อกเหลือขายสะสมมีอัตราเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี 2560 กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีสต็อกเหลือขายสะสมอยู่ที่ 195,227 หน่วย หรือเพิ่มขึ้น 5.9% ส่วนต่างจังหวัด มีสต็อกเหลือขายลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2557 จาก 79,828 หน่วย เหลือ 69,895 หน่วย หรือลดลง 13%
แม้ว่าตัวเลขดังกล่าวจะสูงกว่าในช่วงเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ที่มีสต็อกเหลือขายสะสมประมาณ 160,000 หน่วย แต่เชื่อว่าจากอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ และคนนิยมแยกครอบครัวมากขึ้น ประกอบกับดีเวลลอปเปอร์เข้าใจตลาดมากขึ้น สต็อกเหลือขายสะสมที่ค่อนข้างสูงในปัจจุบันจะมีโอกาสเกิดภาวะฟองสบู่ได้น้อยหนี้เสียพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง
แนวโน้มหนี้เสียหรือ NPL เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่เป็น Post-finance โดยยอดคงค้างสินเชื่อที่อยู่อาศัยปี 2560 อยู่ที่ 3.45 ล้านล้านบาท ขยายตัวขึ้น 6% และคาดการณ์ยอดคงค้างสินเชื่อที่อยู่อาศัยปี 2561 จะอยู่ที่ 3.67 ล้านล้านบาท ขยายตัว 6-7%
ทั้งนี้ NPL สินเชื่อที่อยู่อาศัย Post-finance ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2558 โดย ณ ไตรมาส 4 ปี 2560 อยู่ที่ 3.23% ซึ่งการผิดนัดชำระหนี้สินเชื่อที่อยู่อาศัยมาจากปัญหาความสามารถในการชำระหนี้ของผู้มีรายได้น้อยเป็นหลัก แต่เชื่อว่าสถาบันการเงินจะให้น้ำหนักกับ Post-finance เช่นเดิม เนื่องจากเป็นสินเชื่อที่มีหลักประกัน โดยคาดว่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยจะเติบโตต่อเนื่องอยู่ที่ 6-7%
อย่างไรก็ตาม สินเชื่อที่อยู่อาศัยยังคงมีโอกาสเติบโตต่อไปได้จากสัดส่วนสินเชื่อที่อยู่อาศัยต่อ GDP ของไทยซึ่งอยู่ที่ 22.8% ยังต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ ซึ่งอยู่ที่ 44.7% และมาเลเซีย 34.9% หรือในประเทศยุโรปอย่างสวิตเซอร์แลนด์ อยู่ที่ 102.8% รวมถึงการพัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้าที่ทำให้เกิดทำเลใหม่ๆ ในการพัฒนาที่อยู่อาศัยมากขึ้น แต่อุปสรรคใหญ่ของการเติบโตสินเชื่อที่อยู่อาศัยคือ ตัวผู้กู้เองที่ไม่มีกำลังซื้อ เนื่องจากไปก่อหนี้ตัวอื่นไว้ทำให้หนี้ครัวเรือนรวมยังอยู่ที่ 80% ของ GDP โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย