#คนไทยในต่างประเทศ #สินเชื่อสำหรับคนไทยในต่างประเทศ #สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ #อยู่ต่างประเทศซื้อบ้านในไทย #สินเชื่อสำหรับคนไทยในต่างประเทศ #คนไทยในต่างแดน #ซื้อบ้านในไทย #อยู่ต่างประเทศซื้อบ้านในไทย #สินเชื่อคนไทยในต่างแดน #สินเชื่อซื้อบ้านสำหรับคนไทยในต่างแดน #ทำงานต่างประเทศ #อยู่ต่างประเทศ
สำนักงานประกันสังคมเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ปรับปรุง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2558 โดยจะปรับปรุงจำนวนเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม กรณีผู้ประกันตนมาตรา 33 จากเดิมอัตราขั้นต่ำอยู่ที่ 1,650 บาท และสูงสุดอยู่ที่ 15,000 บาทต่อเดือน เป็นต่ำสุดมี 2 แนวทาง คือ 3,600 บาท หรือ 4,500 บาท และสูงสุดเป็น 20,000 บาทต่อเดือน และกรณีมาตรา 39 ซึ่งเดิมใช้ฐานค่าจ้างที่ 4,800 บาทต่อเดือน อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะปรับเพิ่มมาเป็นที่ 7,800 บาท หรือ 6,700 บาทต่อเดือน เป็นการพิจารณาปรับเพิ่มในรอบ 26 ปี ตั้งแต่ที่มีการก่อตั้ง สปส. มา
ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบัน โดยเฉพาะกรณีก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยหลักการเพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์และความมั่นคงของชีวิต นอกจากนี้ ยังมีการพิจารณาปรับเพิ่มทุกๆ 5 ปี เบื้องต้นจะมีการออกเป็นกฎกระทรวง เนื่องจากการแก้ พ.ร.บ. ประกันสังคม มีการใช้เวลานาน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการทำประชาพิจารณ์ 4 ภาค ผ่านมาแล้ว 2 ครั้ง ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการปรับฐานการคำนวณเงินสมทบใหม่ แต่มีบางส่วนเห็นว่าควรปรับตามสภาพเงินเดือนของแต่ละคน เพราะบางคนเงินเดือนสูงก็อยากให้มีการจ่ายเงินเพิ่มเพื่อเป็นหลักประกันในยามชราภาพ
การปรับเพิ่มฐานการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคมจะมีผู้ได้รับผลกระทบเพียง 20% ของผู้ประกันตนทั้งหมด 13 ล้านคน หรือคิดเป็น 2.6 ล้านคน ปัจจุบันลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตน จะต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมในอัตรา 5% ของเงินเดือน โดยผู้ที่รายได้เดือนละ 15,000 บาทหรือสูงกว่าเดือน 15,000 บาท ต้องจ่ายเงินสมทบในส่วนของลูกจ้างสูงสุดไม่เกิน 750 บาทต่อเดือน แต่หากปรับฐานจำนวนเงินที่นำมาคำนวณเป็นเงินสมทบประกันสังคมตามเกณฑ์ใหม่ คือ เพิ่มเงินเดือนขั้นสูงเป็น 20,000 บาท จะทำให้ผู้ที่มีรายได้เดือนละ 20,000 บาทหรือสูงกว่า 20,000 บาท ต้องจ่ายเงินสมทบเป็นสูงสุดไม่เกิน 1,000 บาทต่อเดือน ซึ่งขณะนี้ได้ส่งให้กระทรวงแรงงานพิจารณาให้เร็วที่สุด คาดว่า จะแล้วเสร็จภายใน ม.ค. 2560 และจะออกเป็นกฎกระทรวงแรงงาน ซึ่งอย่างต่ำจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ยืนยันว่า การปรับเพิ่มฐานคำนวณในครั้งนี้ เพื่อความมั่นคงของผู้ประกันตน เพราะเงินที่เพิ่มขึ้นก็ไปเพิ่มในสิทธิประโยชน์ต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องของเงินออมและเงินชดเชยการขาดรายได้
อย่างไรก็ตาม หากมีการปรับเพดานเงินสมทบใหม่ในครั้งนี้ ส่วนของนายจ้างย่อมได้รับผลกระทบแน่นอน เพราะเป็นภาระที่เพิ่มขึ้นแก่กลุ่มนายจ้าง แต่เป็นหน้าที่ที่ต้องทำ เพื่อเสริมสร้างให้ลูกจ้างมีหลักประกันที่มั่นคงขึ้น เชื่อว่า คนส่วนมากเห็นด้วยกับการปรับครั้งนี้ ซึ่งหากลูกจ้างมีขวัญกำลังใจที่ดี ไม่มีความกังวลในเรื่องของเงินออม ก็จะทำให้การทำงานออกมามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น