สัญญาจะซื้อจะขายบ้าน คืออะไร มีอะไรที่ต้องรู้บ้าง

สัญญาจะซื้อจะขายบ้าน คืออะไร

หลายคนที่จะซื้อบ้านหรือซื้อคอนโด คงเคยได้ยิน “สัญญาจะซื้อจะขาย”  แล้วสัญญาจะซื้อจะขายที่ได้ยินคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร และมีอะไรบ้างที่ต้องรู้ วันนี้เราจะมาบอกถึงความสำคัญของสัญญาจะซื้อจะขายกันค่ะ

 

เลือกอ่าน

 

 

สัญญาจะซื้อจะขายบ้านคืออะไร

สัญญาจะซื้อจะขายบ้าน

คือ หนังสือสัญญาที่แสดงเจตนาว่าผู้ขายจะขายและผู้ซื้อ ทำขึ้นเพื่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างผู้จะซื้ออสังหาริมทรัพย์และผู้จะขายอสังหาริมทรัพย์ ถือเป็นการแสดงเจตนาของทั้งสองฝ่าย และระบุข้อตกลงต่างๆ หากว่าคู่สัญญาผิดข้อตกลง อีกฝ่ายสามารถฟ้องร้องได้  สัญญาจะซื้อจะขายบ้านจะเป็นสัญญาซื้อขายบ้านที่สมบูรณ์ต่อเมื่อผู้ซื้อและผู้ขายไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิที่สำนักงานที่ดินเท่านั้น

 

 

จุดประสงค์ของสัญญาจะซื้อจะขาย

ความสำคัญของสัญญาจะซื้อจะขาย

  • ใช้สำหรับการขอสินเชื่อ

สัญญาจะซื้อจะขาย  ใช้เป็นเอกสารประกอบการยื่นขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน เมื่อทำสัญญาจะซื้อจะขายแล้วมีผลผูกพันคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย

  • ใช้สำหรับทางกฎหมาย

การทำสัญญาจะซื้อจะขายจะ สามารถใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีฟ้องร้องได้หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำผิดสัญญา

 

 

สิ่งที่ต้องระบุในสัญญาจะซื้อจะขาย

ตัวอย่างสัญญาจะซื้อจะขาย
ตัวอย่างสัญญาจะซื้อจะขาย : babform

รายละเอียดที่สำคัญในสัญญาจะซื้อจะขายบ้าน มีอะไรบ้าง

1.วันที่ทำสัญญาจะซื้อจะขาย

ในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน จะต้องระบุวันที่เซ็นสัญญาในส่วนหัวของสัญญา เพื่อแสดงวันที่มีผลทางกฎหมาย

2.รายละเอียดระหว่างคู่สัญญา รายละเอียดระหว่างคู่สัญญา

คือ ข้อมูลที่แสดงตัวตนของผู้จะซื้อและผู้จะขาย เพื่อกำกับว่าสัญญาจะซื้อจะขายบ้านทำขึ้น

    • ข้อมูลบนสัญญาจะประกอบไปด้วย
      • ชื่อ อายุ ที่อยู่ “ผู้จะซื้อ” หรือ “ผู้จะขาย” ตามรายละเอียดในบัตรประชาชนของทั้งสองฝ่าย ในสัญญาควรตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องทั้งหมด หากชื่อคู่สัญญาผิด อาจมีผลทำให้สัญญาเป็นโมฆะได้

3.รายละเอียดของอสังหาริมทรัพย์

สัญญาจะซื้อจะขาย จะต้องมีรายละเอียดสำคัญของอสังหาริมทรัพย์ เช่น เลขที่โฉนด ขนาดที่ดิน ชนิดสิ่งปลูกสร้าง เลขที่สิ่งปลูกสร้าง และเขตปกครองที่ที่ดินตั้งอยู่ (ตำบล อำเภอ จังหวัด)

4.ราคาซื้อขายและรายละเอียดการชำระเงิน

ในสัญญาต้องมีการกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่ตกลงซื้อขายอย่างชัดเจน ทั้งเป็นตัวเลขและตัวอักษร

    • กรณีที่มีการวางมัดจำแล้ว จะต้องระบุว่าผู้ซื้อได้ชำระมาก่อนแล้วเป็นจำนวนกี่บาท ชำระด้วยวิธีใด ควรระบุเลขอ้างอิง ธนาคาร สาขา พร้อมวันที่ชำระ จะชำระอย่างไร ผ่อนงวดละเท่าไร และยังมีเหลือในส่วนที่จะชำระเพิ่มเติมอีกเท่าไรในวันโอนกรรมสิทธิ์ ณ สำนักงานที่ดิน ต้องระบุให้ชัดเจน

5.ระยะเวลาของสัญญา และการกำหนดวันโอนกรรมสิทธิ์

ในสัญญาต้องมีการกำหนดระยะเวลา และการกำหนดวันโอนกรรมสิทธิ์ภายในเวลาที่คู่สัญญากำหนด ตามที่เห็นสมควร

6.รายละเอียดค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์

ในสัญญาต้องมีการกำหนดผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น จากการโอนกรรมสิทธิ์

7.ความรับผิดกรณีผิดสัญญา

ในสัญญาต้องกำหนดความรับผิดทั้งในส่วนของผู้จะซื้อหรือผู้จะขาย หากเกิดกรณีดังกล่าวขึ้น

เช่น กรณีผู้จะซื้อผิดสัญญา ไปโอนกรรมสิทธิ์ในวันตามที่ตกลงในสัญญา ให้ผู้จะขายยกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย และริบเงินมัดจำที่วางไว้ได้ หรือกรณีผู้จะขาย ผิดสัญญาไม่โอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้จะซื้อในวันโอนกรรมสิทธิ์ ให้ผู้จะซื้อสามารถขอคืนเงินมัดจำได้และให้ฟ้องร้องให้ผู้จะขายมาดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ตามสัญญา

8.ข้อตกลงและเงื่อนไขอื่นๆ

ข้อตกลงต่างๆ ระหว่างผู้จะซื้อและผู้จะขาย อาจเป็นได้หลายกรณี เช่น รายละเอียดการยกเลิกสัญญา การรับประกันบ้าน ซึ่งจะระบุในส่วนท้ายของสัญญา เป็นรายละเอียดอีกส่วนที่ต้องใส่ใจว่าทั้งสองฝ่ายได้รับความเป็นธรรม

9.ส่วนลงชื่อคู่สัญญาและพยาน

ส่วนสุดท้ายของสัญญา คือ ส่วนลงชื่อรับทราบและยอมรับข้อตกลงการซื้อขายและเงื่อนไขอื่นๆ รับรองว่า สัญญาทำเป็นสองฉบับ โดยมีเนื้อหาเหมือนกันครบถ้วนสำหรับฝ่ายผู้ซื้อและฝ่ายผู้ขาย ซึ่งแต่ละฝ่ายจะต้องมีพยานในการรับทราบสัญญาฝ่ายละ 1 คน

 

สัญญาจะซื้อจะขาย อาจจะดูเป็นเรื่องยุ่งยาก และมีรายละเอียดขั้นตอนที่ต้องทำความเข้าใจ  แต่สำหรับการซื้อขายบ้าน “สัญญา” คือสิ่งที่จะช่วยไม่ให้คุณเสียเปรียบ


ที่มา : blog.ghbank