ทบทวนกันอีกที ซื้อที่อยู่อาศัยหักลดหย่อนอะไรได้บ้าง

ทบทวนกันอีกที ซื้อที่อยู่อาศัยหักลดหย่อนอะไรได้บ้าง

#สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ #อยู่ต่างประเทศซื้อบ้านในไทย #สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างแดน #อยู่ต่างประเทศอยากซื้อบ้านในไทย
อีกนิดเดียวก็จะปลายปีกันอีกแล้ว พอถึงปลายปีกันเมื่อไหร่ หลายคนก็เริ่มวางแผนภาษีประจำปี 2560 หาซื้อประกัน หาซื้อ LTF หรือ RMF ซึ่งใช้ทั้งการลงทุนด้วย และการลดหย่อนภาษีด้วย แต่สำหรับคนที่กำลังผ่อนที่อยู่อาศัยอยู่นั้น ก็มีสิทธิ์ในการหักลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน ลองมาดูกันว่า ในปีภาษี 2560 นั้น คนมีที่อยู่อาศัยหักลดหย่อนอะไรได้บ้าง
ก่อนจะไปถึงเรื่องของการหักลดหย่อนภาษีจากที่อยู่อาศัยนั้น ลองมาดูกันก่อนดีกว่าว่า LTF และ RMF สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้อย่างไร
1. ลดหย่อนและยกเว้น สำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อการมีที่อยู่อาศัย
รายการหักลดหย่อนนี้ ประกาศใช้มานานแล้ว และคนที่ “กู้” ซื้อที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะซื้อในปีไหน ก็ได้สิทธิ์หักลดหย่อนในรายการนี้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
– ผู้มีเงินได้กู้ยืมคนเดียว ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท (หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท ได้รับยกเว้นไม่เกิน 90,000 บาท)
– ผู้มีเงินได้หลายคนร่วมกันกู้ยืม ตามส่วนจำนวนผู้กู้ร่วม แต่รวมกันต้องไม่เกินจำนวนที่จ่ายจริงและไม่เกิน100,000 บาท เช่น ดอกเบี้ยเงินกู้ในปีนั้น อยู่ที่ 90,000 บาท กู้ทั้งหมด 3 คน ก็สามารถนำไปหักได้ไม่เกินคนละ 30,000 บาท เป็นต้น
หมายเหตุ: เอกสารสำหรับรายการหักลดหย่อนนี้ ทางธนาคารที่เรากู้ยืมเงินจะเป็นผู้ส่งมาให้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะส่งมาให้ไม่เกินเดือน ม.ค. ของทุกปี ซึ่งถ้าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์รายใดต้องการยื่นภาษีเร็ว อาจจะติดต่อขอทราบยอดดอกเบี้ยเงินกู้ที่จ่ายไปแล้วในปีภาษีนั้นๆ ก่อนได้

2. ยกเว้นเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมบ้านที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ที่เกิดขึ้นในระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2559 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2560
รายการหักลดหย่อนนี้ เป็นรายการเฉพาะ ไม่ได้มีทุกปี โดยหากเจ้าของที่อยู่อาศัย จะติดภาระอยู่ หรือปลอดภาระแล้วก็ตาม หากมีรายการจ่ายค่าซ่อมแซมบ้านที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ก็มีสิทธิ์หักลดหย่อนในรายการนี้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
– ตามจำนวนที่จ่ายจริงเป็นค่าซ่อมแซมบ้าน แต่รวมกันต้องไม่เกิน 100,000 บาทสำหรับการใช้สิทธิในปีภาษี 2559 และปีภาษี 2560
หมายเหตุ:เจ้าของที่อยู่อาศัย ควรมีหลักฐานในการจ่ายค่าซ่อมแซมบ้านเก็บไว้ด้วย เผื่อกรณีที่ทางสรรพากรขอหลักฐานเพิ่มเติมในภายหลัง
ทั้งนี้มาดูกันว่า ธอส.มีมาตรการช่วยเหลือผู้ที่จำเป็นต้องซ่อมบ้านจากเหตุการณ์อุทกภัยอย่างไร
3. ยกเว้นเงินได้จากการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุดนั้น
รายการหักลดหย่อนนี้ ก็เป็นรายการพิเศษอีกเช่นกัน โดยเป็นโครงการสนับสนุนคนมี “บ้านหลังแรก”
ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตั้งแต่เมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2559 ที่เห็นชอบมาตรการกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์สำหรับผู้ซื้อที่อยู่อาศัยไม่เกิน 3 ล้านบาท มีสาระดังนี้
1. ผู้มีเงินได้สามารถนำเอา 20% ของราคาอสังหาริมทรัพย์ ไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้เป็นเวลา 5 ปี (ก็คือ 3 ล้านบาท คูณ 20% แล้วก็หาร 5 ก็จะเป็นจำนวนเงินลดหย่อนที่ใช้ได้ในแต่ละปี)
2.ผู้มีเงินได้ต้องจ่ายค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ตามข้อ 1 ในระหว่างวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 และมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นให้แล้วเสร็จภายในช่วงเวลาดังกล่าว โดยผู้มีเงินได้ต้องไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดินหรือห้องชุดในอาคารชุดมาก่อน
3. ผู้มีเงินได้ต้องถือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันที่จดทะเบียนโอน แต่ไม่รวมถึงกรณีผู้มีเงินได้ถึงแก่ความตายหรือกรณีอสังหาริมทรัพย์นั้นสิ้นสภาพไปทั้งหมด
จากประกาศดังกล่าว ก็ขอสรุปเป็นข้อมูลที่ใช้ในทางภาษี ดังนี้
สิทธิ์ในการหักลดหย่อนตามจำนวนที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ ที่มีมูลค่าไม่เกิน 3,000,000 บาท แต่ไม่เกินร้อยละ 20 ของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุดนั้นเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตนซึ่งได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในระหว่างวันที่ 13 ต.ค. 2558 ถึง 31 ธ.ค. 2559 ทั้งนี้ ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เป็นเวลา 5 ปีภาษีต่อเนื่องกันนับแต่ปีภาษีที่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ โดยให้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจำนวนเท่าๆ กันในแต่ละปี 3 รายการหลักๆ ในการหักลดหย่อนภาษีประจำปี 2560 ของคนที่มีที่อยู่อาศัยในครอบครอง ใครเข้าข่ายรายการไหน ก็รับสิทธิ์ตามรายการนั้นได้เลย