#สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ #อยู่ต่างประเทศซื้อบ้านในไทย #สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างแดน #อยู่ต่างประเทศอยากซื้อบ้านในไทย
วันนี้( 2 ก.พ.64) ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ ประสิทธิ์วัฒนาภา คณบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุถึง ความกังวลที่ประชาชนมีต่อประสิทธิภาพของวัคซีนโควิด-19 ที่ไทยจะนำเข้ามานั้น ยืนยันว่า วัคซีนมีความปลอดภัย ซึ่งหากวัคซีนโควิดถึงเมืองไทยตนอาสาจะเป็นคนแรกที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนคนไทย
สำหรับการรับวัคซีนของแต่ละคนนั้น จะต้องรับวัคซีนชนิดเดียวกันจนครบจำนวนโดสที่กำหนด ทั้งเข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 ซึ่งไม่สามารถไปรับวัคซีนโควิดอีกชนิดได้ โดยมีรายงานทางวิชาการออกมาแล้วว่าจะต้องเป็นวัคซีนที่ฉีดชนิดเดียวกัน หากวัคซีนมีความเพียงพอมีการทยอยนำเข้ามายังประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง คนไทยได้รับการฉีดวัคซีนจำนวนเยอะก็จะทำให้คนส่วนใหญ่มีภูมิคุ้มกันหมู่ที่จะทำใหัไวรัสค่อยๆหายไปได้
ขณะที่ผลข้างเคียงของวัคซีนโควิด-19 ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง และหายได้เองภายใน 2-3 วัน ทานยาบ้างเล็กน้อย อาการที่พบ เช่น อาการปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีดวัคซีน มีไข้อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หนาวสั่น ปวดข้อ ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถพบได้ในการฉีดวัคซีนทั่วไป ส่วนผลข้างเคียงที่รุนแรงจนถึงเสียชีวิตตอนนี้พบน้อยมาก
การฉีดวัคซีน ตอนนี้ทั่วโลกมองในเรื่องเศรษฐกิจของประเทศ หลายประเทศมองว่า ถ้าวัคซีนสามารถฉีดในประชากรได้จำนวนเยอะ อาจจะเริ่มมีการเปิดเรื่องของการท่องเที่ยวเข้ามา ในอนาคตอาจมีความเป็นไปได้ว่าในการเดินทางข้ามประเทศอาจจะมีการถามว่าบุคคลนั้นมีการฉีดวัคซีนโควิด-19 มาแล้วหรือยัง ถ้ายังไม่ฉีดวัคซีนอาจจะยังไม่ได้รับการอนุมัติให้เข้าประเทศนั้นๆเหมือนสมัยก่อนที่ต้องมีการฉีดวัคซีน คิดว่าหลายประเทศที่ต้องการฟื้นตัวจากเศรษฐกิจฟื้นถ้าธุรกิจต่างๆพยายามที่จะเร่งหาวัคซีนที่จะเข้าประเทศ
สำหรับประเทศไทยเป้าหมายในการฉีดวัคซีน ไม่ควรที่จะเกินปลายปีนี้ กำลังเร่งหาวัคซีนจากหลายที่อยู่ การจัดหาวัคซีนประเทศไทยคงต้องเป็นเรื่องที่รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ที่เร่งจัดหา แต่หากไทยอยากได้วัคซีนเข้ามาเร็ว แนวทาง คือรัฐบาลกับรัฐบาลมีการเจรจากันในความเห็นของตน มองว่า หากไม่ได้วัคซีนของบริษัทไหนต้องมีวัคซีนชนิดอื่นสำรองที่สามารถได้เข้ามายังประเทศไทยตอนนี้มีวัคซีนให้เลือกอยู่หลายชนิด
ส่วนกระแสข่าว ที่ออกมาว่าถึงความกังวลว่า บริษัท astrazeneca อาจจะไม่สามารถจัดส่งวัคซีนให้กับหลายประเทศได้ตามที่ตกลงไว้
