#สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ #อยู่ต่างประเทศซื้อบ้านในไทย #สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างแดน #อยู่ต่างประเทศอยากซื้อบ้านในไทย
โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงมีความคืบหน้า รฟท. ยืนยันเดินหน้าก่อสร้าง แก้ปัญหาบางจุดให้เสร็จสิ้น ก่อนเปิดให้บริการภายในเดือนตุลาคม 2563 จากกำหนดเดิมต้องให้บริการได้ในเดือนมิถุนายน 2563
นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26.3 กม. ว่าขณะนี้โครงการดังกล่าวได้มีความคืบหน้าในภาพรวมอย่างมาก แม้จะติดขัดปัญหาในการก่อสร้างบางช่วงที่ขณะนี้ยังไม่สามารถเข้าพื้นที่ก่อสร้างทางเดินยกระดับลอยฟ้า (สกายวอลก์) ในบางสถานีของสัญญา 2 รวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงระบบอาณัติสัญญาณในสัญญา 3 ก็ตาม แต่ภาพรวมโครงการยืนยันว่าจะต้องเปิดให้บริการได้ภายในเดือนตุลาคม 2563 แน่นอน จากกำหนดเดิมต้องให้บริการได้ในเดือนมิถุนายน 2563 อย่างไรก็ตามทางรถไฟจะรวบรวมปัญหาทั้งหมด ทั้งเรื่องการก่อสร้าง การเข้าพื้นที่ไม่ได้ รวบรวมเสนอให้คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. ที่มีนายกุลิศ สมบัติศิริ เป็นประธานพิจารณา ก่อนที่จะเสนอให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการต่อไป
สัญญาโครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง
สัญญาที่ 1 งานสถานีกลางบางซื่อ และศูนย์ซ่อมบำรุง เริ่มงานก่อสร้างเมื่อ 4 มี.ค. 56 จนถึงปัจจุบัน โดยมีกลุ่มกิจการร่วมค้า SU (ซิโน-ไทย และยูนิค) เป็นผู้ก่อสร้าง มีผลงานกว่า 70.52% ล่าช้าจากแผนงานอยู่ประมาณ 1% และตามกำหนดจะต้องแล้วเสร็จในเดือน พ.ย. 2562
สัญญาที่ 2 งานโครงสร้างทางวิ่งยกระดับและระดับพื้น งานสถานี 8 แห่ง และถนนเลียบทางรถไฟ โดยมีบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ก่อสร้าง หลังตอกเข็มเมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2556 ปัจจุบันมีความคืบหน้ากว่า 97.94% ล่าช้าจากแผนเล้กน้อย
สัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้า เครื่องกลและจัดหาตู้รถไฟฟ้า สำหรับช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และบางซื่อ-รังสิต มีกลุ่มมิตซูบิชิ-ฮิตาชิ-สุมิโตโม จากประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้ดำเนินการ โดยได้เริ่มงานเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2559 ล่าสุดมีความคืบหน้า 28.95% ล่าช้าจากแผร 25.63% ตามสัญญาจะแล้วเสร็จในเดือน มิ.ย. 2563
ค้นหาโครงการที่อยู่อาศัยใกล้รถไฟฟ้าสายสีแดง ได้ที่นี่
ปัญหาหลักที่ส่งผลให้การดำเนินการในสัญญา 3 มีความล่าช้า
รฟท. มีการปรับระบบอาณัติสัญญาณใหม่ให้เป็นระบบเดียวกันทั้งประเทศ จากเดิมเป็นระบบ ATO ซึ่งจะรองรับเฉพาะรถไฟฟ้าของญี่ปุ่น มาเป็นระบบอาณัติสัญญาแบบ ETCS ซึ่งจะเปิดกว้างมากขึ้น ดังนั้นทำให้บริษัทซัพพลายเออร์ผลิตรถให้ไม่ทัน อีกทั้งยังมีเรื่องของการจ่ายกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้า นครหลวง (กฟน.) ที่ขณะนี้เพิ่งจะเริ่มสร้างสถานีจ่ายกระแสไฟฟ้าในโครงการ และการก่อสร้างจะใช้เวลาสร้างกว่า 2 ปี จึงจะสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับโครงการได้ ดังนั้นจึงทำให้การทดสอบระบบรถไฟฟ้าล่าช้าตามไปด้วย
นายวรวุฒิ กล่าวต่อว่า หากการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงเสร็จจะช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณจุดตัดทางรถไฟกับถนน จำนวน 8 จุด และระบบจะสามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารจากรังสิตสู่บางซื่อไม่น้อยกว่า 306,608 คน/วัน ในปีที่เปิดดำเนินการ และเมื่อขยายโครงการจากบางซื่อไปชุมทางบ้านภาชีในอนาคต จะสามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารประมาณ 449,080 คน/วัน
นอกจากนั้นจะเชื่อมต่อการเดินทางกับโครงข่ายคมนาคมรูปแบบอื่นๆ ทั้งการเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เช่น สถานีบางซื่อ สถานีกำแพงเพชร สถานีสวนจตุจักร และสถานีพหลโยธิน ซึ่งเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีชมพูที่สถานีหลักสี่ เชื่อมรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่สถานีหมอชิต และสถานีห้าแยกลาดพร้าวเชื่อมต่อรถไฟความเร็วสูงที่จะเชื่อม 3 ท่าอากาศยาน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ที่สถานีดอนเมือง และเชื่อมต่อสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (หมอชิต)