เรื่องต้องรู้ “เครดิตบูโร” ก่อนยืนขอสินเชื่อ

เรื่องต้องรู้ "เครดิตบูโร" ก่อนยืนขอสินเชื่อ

#สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ #อยู่ต่างประเทศซื้อบ้านในไทย #สินเชื่อสำหรับคนไทยในต่างประเทศ #คนไทยในต่างแดน #ซื้อบ้านในไทย #อยู่ต่างประเทศซื้อบ้านในไทย #สินเชื่อคนไทยในต่างแดน #สินเชื่อซื้อบ้านสำหรับคนไทยในต่างแดน #ทำงานต่างประเทศ #อยู่ต่างประเทศ
เครดิตบูโร (Credit Bureau) คือ ข้อมูล ประวัติต่างๆ ในการชำระสินเชื่อ ประวัติการขอสินเชื่อ การชำระเงิน เช่น การผ่อนบ้าน ผ่อนรถ หรือบัตรเครดิต จากธนาคารหลายๆ แห่ง ซึ่งเจ้าประวัติเหล่านี้ ก็มาจากธนาคารพาณิชย์, ธนาคารของรัฐ(เฉพาะกิจ) บริษัทเงินทุน, บริษัทหลักทรัพย์, บริษัทเครดิตฟองซอเอร์, บริษัทประกันวินาศภัย, ประกันชีวิต, ผู้ให้บริการบัตรเครดิต ฯลฯ ทุกอย่างจะถูกลงเป็นประวัติเอาไว้ เพื่อนำไปมาใช้ประกอบการตัดสินใจ ในการอนุมัติสินเชื่อ วงเงินเครดิต การทำธุรกรรมต่างๆ ประเมินความเสี่ยง และป้องกันความเสียหายจากการผิดนัดชำระหนี้ ทางการเงินในอนาคต
เครดิตบูโร นั้น ถูกจัดตั้งขึ้นเป็นองค์กรกลาง นี้ มีชื่อเต็มว่า บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด มีหน้าที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื่อ และบัตรเครดิตของเราทุกคนเอาไว้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ จะได้มาจากสถาบันการเงินทั้งที่เป็นธนาคาร และทั้งที่ไม่ได้เป็นธนาคาร โดยเครดิตบูโรจะเป็นคนเก็บข้อมูลให้สมาชิก หรือบุคคลทั่วไป ที่ต้องการเข้ามาดูรายละเอียดสินเชื่อ บัตรเครดิต หรือพฤติกรรมทางการเงิน ภาระหนี้ การจ่ายหนี้ และมีสิทธิเรียกดูข้อมูลประวัติจากเครดิตบูโรไว้ใช้
ทั้งนี้ ผู้ให้บริการสาธารณูปโภค (การประปานครหลวง การไฟฟ้านครหลวง) ค่ายบริษัทมือถือ ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเหล่านี้ จะไม่ถูกนับในรายการเครดิตบูโร โร ดังนั้น หากมีใครมาขู่ มาทวงหนี้ แล้วอ้างว่าเราไม่ได้จ่ายค่าโทรศัพท์มือถือ ค่าน้ำ ค่าไฟ จะติดแบล็กลิสท์ของเครดิตบูโร ไม่เป็นความจริง อย่าไปหลงเชื่อเชียวละ

เครดิตบูโร เก็บแค่ประวัติทางการเงินเท่านั้นหรือ?
สำหรับเครดิตบูโรนั้น จะเก็บข้อมูลเป็น 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 ประวัติส่วนตัวเกี่ยวกับลูกค้า
โดยเครดิตบูโรจะเก็บข้อมูล ชื่อ, เลขที่บัตรประชาชน, ที่อยู่, วันเดือนปีเกิด, อาชีพ และสถานภาพการสมรส ของลูกค้า ซึ่งการเก็บข้อมูลนี้ จะไม่มีการเก็บข้อมูลด้านลักษณะทางร่างกาย หรือประวัติคดีอาญาเกี่ยวกับคนๆ นั้น
ส่วนที่ 2 ประวัติการขอการได้รับอนุมัติสินเชื่อ และการชำระสินเชื่อ
เครดิตบูโรจะเก็บประวัติการชำระสินค้า บริการโดยบัตรเครดิต (สินเชื่อ) ตามกฎหมาย และไม่ได้จำกัดแค่การกู้ยืมสินเชื่อบ้าน สินเชื่อเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล เท่านั้น แต่รวมไปถึง ประวัติการจ่ายเงินเช่าซื้อรถยนต์ ลีสซิ่ง, การค้ำประกัน, การใช้ยืมหลักทรัพย์, การซื้อขายหลักทรัพย์ โดยจะแสดงข้อมูลฝั่งของหนี้สินเท่านั้น แต่จะไม่แสดงข้อมูลที่เป็นทรัพย์สินของเรา

