#สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ #อยู่ต่างประเทศซื้อบ้านในไทย #สินเชื่อสำหรับคนไทยในต่างประเทศ #คนไทยในต่างแดน #ซื้อบ้านในไทย #อยู่ต่างประเทศซื้อบ้านในไทย #สินเชื่อคนไทยในต่างแดน #สินเชื่อซื้อบ้านสำหรับคนไทยในต่างแดน #ทำงานต่างประเทศ #อยู่ต่างประเทศ
ระยะร่น หรือระยะเว้นห่าง นับเป็นส่วนสำคัญที่ใครก็ตามที่กำลังคิดสร้างบ้าน อาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างใด ๆ ควรทราบข้อกฏหมายนี้ไว้ เพื่อที่จะได้ออกแบบบ้านของเราให้มีสัดส่วนพอดีกับแปลงที่ดิน มิเช่นนั้นแล้วหากออกแบบมาผิด เมื่อนำแบบไปขออนุญาตก็อาจไม่ผ่าน ไม่ได้รับอนุญาต จำเป็นต้องเสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายมาแก้แบบกันใหม่ หรือหากท่านใดที่ยังไม่ได้ซื้อที่ดินแต่มีแบบบ้านเก็บไว้ในใจแล้ว จะได้เลือกซื้อที่ดินให้มีขนาดพอดีกับสัดส่วนระยะร่นด้วยค่ะ
ระยะร่นกับถนนสาธารณะ
กรณีถนนสาธารณะ มีความกว้างน้อยกว่า 6 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากกึ่งกลางถนนสาธารณะ อย่างน้อย 3 เมตร
กรณีถนนสาธารณะ มีความกว้างน้อยกว่า 10 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากกึ่งกลางถนนสาธารณะ อย่างน้อย 6 เมตร เช่น ถนนมีความกว้าง 8 เมตร วัดจากกึ่งกลางถนนอย่างน้อย 6 เมตร กรณีนี้ระยะร่นอาคารไปถึงเขตถนน กว้างอย่างน้อย 2 เมตร
กรณีถนนสาธารณะ มีความกว้างตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป แต่ไม่เกิน 20 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากเขตถนนสาธารณะ อย่างน้อย 1 ใน 10 ของความกว้างของถนนสาธารณะ เช่น ถนนมีความกว้าง 12 เมตร ระยะร่นอย่างน้อย 1.2 เมตร
กรณีถนนสาธารณะ มีความกว้างเกิน 20 เมตรขึ้นไป ให้ร่นแนวอาคารห่างจากถนนสาธารณะอย่างน้อย 2 เมตร
ระยะร่นกับเพื่อนบ้าน (ข้างบ้านและหลังบ้าน)
กรณีมีช่องแสง ช่องลม สำหรับระยะร่นด้านข้างและด้านหลังบ้าน จะทำการวัดจากขอบผนังบ้านริมนอกสุดกับเขตที่ดินของเรา โดยอิงกับขนาดความสูงของอาคาร หากเป็นบ้านทั่วไปที่สูงไม่เกิน 9 เมตร มีช่องแสง ช่องลม บล็อคแก้ว ประตู หน้าต่าง ระเบียง ระยะร่นต้องห่างไม่น้อยกว่า 2 เมตร สำหรับชั้น 3 ของบ้าน 3 ชั้น หรือสูงเกิน 9 เมตร แต่ไม่เกิน 23 เมตร ให้มีระยะร่นอย่างน้อย 3 เมตร
กรณีไม่มีช่องแสง ช่องลม กรณีที่ต้องการให้มีระยะร่นน้อยกว่าตามข้อกำหนด การออกแบบบ้านจะต้องออกแบบในลักษณะปิดทึบ ไม่ให้มีช่องแสงหรือช่องลมลอดผ่านได้ รวมทั้งบล็อคแก้ว ประตู หน้าต่าง ระเบียง โดยตามกฏหมายได้กำหนดให้สามารถร่นได้ 50 เซนติเมตร และหากต้องการสร้างชิดติดขอบที่ดินก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่อาคารดังกล่าวต้องมีความสูงไม่เกิน 15 เมตร และต้องให้เจ้าของที่ดินด้านดังกล่าว เซ็นหนังสือยินยอม หากเพื่อนบ้านไม่ยินยอมก็จะเป็นไปตามข้อกฏหมายร่นได้ 50 เซนติเมตรและต้องปิดทึบทั้งผนังเท่านั้น สำหรับอาคารที่มีชั้นดาดฟ้า ดาดฟ้าด้านดังกล่าวต้องทำผนังทึบสูงจากดาดฟ้าไม่น้อยกว่า 1.8 เมตร
เรื่องกฏหมาย อ่าน ๆ ไปแล้วอาจจะทำความเข้าใจยากสักนิด แต่อย่างไรก็ตามต้องทำความเข้าใจอย่างรอบคอบ แม้ที่ดินที่เราซื้อมานั้นถูกต้องตามกฏหมายทุกประการ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะสามารถทำอะไรก็ได้บนที่ดินผืนนั้น จำเป็นต้องมีการควบคุมเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ
อ้างอิง : กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543) ออกตามความในพระราชบัณณัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522