#สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ #อยู่ต่างประเทศซื้อบ้านในไทย #สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างแดน #อยู่ต่างประเทศอยากซื้อบ้านในไทย
กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ได้มีการรับถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนโควิด 19 จากบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า จำกัด โดยให้บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ในประเทศไทย เป็นผู้ผลิต จำนวน 26 ล้านโดส เพียงพอสำหรับคนไทย 13 ล้านคนเท่านั้น
การสนับสนุนวางแผนจัดหาวัคซีนจากแหล่งอื่นๆ จึงมีความจำเป็นการจัดหาวัคซีนให้เพียงพอกับคนไทยทั้งประเทศประมาณ 66.5 ล้านคน จึงเป็นอีกหนึ่งความท้าทายของ สธ. อย่างยิ่ง
ขณะเดียวกันก็มีความคืบหน้าจากบริษัทใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ก่อตั้งโดยทีมวิจัยเภสัชศาสตร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Start up จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะนี้ได้มีการผลิตวัคซีนป้องกันโควิด 19 จากใบพืชได้สำเร็จแล้วในห้องปฎิบัติการ และจะทดลองในมนุษย์ ช่วงกลาง ปี 2564 ต่อไป และคาดว่าจะใช้ฉีดวัคซีนให้แก่คนไทยปลายปี2564 ดังนั้น ถ้าทุกคนมีส่วนร่วมให้การสนับสนุน และช่วยให้นักวิจัยไทย สามารถพัฒนาองค์ความรู้ต่อยอด จะป้องกันโรคโควิด 19 และโรคระบาดอื่นๆ ได้อย่างแน่นอน
)บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ,บริษัท ซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ จำกัด และมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์บริษัทที่จัดตั้งโดยชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมกับองค์การเภสัชกรรม และบริษัท คินเจน ไบโอเทค จำกัด ได้ร่วมขับเคลื่อนโครงการพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด 19 และภาคีเครือข่าย ให้สามารถพัฒนานวัตกรรม ผ่านโครงการวัคซีนเพื่อคนไทย เพื่อนำมาเป็นทุนวิจัยและพัฒนาวัคซีนเพื่อคนไทยโดยคนไทย ซึ่งจะเริ่มบริจาคพร้อมกันทั่วประเทศ ในวันที่ 18 ธ.ค.นี้
ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประธานกรรมการบริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด กล่าวว่าการทดลองในมนุษย์จะมี 3 เฟส โดยเฟสแรก เป็นการทดลองความปลอดภัย เฟส 2 เป็นการทดลองกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ซึ่งใน 2 เฟสแรกนี้จะทดลองพร้อมกันและใช้มนุษย์ทดลองประมาณ 300 คน ในกลางปี 2564 ก่อนจะต่อด้วยเฟสที่ 3 ซึ่งในส่วนของเฟสที่ 3 ต้องดูการระบาดของโรค หากในประเทศไทยไม่มีการระบาด ก็อาจจะต้องใช้ประเทศเพื่อนบ้าน โดยทางสถาบันวัคซีนแห่งชาติจะเป็นผู้ประสานให้
ส่วน เรื่องของโรงงานในการผลิตวัคซีนนั้น จุฬาฯได้มีโรงงานที่จัดตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัย แต่ตอนนี้กำลังปรับปรุงให้สามารถทำงานทดสอบได้ทุกขั้นตอน โดยหากทำสำเร็จจะสามารถผลิตวัคซีนได้ทันที 1-5 ล้านโดสต่อเดือน ที่จะช่วยคนไทยเข้าถึงวัคซีนโควิด 19 ได้มากขึ้น วัคซีนจากพืชนี้ เป็นการผลิตจากพืชกลุ่มใบยาสูบที่มีปริมาณนิโคตินต่ำซึ่งจะนำมาสกัดโปรตีนบริสุทธิที่ได้มีการทดลองในสัตว์ทดลอง 2 ชนิด คือ หนูและลิง โดยช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ได้เป็นอย่างดี และมีผลข้างเคียงน้อยมาก
“ฉะนั้น การเปิดรับบริจาค คนละ 500 บาท 1 ล้านคน เป็นจำนวนเงิน 500 ล้านบาท จะนำมาใช้ในการจัดตั้งปรับปรุงโรงงาน และเปิดสายการผลิตรวมถึงทดสอบการผลิตป้องกันโรคอื่นๆ ทั้งโรคติดเชื้อ โรคระบาด โรคอุบัติใหม่ๆ เป็นเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม ที่คิดค้นโดยคนไทย ผลิตในประเทศไทยและเพื่อคนไทย ซึ่งการผลิตวัคซีนได้ภายในประเทศ จะช่วยลดต้นทุนการนำเข้าเทคโนโลยีและวัคซีนต่างประเทศ” ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา กล่าว
ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา กล่าวว่า การผลิตวัคซีนจากพืช เป็นการใช้ต้นไม้เป็นแหล่งผลิต โดยนักวิจัยเป็นผู้ปลูก ทำให้ต้นทุนไม่สูง ลดการนำเข้าวัคซีน จากต่างประเทศ และเมื่อผลิตจำนวนมากๆ ทำให้ต้นทุนราคาถูกเข้าไปอีก วัคซีนจากใบยาครั้งนี้ คาดว่าจะราคาประมาณ 500 บาทต่อโดส แต่ถ้าผลิตในปริมาณมากราคาก็จะลดลงไปอีก ซึ่งเมื่อเทียบกับราคาวัคซีนในต่างประเทศ ที่มีตั้งแต่ 150-1,000 บาทต่อโดส ถือว่าคุ้มค่าและช่วยคนไทยได้เข้าถึงวัคซีนคุณภาพ
Cr.bangkokbiznews