อยากลองตรวจสอบเครดิตบูโรบ้าง ต้องทำยังไง?
แน่นอนว่า นอกจากผู้อนุมัติสินเชื่อต่างๆ นั้นจะมีสิทธิ์ในการตรวจสอบประวัติเครดิตบูโรของคุณแล้ว ตัวคุณเองก็สามารถตรวจสอบเครดิตบูโรได้เอง โดยคุณสามารถติดต่อผ่านทางบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติโดยตรง หรือติดต่อผ่านธนาคารต่างๆ และอีกหลายช่องทางที่บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติได้เตรียมไว้ให้

แบล็คลิสต์ (BLACKLIST) เกี่ยวข้องอะไรกับเครดิตบูโร?
หลายคนคงจะเคยยินมาไม่น้อย และหลายๆ คนมีความเข้าใจว่า การติดแบล็คลิสต์นั้น คือการที่เราชำระเงินต่างๆ ไม่ตรงเวลา ผิดนัดชำระบ้าง หรือมีหนี้ตกค้างบ้าง ซึ่งแท้จริงแล้ว ระบบเครดิตบูโร จะไม่มีคำว่า แบล็คลิสต์ หรือแม้กระทั่งคำว่า ติดเครดิตบูโร อย่างที่หลายๆ คนเข้าใจ การติดแบล็คลิสต์นั้น ถือว่าเป็นภาษาพูดที่ใช้กันจนชินปากเสียมากกว่า ไม่ใช่คำบัญญัติตายตัว เช่น พวกรับจ้างทวงหนี้ หรือเจ้าหน้าที่สินเชื่อที่ปฏิเสธไม่ให้สินเชื่อคุณ มักชอบอ้างใช้คำนี้ ในกรณีที่เราไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามเวลาที่กำหนด และทำให้ไม่สามารถยื่นขอที่ใดๆ ได้อีก หากไม่ชำระบัญชีให้เสร็จสิ้นเสียก่อน เพราะแท้จริงแล้ว บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด มีหน้าที่แค่รายงานความเคลื่อนไหวของข้อมูลเครดิตแต่ละคน หรือแต่ละบริษัทว่า มีความเคลื่อนไหวอย่างไร จากจำนวนยอดขอสินเชื่อ วงเงินค้างจ่าย ซึ่งรายงานเหล่านี้จะเรียกกันว่า ‘สรุปข้อมูลสินเชื่อ’ ซึ่งเป็นรายงานข้อมูลที่มีรายละเอียดการขอสินเชื่อและการผ่อนชำระ การปิดยอดชำระ รวมทั้งการบอกสถานะต่างๆ เช่น การปรับโครงสร้างหนี้ และสรุปออกมาเป็นสถานะบัญชี ที่บอกว่าเราอยู่สถานะใด ใช้หนี้ครบหมดแล้วหรือยัง และไม่สามารถทำให้เราติดแบล็คลิสต์ กีดกันไม่ให้เราทำสินเชื่อ หรือทำธุรกรรมทางการเงินอื่นๆ ได้
อย่างที่เราได้พูดถึงไปในข้อที่แล้ว แม้จะเป็นเพียงแค่การเก็บประวัติต่างๆ ก็ตาม แต่หลายๆ สถาบันการเงินล้วนแล้วแต่ประเมินความเสี่ยงจากประวัติการเงินของคุณ ก่อนที่จะอนุมัติสินเชื่อ หรือบัตรต่างๆ เพราะคงไม่มีเจ้าหนี้คนไหน อยากให้ลูกหนี้ที่มีประวัติจ่ายหนี้ยังไม่ครบ มายืมเงินอย่างแน่นอน
ติดแบล็คลิสต์ไปแล้ว ทำยังไงดี ?
ถึงแม้ว่าในความจริงแล้ว แบล็คลิสต์ของข้อมูลเครดิตแห่งชาตินั้นไม่มีจริง แต่การที่คุณผิดนัดชำระ หรือค้างชำระ จะมีการบันทึกรายงานในข้อมูลเครดิต และระบบจะทำการสรุปรายงานทุกๆ เดือน หากคุณไม่สามารถชำระหนี้ได้ รายงานข้อมูลเครดิตก็จะมีความผิดปกติติดค้างไว้ที่ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ ซึ่งจะส่งผลเสียเมื่อคุณต้องไปติดต่อทำบัตรเครดิต กู้ยืม ขอสินเชื่อ ได้ การที่เราจะหลุดจากสถานะเครดิตที่ไม่ดีเหล่านั้น หรือหลุดพ้นจากภาษาชินปากว่า แบล็คลิสต์ สามารถทำได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่คุณชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นไปเสียก่อนก็เพียงพอแล้ว และเมื่อคุณชำระหนี้สินครบตามจำนวนเรียบร้อย ทางสถาบันการเงินจะทำการส่งรายงานกลับไปที่ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ และทางนั้นจะทำการถอนสถานะทางการเงินที่ผิดปกติของคุณออก การผิดนัดชำระ ไม่ชำระหนี้ หรือชำระล่าช้ามากเกินไป จะมีการบันทึกในช่วง 60 วัน ถ้าคุณไม่สามารถผ่อนจ่ายชำระหนี้ได้ เจ้าหนี้จะให้โอกาสคุณในการปรับโครงสร้างการชำระหนี้ (ให้ระยะเวลาเพิ่ม หรือลดเงินต้นลง) รวมถึงจัดระเบียบการผ่อนชำระใหม่ (ขั้นอยู่กับการชำระ จำนวนเงินต้น และกฎของแต่ละสถาบันการเงิน) แต่ถ้าคุณไม่มีความสามารถใดๆ เลย ที่จะชำระหนี้ ทางเจ้าหนี้จะออกเอกสารทวงถาม และเข้าสู่การฟ้องร้องในศาล ในส่วนนี้จะส่งผลเสีย เพราะเมื่อถูกรายงานในข้อมูลเครดิตว่ามีความผิดปกติอย่างมาก ก็อาจทำให้ในอนาคตคุณไม่สามารถขอสินเชื่อใดๆ ได้อีก โดยปรกติแล้ว บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติจะเก็บข้อมูลในระบบไว้ 3 ปี หลังจากนั้นคุณสามารถขอสินเชื่อใหม่ได้ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของธนาคารหรือสถาบันการเงินอยู่ดีดังนั้น หากไม่อยากมีปัญหา เราขอแนะนำให้คุณใช้หนี้ให้หมดเสียก่อน แล้วเริ่มสร้างความมั่นคงการเงินใหม่ คุณก็จะมีรายงานข้อมูลเครดิตที่ดี และสามารถทำธุรกรรมต่อได้อย่างปกติเหมือนเดิม แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้เงินจริงๆ ให้ลองพิจารณาดูสถาบันการเงินต่างๆ หรือสินเชื่อต่างๆ ที่ไม่ตรวจ หรือจำเป็นต้องใช้เครดิตบูโร

