#สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ #อยู่ต่างประเทศซื้อบ้านในไทย #สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างแดน #อยู่ต่างประเทศอยากซื้อบ้านในไทย
กทม.ให้บริษัทลูกกรุงเทพธนาคม ลุยโครงการรถไฟฟ้ารางเบา เชื่อมพื้นที่เศรษฐกิจกรุงเทพฯชั้นใน 10 เส้นทาง 1.2 แสนล้านบาท ใช้ระบบสัมปทาน นำร่อง 2 เส้น ราชประสงค์จุฬาฯ ยกให้อาร์ทีซี บัส ดำเนินการ
ปัญหาวิกฤติจราจรในพื้นที่กรุงเทพฯ ทำให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) มีแนวคิดพัฒนาขนส่งมวลชนระบบรอง นอกจากบรรเทาการจราจรบนเส้นทางหลักแล้ว เพื่อให้การลงทุนรถไฟฟ้าของรัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยการดึงคนที่อยู่ในเส้นทางซึ่งรถไฟฟ้าสายหลักเข้าไม่ถึงให้เข้าสู่ตัวสถานีใหญ่ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว โดยไม่เสียเวลาต่อโดยสารรถประจำทาง จักรยานยนต์รับจ้าง ลดการเดินทางลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว จึงสรุปว่าการเชื่อมต่อโดยระบบรางเหมาะสมที่สุด จึงทำให้เกิดโครงการลงทุนรถไฟฟ้ารางเบา หรือ Tram ในเขตกรุงเทพฯชั้นใน
นำร่อง 2 เส้นทาง
นายฐาปนา บุณยประวิตร นายกสมาคมการผังเมืองไทย เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า บริษัท รีเจียนนอล ทรานซิท โคเปอร์เรชั่น จำกัด RTC Bus) สมาคมฯ และ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด บริษัทลูกของ กทม.ร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้ารางเบา หรือ แทรม วางเป้า 10 เส้นทาง มูลค่า 1.2 แสนล้านบาท ใช้รูปแบบเดียวกับการลงทุนรถไฟฟ้าบีทีเอสโดย กทม.เป็นเจ้าของสัมปทาน
เบื้องต้นนำร่องลงทุน 2 เส้นทางวงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาทได้แก่ เส้นราชประสงค์และ จุฬาฯพระราม 4 ระยะทางเส้นละประมาณไม่เกิน 10 กิโลเมตร รูปแบบ เป็นรถไฟฟ้ารางเบา ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า บีทีเอส ประมาณ ครึ่งเมตร ขนาดความกว้างของรางมาตรฐาน เหมือนต่างประเทศ 1.435 เมตร ความจุผู้โดยสารรวมนั่ง-ยืน จำนวน 98-100 คนต่อ 1 คัน ( 3ตู้) 2 เส้นทางจำนวน 10 คันจัดทำระบบราง บนถนนพร้อมป้ายสถานี ภายในรถจะเป็นดิจิตอล มีไวไฟ และระบบบริการสำหรับผู้สูงอายุฯลฯ เหมือนบีทีเอส
ทั้งนี้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ส่งเสริมการเดินทาง สีเขียวหรือ กรีน ทรานสปอร์ตเตชั่น ส่งเสริมเชื่อมไปจุดเล็กจุดน้อยได้ ลงบีอาร์ที ขึ้น “แทรม” เข้าสถานทูตสหรัฐฯ เพื่อทำวีซ่า เป็นต้นจากที่ผ่านมารถไฟฟ้าหลักเข้าไม่ถึง แต่กลับมีสถานทูตโรงแรม ในย่านนั้นค่อนข้างมาก มหานครใหญ่ของโลก หลายประเทศ ใช้ระบบรางรูปแบบนี้กทม.ก็เช่นกัน
กทม.เตรียมให้สัมปทาน
สำหรับขั้นตอน รอจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอ แต่จะหารือกทม. ขอเข้าโครงการเร่งด่วนหรือ ฟาสต์แทร็ก ขณะเดียวกัน กทม.อยู่ระหว่างศึกษารายละเอียดการออกใบอนุญาตสัมปทานเดินรถให้กับ RTC Bus ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่เสนอตัวเข้ารับสัมปทานและเป็นเอกชน รายเดียวกับลงทุน สมาร์ทบัสที่วิ่งให้บริการปัจจุบันที่จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งนี้โครงสร้างราง จะก่อสร้างบนผิวถนนบริเวณกึ่งกลางเมื่อรถไฟฟ้าวิ่งผ่านแล้วรถยนต์สามารถวิ่งทับเส้นทางได้ ประมาณไตรมาสที่ 3 ของปี 2562 สามารถลงมือก่อสร้างระบบรางได้โดยใช้ระยะเวลา 18 เดือน คาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมเปิดเดินรถได้ อย่างเร็วปลายปี 2563 อย่างช้าต้นปี 2564 สำหรับ 2 เส้นแรก