#สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ #อยู่ต่างประเทศซื้อบ้านในไทย #สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างแดน #อยู่ต่างประเทศอยากซื้อบ้านในไทย
มหาวิทยาลัยคิวชู ประเทศญี่ปุ่น ร่วมกับบริษัท Kaico สตาร์ทอัปที่ตั้งอยู่ในฟุกุโอกะ ประกาศว่า สามารถสร้างโปรตีนในร่างกายของหนอนไหมในปริมาณมาก และหวังว่าจะร่วมมือกับบริษัทยาเพื่อเริ่มนำโปรตีนดังกล่าวไปทดลองทางคลินิกในปีงบประมาณหน้าหลังจากทดสอบวัคซีนโควิด-19 ในหนู
นักวิจัยกล่าวว่า พวกเขาต้องการผลิตวัคซีนโควิด-19 ที่มีต้นทุนต่ำ และสามารถนำไปใช้ได้อย่างกว้างขวางทั่วโลก
ทีมวิจัย ซึ่งมีศาสตราจารย์คุซาคาเบะ ทากาฮิโระ (Takahiro Kusakabe) ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุลของแมลง ได้ทำการใส่เชื้อพันธุกรรมของไวรัสก่อโรคโควิด-19 เข้าไปในไวรัสที่เติบโตในแมลงเท่านั้น และจากนั้นก็ฉีดไวรัสดังกล่าวเข้าไปในหนอนไหมอีกที
ทีมวิจัยยืนยันว่า หลังจากฉีดไวรัสเข้าสู่ตัวหนอนไหมประมาณ 5 วัน ในร่างกายของหนอนไหมจะเกิด Spike Proteins
Spike Proteins คือส่วนที่ยื่นออกมาบนพื้นผิวของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ และการติดเชื้อของมนุษย์จะเกิดขึ้นเมื่อส่วนที่เป็นหนามนี้จับกับโปรตีนของเซลล์มนุษย์
สำหรับการทดสอบในอนาคตเกี่ยวกับหนู พวกเขาจะทดลองว่า หนูสามารถพัฒนาแอนติบอดีที่สามารถป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้หรือไม่
พวกเขายังคงทำการวิจัยวัคซีนสำหรับโรคติดเชื้อใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยเคยพัฒนาวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนาในโค (คนละชนิดกับไวรัสโคโรนาในมนุษย์)
คุซาคาเบะกล่าวว่า วัคซีนที่ได้รับการพัฒนาในญี่ปุ่นและต่างประเทศนั้นคาดว่าจะมีราคาแพง ดังนั้นในขณะนี้ นักวิจัยจะตั้งเป้าไปที่การพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ที่สามารถให้บริการได้ในราคาเพียง 2,000-3,000 เยน (ราว 580-870 บาท) เขาหวังว่ามันจะแพร่หลายไปยังประเทศกำลังพัฒนาในอนาคต
ที่สำคัญ นี่จะเป็นวัคซีนที่สามารถ กินได้ เขาเสริม
มหาวิทยาลัยคิวชูมีประวัติและชื่อเสียงด้านการศึกษาค้นคว้าและเก็บรวบรวมหนอนไหมมานานกว่าหนึ่งศตวรรษ คุซาคาเบะและทีมนักวิจัยยืนยันว่า ในจำนวนหนอนไหมกว่า 450 สายพันธุ์ที่เพาะเลี้ยงในมหาวิทยาลัย มีสายพันธุ์ที่สามารถผลิตโปรตีนในปริมาณมากได้
cr. pptvhd36