แบบนี้ต้องทำยังไง ถ้าอยากได้ประวัติดีๆ ในเครดิตบูโร?
• อย่าใช้จ่ายเกินตัว พยายามให้เกิดหนี้น้อยที่สุด หรือหากมีหนี้ คุณต้องมั่นใจว่า มีกำลังเพียงพอที่จะชำระหนี้ก้อนนี้
• ไม่ควรมีภาระหนี้ที่ต้องจ่ายต่อเดือนสูงเกินไป เพราะสุ่มเสี่ยงต่อการหมุนเงินจ่ายหนี้ไม่ทัน
• ควรมีบัตรเครดิตเท่าที่เพียงพอต่อความจำเป็น และควรปิดบัญชีบัตรเครดิตที่ไม่ใช้แล้ว เพราะหากมีมาก แนวโน้มการก่อหนี้ก็จะมีมากขึ้น
• ควรชำระหนี้ทุกรายการตามใบแจ้งหนี้จากเจ้าหนี้ให้ครบถ้วน ตรงต่อเวลา อย่างน้อยที่สุดก็ขั้นต่ำตามที่กำหนด เพื่อให้ยังมีเครดิตที่ดีอยู่
• หากชำระไม่ทันตามเวลา ควรรีบติดต่อกับสถาบันผู้ออกบัตรทันที และควรดำเนินการเป็นลายลักษณ์อักษร
หลายคนอาจจะตกใจกลัวเรื่องเครดิตบูโรกันอยู่ไม่น้อย แต่เมื่อรู้แบบนี้ ก็สามารถสบายใจได้เลย ถ้าคุณมีระเบียบวินัยในการใช้จ่ายเงิน ประวัติการเงินในเครดิตบูโรดีนั้น ย่อมส่งผลต่อการขอสินเชื่อ ทำบัตรเครดิต ของคุณได้อย่างแน่นอน!