จับสัญญาณ “โอเวอร์ซัพพลาย” ตลาดคอนโดฯ ในกรุงเทพฯ

จับสัญญาณ “โอเวอร์ซัพพลาย” ตลาดคอนโดฯ ในกรุงเทพฯ

#สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ #อยู่ต่างประเทศซื้อบ้านในไทย #สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างแดน #อยู่ต่างประเทศอยากซื้อบ้านในไทย

แม้ในช่วงต้นปี เศรษฐกิจของประเทศจะส่อแววสดใส ทั้งด้านการส่งออกและการท่องเที่ยว จนทำให้มีการคาดการณ์ว่าตลาดอสังหาฯ จะกระเตื้องตาม แต่ในทางกลับกันยังมีความน่ากังวลซ้อนอยู่ เมื่อพบว่าปริมาณซัพพลายคอนโดฯ นั้นเพิ่มสูงขึ้น จนทำให้มีความกังวลว่าจะเกิดโอเวอรซัพพลาย
ระดับซัพพลายคอนโดฯ โซน CBD
ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าคอนโดฯ เกิดใหม่ในกรุงเทพฯ ค่อนข้างเยอะ โดยเฉพาะในโซนที่อยู่ในแนวรถไฟฟ้าทั้งที่เปิดให้บริการแล้ว และอยู่ในช่วงของการเร่งก่อสร้าง ทั้งนี้ยังรวมไปถึงย่านศูนย์กลางเศรษฐกิจที่สำคัญของกรุงเทพฯ อย่างโซน CBD เนื่องจากผู้ประกอบการอสังหาฯ ต่างมองเห็นศักยภาพทำเลและความต้องการของผู้ซื้อในกลุ่มคนทำงาน ชาวต่างชาติ หรือแม้แต่นักลงทุนที่สนใจระดับ Rental Yield
ทั้งนี้ดูเหมือนการเปิดตัวโครงการใหม่ของผู้ประกอบการอสังหาฯ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 61 จะสวนทางกับความต้องการของผู้บริโภค เมื่อรายงานดัชนีอสังหาริมทรัพย์ DDproperty Property Index ฉบับล่าสุดพบว่าดัชนีของซัพพลายที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 11% โดยประเภทอสังหาฯ อย่างคอนโดฯ ยังครองแชมป์มีปริมาณ Supply สูงสุด ขึ้นเป็น 89% ของซัพพลายทั้งหมด ซึ่งเมื่อมีการค้นต้นสายปลายเหตุ ทำให้เห็นถึงแนวโน้มกำลังซื้อของผู้บริโภคนั่นค่อนข้างทรงตัว ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะปัจจัยจากภาวะหนี้ครัวเรือน ที่แม้สถานการณ์ดูเหมือนจะดีขึ้น แต่ถือว่ายังมีอัตราสูงอยู่ เหตุนี้จึงทำให้ผู้บริโภคบางกลุ่มตัดสินใจเลื่อนการซื้อออกไป จนทำให้เหล่านักวิเคราะห์เกิดความกังวลต่อตลาดคอนโดฯ ว่าจะส่อแววล้นตลาดหรือไม่ โดยเฉพาะในย่าน CBD

