มติครม.ปรับเกณฑ์เงื่อนไขบ้านประชารัฐ

มติครม.ปรับเกณฑ์เงื่อนไขบ้านประชารัฐ

#สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ #อยู่ต่างประเทศซื้อบ้านในไทย #สินเชื่อสำหรับคนไทยในต่างประเทศ #คนไทยในต่างแดน #ซื้อบ้านในไทย #อยู่ต่างประเทศซื้อบ้านในไทย #สินเชื่อคนไทยในต่างแดน #สินเชื่อซื้อบ้านสำหรับคนไทยในต่างแดน #ทำงานต่างประเทศ #อยู่ต่างประเทศ
ครม.ไฟเขียว ปรับเกณฑ์เงื่อนไขโครงการบ้านประชารัฐ-บ้านธนารักษ์ประชารัฐ หนุนให้ผู้มีรายได้น้อยมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองได้ง่ายขึ้น ด้านสมาคมสมาคมไทยรับสร้างบ้านเผยผลดีต่อตลาดโดยเฉพาะภูมิภาค ชี้โอกาสกลุ่มราคา 1.5 ล้านบาทโตอีกหมื่นล้าน
พลตรี วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการดำเนินโครงการบ้านประชารัฐและโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐรวมทั้งการปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของทั้ง 2 โครงการ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยสาระสำคัญของการปรับปรุงหลักเกณฑ์ฯมีดังนี้
โครงการบ้านประชารัฐ ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่ปัจจุบันไม่มีที่อยู่อาศัยและมีความต้องการขอสินเชื่อเพื่อซื้อหรือปลูกสร้างที่อยู่อาศัยสามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ในระบบได้สะดวกขึ้น ทั้งนี้ขอยกเลิกการกำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการฯจากที่กำหนดว่า “ไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยมาก่อน” เป็น “ปัจจุบันไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย” เนื่องจากบางกรณีผู้ขอกู้เคยมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยมาก่อนแต่ปัจจุบันไม่มีแล้ว
นอกจากนี้ขอแก้ไขเงื่อนไขของมาตรการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (Post Finance)กรณีการกู้เพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัย วงเงินสินเชื่อไม่เกิน 1.5 ล้านบาทต่อหน่วย จากที่กำหนดให้รวมราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างด้วย เป็น ไม่ต้องนำราคาประเมินที่ดินมารวมพิจารณาด้วย เนื่องจากหากนำราคาประเมินที่ดินมาพิจารณาร่วมด้วย ผู้กู้จะไม่สามารถขอสินเชื่อเพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัยได้ตามวงเงินที่ต้องการก่อสร้างจริง ทั้งนี้ ให้รวมถึงการกู้เพื่อปลูกสร้างทดแทนที่อยู่อาศัยเดิมด้วย
ส่วนโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐนั้นโครงการเช่าระยะสั้น (Rental) ขอแก้ไข จาก “เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยมาก่อนและมีรายได้ไม่เกิน 20,000 บาทต่อเดือนในวันที่ยื่นจองสิทธิ เป็น “เจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีรายได้ไม่เกิน 20,000 บาทต่อเดือนในวันที่ยื่นจองสิทธิ”
สำหรับโครงการเช่าระยะยาว (Leasehold)จาก “เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนที่ไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยมากก่อน” เป็น “เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนที่ปัจจุบันไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย”
ทั้งนี้ได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังดำเนินการ ดังนี้ ให้กระทรวงการคลัง โดยธนาคารอาคารสงเคราะห์และธนาคารออมสินพิจารณาการให้สินเชื่อสำหรับโครงการเช่าระยะสั้น (Rental) ในโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐอย่างรอบครอบ โดยคำนึงถึงการให้สิทธิแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยเป็นลำดับแรกก่อนและสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่เข้าร่วมโครงการบ้านประชารัฐและโครงการบ้าน ธนารักษ์ประชารัฐ เร่งรัดประชาสัมพันธ์โครงการให้กลุ่มเป้าหมายได้รับทราบถึงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขใหม่ที่ผ่อนปรนขึ้นเพื่อดึงดูดให้กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการมากยิ่งขึ้น รวมทั้งให้หามาตรการเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมการปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการในมาตรการสินเชื่อเพื่อพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย (Pre Finance) เพื่อดึงดูดให้ผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการฯ เพิ่มขึ้นด้วย
ด้านนาย สิทธิพร สุวรรณสุต นายกสมาคมไทยรับสร้างบ้าน กล่าวว่า การปรับเงื่อนไขของมาตรการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย กรณีการกู้เพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัยวงเงินสินเชื่อไม่เกิน1.5 ล้านบาท โดยไม่ต้องนำราคาประเมินที่ดินมารวมพิจารณาด้วย นั้น มองว่า ปัจจุบันมูลค่าตลาดสร้างบ้านเองโดยรวมอยู่ที่ประมาณ 8 หมื่นล้านบาท แบ่งสัดส่วนเป็นกทม.อยู่ที่60% หรือประมาณ 5 หมื่นล้านบาท และภูมิภาค 40% ประมาณ 3หมื่นล้านบาทซึ่งสัดส่วนของภูมิภาค บ้านระดับราคา 1.5 ล้านบาทมีถึง 70-80% เป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด ส่วนกทม.ไม่มีผลเท่าไหร่เพราะราคาที่ดินแพงหาที่ดินยาก ดังนั้นประโยชน์จะตกที่ผู้สร้างบ้านในภูมิภาคมากสุด
หลักเกณฑ์ดังกล่าวจะช่วยผลักดันให้ตลาดกลุ่ม1.5 ล้านบาทเติบโต เนื่องจากผู้ที่จะสร้างบ้านซึ่งส่วนใหญ่มีที่ดินเป็นของตัวเองจะสามารถขอสินเชื่อได้ง่ายขึ้น ขณะเดียวกันผู้ประกอบการรับสร้างบ้านในภูมิภาคจะได้รับอานิสงส์ ทั้งนี้เชื่อว่าตลาดจะกลับมาคึกคักโดยจะเห็นภาพชัดเจนตั้งแต่ไตรมาส2เป็นต้นไป และจะทำให้สัดส่วนตลาดสร้างบ้านเองในกทม.และภูมิภาคปรับสัดส่วนอยู่ที่ 50:50 และคาดว่าบ้านระดับราคา 1.5 ล้านบาทจะโตขึ้นอีกประมาณ 1หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ในส่วนของสมาคมฯมองเห็นถึงโอกาสเพราะป็นตลาดใหญ่อีกทั้งสมาคมฯมีสมาชิกในหลายพื้นที่อาจขยับมาจับตลาดในกลุ่มนี้มากขึ้น