#สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ #อยู่ต่างประเทศซื้อบ้านในไทย #สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างแดน #อยู่ต่างประเทศอยากซื้อบ้านในไทย
นักลงทุนแนะผู้บริโภคซื้อบ้านและที่อยู่อาศัยก่อนธนาคารแห่งประเทศไทยปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย เพราะอาจมีผลให้ต้นทุนของผู้ประกอบการตลาดอสังหาริมทรัพย์เพิ่มสูงขึ้น
ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 67.5 ทำสถิติสูงสุดในรอบ 13 ไตรมาส หรือราว 3 ปี ประกอบกับการส่งออกและภาคท่องเที่ยวยังขยายตัวดีต่อเนื่อง ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยครึ่งปีแรกเติบโตได้ดี อ่านวิเคราะห์ตลาดอสังหาฯ เพิ่มเติมได้จากรายงานดัชนีอสังหาริมทรัพย์ DDproperty Property Index คลิ๊ก!
นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยว่า แนวโน้มเศรษฐกิจในครึ่งปีหลัง ยังมีทิศทางขยายตัวต่อเนื่องจากครึ่งปีแรก โดยมีปัจจัยสนับสนุนมาจาก 1.การส่งออกที่ยังขยายตัวดีต่อเนื่องตามเศรษฐกิจโลก ซึ่งล่าสุด สศช.ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์ปี 2561 นี้ การเติบโตทั้งด้านมูลค่าและปริมารการส่งออกอยู่ที่ 10.0% และ 6.0% ตามลำดับ เช่นเดียวกับการเพิ่มคาดการณ์การเติบโตของสินค้านำเข้า และภาคการผลิตสำคัญ ๆ ก็ยังขยายตัวเกณฑ์ดี 2.การใช้จ่ายของภาครัฐและการลงทุนภาครัฐมีแนวโน้มเร่งขึ้นในไตรมาส 3/61 ซึ่งเป็นไตรมาสสุดท้ายของปีงบประมาณปีนี้ 3.การลงทุนเอกชนที่ฟื้นตัวชัดเจนขึ้นทั้งจากอัตราการใช้กำลังการผลิตและดัชนีความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจ และความคืบหน้าในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ๆ และ 4.การปรับตัวที่ดีขึ้นของฐานรายได้ของประชาชนที่มีความชัดเจนมากขึ้นตามลำดับ จากเหตุผลทั้งหมด ทำให้มีการคาดการณ์เศรษฐกิจในปีนี้ขยายตัวเฉลี่ย 4.5% ซึ่งสูงกว่าปีที่แล้ว และสูงกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจโลก
ขณะที่ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนยังสูงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจาก ธนาคารกลางหลักของโลกได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้เข้าสู่ภาวะปกติ (normalization) เช่น ธนาคารกลางสหรัฐ ที่มีทิศทางการปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องและเพิ่มมากขึ้น ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 61 และปีหน้า ธนาคารกลางยุโรปและญี่ปุ่นก็มีแนวโน้มจะปรับทิศทางดอกเบี้ยนโยบายทางการเงิน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องการเงินของโลก ดังนั้นความผันผวนของกระแสเงินทุนไหลเข้า-ออกจะอยู่กับประเทศไทย ซึ่งจำเป็นต้องมีการบริหารความเสี่ยง อยากรู้เรื่องดอกเบี้ย FED คลิ๊ก!
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เตรียมทบทวนตัวเลขเศรษฐกิจปีนี้อีกครั้ง รวมถึงพิจารณาความจำเป็นในการใช้นโยบายการเงินแบบพิเศษเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากไทยมีดอกเบี้ยต่ำมานาน (ปัจจุบันดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 1.50% ) อาจส่งผลต่อเสถียรภาพทางการเงินระยะยาวได้ เช่น เงินออมอยู่ในระดับต่ำกว่าที่ควรเป็น เนื่องจาก มีการนำไปหาผลตอบแทนด้านอื่นแทนอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ต่ำ ขณะที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ก็มีการเก็งกำไรกันมากซึ่งอาจกลายเป็นจุดเปราะบางได้
ด้านนักลงทุนแนะผู้บริโภคที่ต้องการซื้อบ้านและที่ดินเพื่ออยู่อาศัย เร่งตัดสินใจก่อนการเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งจะมีผลต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์เพราะทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการสูงขึ้น แม้ช่วงแรกยังไม่เห็นผลกระทบทันที เพราะ ผู้ประกอบการมีการบริหารจัดการต้นทุนไว้แล้ว แต่ในระยะยาวมีความจำเป็นต้องปรับเพิ่มตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างแน่นอน ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคที่กำลังจะซื้อบ้านอาจรู้สึกว่าภาระค่าใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลาง เนื่องจากการตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์เป็นภาระผูกพันหลายสิบปี พร้อมแนะนำ ปัจจุบัน ธนาคารพาณิชย์มีผลิตภัณฑ์สินเชื่อหลากหลาย โดยเฉพาะอัตราดอกเบี้ยคงที่ 3-5 ปี ซึ่งจะช่วยลดความผันผวนทางการเงินของผู้ที่กู้ซื้อบ้านได้