ไฮไลท์…
– คอนโดฯ ยังครองแชมป์ Supply สูงสุด คิดเป็น 89% ของซัพพลายทั้งหมด
– เขตวัฒนา มีสัดส่วนซัพพลายคอนโดฯ มากสุด
– การแข่งขันจัดโปรโมชั่นของผู้ประกอบการ ช่วยผยุงไม่ให้เกิดโอเวอร์ซัพพลาย
[สกู๊ปพิเศษ] แม้ในช่วงต้นปี เศรษฐกิจของประเทศจะส่อแววสดใส ทั้งด้านการส่งออกและการท่องเที่ยว จนทำให้มีการคาดการณ์ว่าตลาดอสังหาฯ จะกระเตื้องตาม แต่ในทางกลับกันยังมีความน่ากังวลซ้อนอยู่ เมื่อพบว่าปริมาณซัพพลายคอนโดฯ นั้นเพิ่มสูงขึ้น จนทำให้มีความกังวลว่าจะเกิดโอเวอรซัพพลาย
ระดับซัพพลายคอนโดฯ โซน CBD
ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าคอนโดฯ เกิดใหม่ในกรุงเทพฯ ค่อนข้างเยอะ โดยเฉพาะในโซนที่อยู่ในแนวรถไฟฟ้าทั้งที่เปิดให้บริการแล้ว และอยู่ในช่วงของการเร่งก่อสร้าง ทั้งนี้ยังรวมไปถึงย่านศูนย์กลางเศรษฐกิจที่สำคัญของกรุงเทพฯ อย่างโซน CBD เนื่องจากผู้ประกอบการอสังหาฯ ต่างมองเห็นศักยภาพทำเลและความต้องการของผู้ซื้อในกลุ่มคนทำงาน ชาวต่างชาติ หรือแม้แต่นักลงทุนที่สนใจระดับ Rental Yield
ทั้งนี้ดูเหมือนการเปิดตัวโครงการใหม่ของผู้ประกอบการอสังหาฯ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 61 จะสวนทางกับความต้องการของผู้บริโภค เมื่อรายงานดัชนีอสังหาริมทรัพย์ DDproperty Property Index ฉบับล่าสุดพบว่าดัชนีของซัพพลายที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 11% โดยประเภทอสังหาฯ อย่างคอนโดฯ ยังครองแชมป์มีปริมาณ Supply สูงสุด ขึ้นเป็น 89% ของซัพพลายทั้งหมด ซึ่งเมื่อมีการค้นต้นสายปลายเหตุ ทำให้เห็นถึงแนวโน้มกำลังซื้อของผู้บริโภคนั่นค่อนข้างทรงตัว ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะปัจจัยจากภาวะหนี้ครัวเรือน ที่แม้สถานการณ์ดูเหมือนจะดีขึ้น แต่ถือว่ายังมีอัตราสูงอยู่ เหตุนี้จึงทำให้ผู้บริโภคบางกลุ่มตัดสินใจเลื่อนการซื้อออกไป จนทำให้เหล่านักวิเคราะห์เกิดความกังวลต่อตลาดคอนโดฯ ว่าจะส่อแววล้นตลาดหรือไม่ โดยเฉพาะในย่าน CBD
ส่องทำเลที่มีแนวโน้ม คอนโดฯ ซัพพลายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สำหรับทำเลที่มีแนวโน้มซัพพลายของคอนโดฯ เพิ่มมากขึ้น ยังคงเป็นในโซน CBD โดยในไตรมาสแรกของปี 61 เป็นเขตวัฒนา โดยคิดเป็น 23% ของสัดส่วนซัพพลายคอนโดฯ ทั้งหมด ทั้งนี้คาดว่าน่าจะมาจากปัจจัยการชะลอการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค รวมไปถึงเรื่องของราคาที่ดิน อันเป็นเหตุให้ราคาคอนโดฯ นั้นปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก
นอกจากนี้ยังมีทำเลที่แม้ไม่อยู่ในโซน CBD แต่ต้องเผชิญกับซัพลลายที่เพิ่มขึ้น นั่นคือ เขตคลองเตย มีสัดส่วนซัพพลาย 15% รองลงมาคือ เขตราชเทวี คิดเป็น 5% โดยทั้งสองเขตเป็นย่านที่เป็นแหล่งรวมของแหล่งงานที่สำคัญ ดังนั้นจึงคาดว่าส่วนหนึ่งของปัจจัยที่ทำให้มีแนวโน้มซัพพลายเพิ่มขึ้น น่าจะมาจากการเปิดตัวโครงการใหม่ค่อนข้างมากในช่วงเดือนมีนาคม ขณะที่อัตราการดูดซับซัพพลายยังไม่สอดคล้องตาม
ประกอบกับในช่วงโค้งแรกของปี 2561 มักพบรูปแบบการพัฒนาอสังหาฯ ในลักษณะมิกซ์ยูส (Mixed-use) ค่อนข้างมาก โดยรูปแบบของโครงการประเภทนี้ จะประกอบไปด้วยส่วนของยูนิตที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน และส่วนของรีเทล ซึ่งแน่นอนว่าเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับผู้ประกอบการ นอกเหนือจากการขายห้องชุด อีกทั้งยังเป็นการแก้ปัญหาเรื่องราคาที่ดินในเมืองที่สูงขึ้นและหามาพัฒนาต่อได้ยาก แต่ขณะเดียวกันรูปแบบโครงการในลักษณะนี้ จะเป็นที่นิยมของนักลงทุนมากกว่าการซื้อเพื่ออยู่เองของผู้บริโภค
โครงการใหม่เยอะ แต่ยังไม่ “โอเวอร์ซัพพลาย” แถมเป็นโอกาสทองของผู้ซื้ออีกด้วย
ทั้งนี้ด้วยระดับซัพพลายของคอนโดฯ ที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของปี 2561 จึงทำให้หลายคนเกิดความกังวลต่อภาวะตลาดอสังหาฯ ว่าจะเกิดปรากฎการณ์โอเวอร์ซัพพลายหรือไม่ ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงการกระตุ้นพฤติกรรมการซื้อจากผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นการนำเทคโนโลยี Prop Tech มาใช้ในโครงการอสังหาฯ หรือการรองรับสังคมไร้เงินสด จึงทำให้ช่วยเร่งเร้าผู้บริโภคในการตัดใจซื้อไม่มากก็น้อย
ประกอบกับแผนกลยุทธ์ของผู้ประกอบการอสังหาฯ ต่างมุ่งเน้นไปที่กลุ่มผู้บริโภคระดับบน เนื่องจากมีกำลังซื้อและตัดสินใจได้รวดเร็วกว่า ดังนั้นภาวะของการเกิดโอเวอร์ซัพพลาย อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจประเทศเกิดฟองสบู่ นั่นคงจะเป็นไปไม่ได้
อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงการเกิดโครงการใหม่ค่อนข้างเยอะในตลาดอสังหาฯ ประกอบกับผู้ประกอบการต่างแข่งขันกันจัดโปรโมชั่น เพื่อกระตุ้นการซื้อ ท่ามกลางภาวะที่สถาบันการเงินต่างตึงดอกเบี้นสินเชื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งถือได้ว่าเป็นโอกาสทองของผู้ซื้อเลยก็ว่าได้ เพราะทั้งมีตัวเลือกเยอะ และอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับต่ำ ก่อนที่ในอนาคตจะมีเหตุให้ปรับขึ้น