เพิ่มสิทธิผู้ประกันตนใหม่ ลูกจ้างอิสระนอกระบบควรรู้!

เพิ่มสิทธิผู้ประกันตนใหม่ ลูกจ้างอิสระนอกระบบควรรู้!

#สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ #อยู่ต่างประเทศซื้อบ้านในไทย #สินเชื่อสำหรับคนไทยในต่างประเทศ #คนไทยในต่างแดน #ซื้อบ้านในไทย #อยู่ต่างประเทศซื้อบ้านในไทย #สินเชื่อคนไทยในต่างแดน #สินเชื่อซื้อบ้านสำหรับคนไทยในต่างแดน #ทำงานต่างประเทศ #อยู่ต่างประเทศ
หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบเพิ่มสิทธิ ผู้ประกันตน ม.40 ช่วยเหลือแรงงานนอกระบบ เพื่อให้ครอบคลุม 21 ล้านคน วงเงิน 3,000 ล้านบาท โดยได้ร่างกฎหมาย 3 ฉบับ เพื่อปรับปรุงพัฒนาสิทธิประโยชน์ให้กับแรงงานนอกระบบตามมาตรา 40 เพิ่มเติมทางเลือกใหม่ เพื่อเป็นการออมในระยะยาว และเป็นของขวัญวันแรงงานแห่งชาติในปีนี้ ถือเป็นนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการลดความเหลื่อมล้ำ สอดคล้องกับการทำงานของ ป.ย.ป. โดยสนับสนุนให้ลูกจ้างเข้าถึงระบบประกันสังคม
สำหรับร่างกฎหมายทั้ง 3 ฉบับ ประกอบด้วย
1. ร่าง พ.ร.ฎ.กำหนดคุณสมบัติของบุคคลซึ่งอาจสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. … เพื่อกำหนดคุณสมบัติของบุคคลซึ่งอาจสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40
เพิ่มเติมคุณสมบัติของบุคคล
– กรณีมิใช่ ลูกจ้างที่จะสมัครเป็นผู้ประกันตน จากเดิมกำหนดไว้เพียง “มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์”
– สัญชาติไทย หรือเป็นชนกลุ่มน้อยที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย
ทั้งนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรีผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศเป็นการชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ หรือเป็นบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนที่ได้รับการผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับ มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ และไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (ลูกจ้างที่เคยเป็นผู้ประกันตน) และไม่เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญของข้าราชการ ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการส่วนท้องถิ่นหรือของรัฐวิสาหกิจ
2. ร่างพ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทน พ.ศ. ….
กำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทน โดยได้แก้ไขอัตราเงินสมทบที่ผู้ประกันตนต้องจ่ายเข้ากองทุน โดยการจ่ายเงินสมทบในอัตราเดือนละ 70 บาท (เดิมเดือนละ 100 บาท) จะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ และกรณีตาย หากจ่ายเงินสมทบเป็นอัตราเดือนละ 100 บาท (เดิมเดือนละ 150 บาท) จะครอบคลุมกรณีชราภาพ ด้วย และได้เพิ่มสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ทดแทนเป็นประเภทที่ 3 โดยหากจ่ายเงินสมทบในอัตราเดือนละ 300 บาท จะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรด้วย
นอกจากนี้ยังแก้ไขอัตราเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากวันละ 200 บาท เป็นวันละ 300 บาท ปีละไม่เกิน 30 วัน เว้นแต่เป็นผู้ประกันตน (ประเภทที่ 3) จะมีสิทธิปีละไม่เกิน 90 วัน และเพิ่มสิทธิการได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้แม้จะมิใช่เป็นผู้ป่วยใน แต่ให้ได้รับในอัตราวันละ 200 บาท ปีละไม่เกิน 30 วัน รวมทั้งยังได้เพิ่มสิทธิการได้รับประโยชน์ทดแทนการขาดรายได้ เงินสงเคราะห์บุตรและเงินค่าทำศพ ให้สอดคล้องกับการเพิ่มสิทธิของประโยชน์ทดแทนประเภทที่ 3
3. ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาลจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมสำหรับบุคคลซึ่งสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. … เพื่อกำหนดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาลต้องจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมสำหรับบุคคลซึ่งสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน เป็นการกำหนดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาลต้องจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม โดยมีอัตราที่แตกต่างกันตามประเภทประโยชน์ทดแทน ซึ่งไม่เกินกึ่งหนึ่งที่ผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม
อย่างไรก็ดี ปัจจุบันผู้ประกันตนสามารถจ่ายเงินผ่านได้เคาน์เตอร์เซอร์วิสในร้านสะดวกซื้อ, ห้างสรรพสินค้า และธนาคารพาณิชย์ และในอนาคตจะขยายไปยังตู้เติมเงินด้วย