ภาษีมาจากไหน? จะคำนวณภาษีจากอะไรบ้าง? วันนี้เรามีเกร็ดความรู้เล็กๆเกี่ยวกับภาษีมาฝากกันค่ะ
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะแบ่งออกเป็นแหล่งรายได้ในประเทศและนอกประเทศดังนี้ค่ะ
1. เงินได้ที่เกิดขึ้นในประเทศ
1.1. มีหน้าที่การงานที่ทำในประเทศไทย
1.2. มีกิจการที่ทำในประเทศไทย
1.3. กิจการของนายจ้างในประเทศไทย
1.4. ทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย (ดอกเบี้ย เงินปันผล ค่าเช่า ฯลฯ
* เงื่อนไข ผู้มีเงินได้เกิดจากแหล่งในประเทศนี้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามที่ประมวลรัษฏากร กำหนดไว้เสมอเว้นแต่จะมีข้อยกเว้นตามกฎหมาย ทั้งนี้ ไม่ว่าเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วนั้น จะจ่ายในหรือนอกประเทศ และไม่ว่าผู้มีเงินได้นั้นจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยหรือไม่ก็ตาม)
2. เงินได้เกิดจากแหล่งนอกประเทศไทย
2.1 หน้าที่การงานที่ทำในต่างประเทศ
2.2 มีกิจการในต่างประเทศ
2.3 ทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ
* เงื่อนไข ผู้มีเงินได้เกิดจากแหล่งนอกประเทศในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วจะต้องเสียภาษีเงินได้ ในประเทศไทยก็ต่อเมื่อเข้าองค์ประกอบทั้ง 2 ประการ ดังต่อไปนี้
(1) ผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ในปีภาษีนั้นชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะเวลา รวมทั้งหมดถึง 180 วัน
(2) ผู้มีเงินได้ นำเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีนั้นด้วย
ในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาบางกรณี ถ้าเกี่ยวข้องกับบุคคลของบางประเทศที่มี อนุสัญญาภาษีซ้อน หรือความตกลงเพื่อป้องกันการเก็บภาษีซ้ำซ้อนกับประเทศไทยจำเป็นต้องพิจารณาถึงความ ตกลงหรืออนุสัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยได้ทำความตกลงไว้ด้วย
อัตราภาษีเงินได้ที่ต้องยื่นเสียภาษี
รายได้สุทธิตั้งแต่ 0-150,000 บาท/ปี ได้รับการยกเว้นภาษี
รายได้สุทธิตั้งแต่ 150,000-300,000 บาท/ปี จะเสียภาษี 5 % ของรายได้สุทธิ
รายได้สุทธิตั้งแต่ 300,001-500,000 บาท/ปี จะเสียภาษี 10 % ของรายได้สุทธิ
รายได้สุทธิตั้งแต่ 500,001-750,000 บาท/ปี จะเสียภาษี 15 % ของรายได้สุทธิ
รายได้สุทธิตั้งแต่ 750,001-1,000,000 บาท/ปี จะเสียภาษี 20 % ของรายได้สุทธิ
รายได้สุทธิตั้งแต่ 1,000,001-2,000,000 บาท/ปี จะเสียภาษี 25 % ของรายได้สุทธิ
รายได้สุทธิตั้งแต่ 2,000,001-4,000,000 บาท/ปี จะเสียภาษี 30 % ของรายได้สุทธิ
รายได้สุทธิตั้งแต่ 4,000,001 บาท/ปี ขึ้นไป จะเสียภาษี 35 % ของรายได้สุทธิ
ไม่ยากใช่ไหมล่ะคะเรื่องภาษีที่จะต้องจ่ายทุกๆปี แต่ถ้าจะให้จ่ายเต็มๆจนกระเป๋าฉีก(สำหรับคนที่รายได้เยอะแล้วต้องเสียภาษีเยอะ)ก็ไม่ไหวใช่ไหมล่ะคะ พรุ่งนี้เราจะมีวิธีการขอลดหย่อนภาษามาฝากกันค่ะ ฝากติดตามกันด้วยนะคะ
Cr.กรมสรรพากร ความรู้เรื่องภาษี