แบงค์ใหญ่อุ้มผู้มีรายได้น้อย มาดูซิ! ใครบ้างมีสิทธิ์จองบ้านประชารัฐ

แบงค์ใหญ่อุ้มผู้มีรายได้น้อย มาดูซิ! ใครบ้างมีสิทธิ์จองบ้านประชารัฐ

โครงการบ้านประชารัฐ ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงสินเชื่อจากสถาบันเงินเฉพาะกิจของภาครัฐได้ง่ายขึ้นจากเดิม โดยโครงการดังกล่าวเป็นของภาครัฐบาล ที่มีการปล่อยสินเชื่อวงเงิน 70,000 ลบ. เอื้อและอุ้มสำหรับผู้มีรายได้น้อยให้สามารถซื้อบ้านได้แบบดอกเบื้ยถูกลง โดยจำแนกแยกเป็นดังนี้
1.สินเชื่อให้กับผู้ประกอบการเอกชนภาคอสังหาริมทรัพย์สร้างที่อยู่อาศัย ในวงเงิน 3 หมื่นลบ. ผ่านธนาคารกรุงไทย ออมสิน และธอส.
2.สินเชื่อให้ประชาชนกู้ซื้อบ้าน ผ่านธนาคารออมสิน และธนาคารอาคารสงเคราะห์ แห่งละ 2 หมื่นลบ. รวม 4 หมื่นลบ.โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ปี
หลายคนถามเข้ามาว่าแล้วบ้านประชารัฐ มีที่ไหนบ้างล่ะ! ต้องเรียนว่า ที่อยู่อาศัยภายใต้โครงการบ้านประชารัฐมีราคาไม่เกิน 1.5 ลบ. ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ทั้งสร้างบนที่ดินของตนเอง โครงการของเอกชน หรือโครงการที่สร้างบนที่ดินของรัฐ ซึ่งครอบคลุมที่อยู่อาศัยที่สร้างใหม่ สร้างเสร็จพร้อมอยู่ และทรัพย์สินรอการขาย (NPA) ของสถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์ และสำหรับสิทธิ์ของการจองบ้านประชารัฐนั้น ผู้ขอสินเชื่อจะต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป ระยะเวลาชำระเงินกู้ไม่เกิน 65 ปี
 ส่วนการซื้อบ้าน เช่าซื้อ หรือสร้างใหม่ ราคาหลังละไม่เกิน 1.5 ลบ. และเป็นบ้านหลังแรกเท่านั้น โดยผู้ขอสินเชื่อ ต้องไม่เคยมีชื่อเป็นเจ้าของบ้านมาก่อน ยกเว้นว่า จะเป็นการซ่อมแซมหรือต่อเติมที่อยู่อาศัย
 รวมทั้งผู้ขอสินเชื่อ ต้องไม่มีชื่อเป็นหรือเคยเป็น “เจ้าบ้าน” ในทะเบียนบ้านที่นำมาแสดงเป็นหลักฐานการยื่นกู้กับธนาคาร และต้องมีชื่อเป็น “ผู้อยู่อาศัย” ในทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่า 3 ปี ยกเว้น มีชื่อเป็นเจ้าบ้านแต่พิสูจน์ได้ว่าไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยตามทะเบียนบ้านนั้น ส่วนคนที่มีบ้านแล้ว ก็สามารถขอสินเชื่อเพื่อซ่อมแซมและตกแต่งที่อยู่อาศัยได้ ในวงเงินกู้ไม่เกิน 5 แสนบาท คิดดอกเบี้ยเท่ากับกรณีที่กู้บ้านไม่เกิน 7 แสนบาท ทั้งนี้มูลค่ารวมของที่ดินและที่อยู่อาศัยที่จะขอกู้เพื่อซ่อมแซมหรือต่อเติมต้องไม่เกิน 1.5 ลบ.
สำหรับผู้ที่สนใจต้องการยื่นกู้ซื้อบ้านประชารัฐ เอกสารที่ต้องเตรียมหรือใช้ประกอบการยื่นมีอะไรกันบ้าง!
เอกสารส่วนบุคคล
1. บัตรประจำประชาชน/ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3. สำเนาทะเบียนสมรส/ใบหย่า/ใบมรณบัตร/ใบแจ้งความแยกกันอยู่
4. สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล
5. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนคู่สมรส (ถ้ามี)

เอกสารทางการเงิน

1. ใบรับรองเงินเดือน/หนังสือผ่านสิทธิสวัสดิการ
2. สลิปเงินเดือนหรือหลักฐานการรับเงินเดือนย้อนหลัง 3 เดือน
3. สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน (กรณีอาชีพประจำ) และ 12 เดือน (กรณีอาชีพอิสระ)/หลักฐานแสดงฐานะการเงินอื่น ๆ (พร้อมแสดงเอกสารฉบับจริง)
4. สำเนาทะเบียนการค้า/ทะเบียนบริษัท/ห้างหุ้นส่วนฯ
5. หลักฐานการเสียภาษีเงินได้
6. รูปถ่ายกิจการ
7. สำเนาใบประกอบวิชาชีพ
8. เอกสารหลักประกันเงินกู้
9. สำเนาสัญญาจะซื้อจะขาย/สัญญาวางมัดจำ/สัญญาเช่าซื้อการเคหะ
10. สำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดินฉบับกรมที่ดิน
11. สำเนาโฉนดที่ดิน/น.ส.3ก./หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด (อช.2) ทุกหน้า กรณีซื้อสินทรัพย์มือสองต้องรับรองสำเนาโดยเจ้าพนักงานที่ดิน