นพ.ประสิทธิ์ มองว่า บริษัทตกลงกับใครไว้ในการจองก็ต้องเร่งการผลิต แต่เข้าใจว่าอาจจะมีช่วงที่ทำให้การผลิตของบริษัทชะลอตัวลง ซึ่งเป็นเรื่องที่บริษัทต้องไปแก้ปัญหาภายใน ตอนนี้แต่ละประเทศได้มีการเร่งจัดหา ซึ่งหากบริษัท astrazeneca ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ เชื่อว่าทุกประเทศจะกดดันลงไปอีก
ส่วนของประเทศไทยดีอย่าง คือ เราไม่มีปัญหา เนื่องจากโรงงานผลิตที่บริษัทสยามไบโอไซเอนซ์จำกัด มีความสามารถผลิตได้เองตามที่ตกลงกันไว้ใน 26 ล้านโดสแรก ยังสามารถที่จะเดินหน้าผลิตได้เพียงแต่ว่าผลิตเสร็จแล้วต้องได้รับการยืนยันคุณภาพอีกครั้งว่ามาตรฐานตรงตามที่บริษัท astrazeneca ต้องการ และอย.ของไทยต้องอนุมัติอีกครั้ง ซึ่งอนาคตต้องมีการคิดมากกว่าจำนวน 26 ล้านโดสด้วย
นพ.ประสิทธิ์ ระบุอีกว่า สมมุติประเทศไทยมีการตั้งเป้าว่าจะฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมคนไทยทั้งหมด 60-70 ล้านคน ภายใน 3 เดือน คำถามตามมา คือ เราจะหาวัคซีนจำนวนมากได้จากที่ไหนซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะทั่วโลกมีการแย่งจัดซื้อจองวัคซีนเป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นอาจจะต้องตั้งเป้าหมายที่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงว่าเรามีโอกาสจะได้วัคซีนจากที่ไหนมาในช่วงเวลาไหน
ขณะเดียวกันถึงไม่ได้วัคซีนมาในช่วงเวลานี้ก็ไม่ได้เป็นเรื่องร้ายแรง เพียงแต่ทุกคนยังต้องทำสิ่งที่ทำมาตลอด การผ่อนคลายมาตรการต่างๆการเฝ้าระวังการป้องกันตนเอง แต่ถ้าสมมุติเมื่อไหร่ที่ประเทศไทยได้รับวัคซีนทยอยเข้ามาก็ค่อยว่ากันอีกที
สถานการณ์วัคซีนโควิด-19 หลังเริ่มมีการฉีดวัคซีนว่า ขณะนี้มีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ไปแล้วกว่า 100 ล้านโดส โดยสหรัฐอเมริกา มีการฉีดวัคซีนเยอะที่สุด ตามมาด้วย ประเทศจีน และ สหราชอาณาจักร
ตอนนี้ ในสหรัฐอเมริกามีการฉีดวัคซีนไปแล้วเกือบ 27 ล้านโดส ขณะเดียวกันในจีนมีการฉีดไปแล้ว 23 ล้านโดส ในสหราชอาณาจักร ประมาณ 9 ล้านโดส ส่วนประเทศอิสราเอล ถึงแม้ประเทศจะไม่ใหญ่มากแต่มีการฉีดวัคซีนต่อประชากร 100 คนมากที่สุดตอนนี้อยู่ที่ประมาณ 4.66 ล้านเข็ม
ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการฉีดไปแล้วประมาณ 23 ล้านคน จากประชากรในปี2562 ทั้งหมด 328 ล้านคน เฉลี่ยฉีดไปแล้วประมาณ ร้อยละ 6.9
ส่วนสหราชอาณาจักร มีประชากรประมาณ 66 ล้านคน ขณะนี้มีการฉีดวัคซีนไปแล้วประมาณเกือบ 3.38 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ13ของประชากรทั้งหมด
ประเทศอิสราเอล ข้อมูลประชากรในปี 2561 อยู่ที่ 8.88 ล้านคน ตอนนี้มีการฉีดวัคซีนไปแล้วประมาณเกือบ 3 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 33.44
อย่างไรก็ตามตอนนี้ที่มีการฉีดวัคซีนไปกว่า 46 ล้านคน 100 ล้านโดส มีการรวบรวมผลข้างเคียงเมื่อวัคซีนผ่านระยะ 3 เมื่อมีการฉีดในประชากรของประเทศต่างๆ จะมีช่วงเวลาระยะหนึ่งที่เรียกว่าการติดตามผลหลังจากการฉีดถึงผลข้างเคียงมี 2 ปัจจัยหลัก คือ ผลข้างเคียง และประสิทธิผลของวัคซีนที่นำไปสู่การป้องกัน
Cr.TNNnews