เตือนผู้บริโภคศึกษาค่าใช้จ่ายส่วนกลาง-เงินค่ากองทุนก่อนซื้อห้องชุด

เตือนผู้บริโภคศึกษาค่าใช้จ่ายส่วนกลาง-เงินค่ากองทุนก่อนซื้อห้องชุด

#สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ #อยู่ต่างประเทศซื้อบ้านในไทย #สินเชื่อสำหรับคนไทยในต่างประเทศ #คนไทยในต่างแดน #ซื้อบ้านในไทย #อยู่ต่างประเทศซื้อบ้านในไทย #สินเชื่อคนไทยในต่างแดน #สินเชื่อซื้อบ้านสำหรับคนไทยในต่างแดน #ทำงานต่างประเทศ #อยู่ต่างประเทศ
นายธนันทร์เอก หวานฉ่ำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเตอร์ เรียลตี้แมเนจเม้นท์ จำกัด (IRM) เปิดเผยว่า ที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียมในปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากการตอบรับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคได้อย่างลงตัว โดยเฉพาะแนวรถไฟฟ้ามีคอนโดมิเนียมเกิดใหม่เป็นจำนวนมากซึ่งในจำนวนเหล่านี้มีทั้งที่ขายได้หมดแล้วและขายได้เพียงบางส่วน เช่น ขายได้เพียง 20% และอีก 80% เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ประกอบการ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาเรื่องการจัดเก็บค่าใช้จ่ายที่อาจทำให้ผู้บริโภคเสียเปรียบหากไม่ทราบว่าต้องรู้อะไรบ้างเมื่อตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียม โดยเฉพาะเรื่องค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการบริการจัดการภายในอาคาร
สำหรับค่าใช้จ่ายส่วนแรกที่ผู้ซื้อคอนโดมิเนียมจะต้องเตรียมก็คือ เงินกองทุน ซึ่งกฎหมายระบุว่าเงินกองทุนมีไว้เพื่อซ่อมแซมส่วนกลาง โดยเฉพาะการบำรุงรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น ซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ลิฟต์โดยสาร หรือการทาสีใหม่ทั้งอาคาร เงินกองทุนนี้จะเก็บประมาณ 10 เท่าของค่าส่วนกลาง เช่น หากต้องจ่ายค่าส่วนกลางในอัตรา 50 ต่อตารางเมตร ผู้อยู่อาศัยจะต้องจ่ายค่ากองทุน 500 ต่อตารางเมตร ซึ่งต้องจ่ายนอกเหนือจากราคาห้องที่ซื้อ เช่น ซื้อคอนโดฯ ขนาด 40 ตารางเมตร จะต้องจ่ายค่ากองทุนจำนวน 20,000 บาท (40×500) ผู้ซื้อคอนโดฯ จะต้องเตรียมเงินส่วนนี้ไว้โดยทางผู้ขายจะชี้แจงเรื่องนี้อยู่แล้ว
นอกจากนี้แล้วยังต้องมีค่าส่วนกลางซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายและค่าบริการต่างๆ ประจำเดือน เช่น เงินเดือนพนักงาน แม่บ้าน ธุรการ รวมทั้งรายจ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษาส่วนกลางของอาคาร ปกติแล้วค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะมีการเก็บล่วงหน้า 1-2 ปี ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละอาคาร สำหรับค่าส่วนกลางนั้นคำนวณจากพื้นที่ห้องแล้วคูณด้วยอัตราค่าจัดเก็บ เช่น พื้นที่ 40 ตารางเมตร ค่าส่วนกลางตารางเมตรละ 50 บาท (40x50x12= 24,000 บาท)
ทั้งนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการจัดเก็บค่าส่วนกลางที่ผ่านมาว่า ไม่สามารถเก็บจากห้องที่ยังไม่ได้ขายได้ซึ่งอาจมีมากถึง 80%ของจำนวนห้องทั้งหมด ซึ่งตามกฎหมายระบุว่าหลังจากที่จดทะเบียนนิติบุคคลแล้ว ห้องที่ยังขายไม่หมดผู้ประกอบการในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์จะต้องรับผิดชอบค่าส่วนกลาง แต่ส่วนใหญ่มักบ่ายเบี่ยงหรือมีการอนุโลมขอจ่ายเป็นรายเดือนได้ 1 ปี หลังจากนั้นจะต้องจ่ายทั้งหมดเข้าบัญชีของนิติบุคคล หรือให้นิติบุคคลคิดเบี้ยปรับการชำระค่าส่วนกลางล่าช้า ส่วนเงินกองทุนนั้นจะจ่ายเมื่อโอนกรรมสิทธิ์ได้แล้ว ซึ่งปัญหานี้ผู้ซื้อคอนโดมิเนียมส่วนใหญ่ไม่ทราบข้อมูลทำให้เสียเปรียบและเสียโอกาสที่จะได้รับดอกเบี้ยจากธนาคารเนื่องจากในช่วงแรกผู้ประกอบการมักใช้บริษัทในเครือทำหน้าที่บริหารทรัพย์สินของอาคาร ดังนั้น ผู้บริโภคควรศึกษาข้อมูลเพื่อป้องกันมิให้เสียสิทธิ์ในการอยู่อาศัยในอาคารชุด