พราะทุกวันนี้ มีนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาให้ได้ว้าวกันอยู่เสมอ 1 ในนั้นคือโดรน ตัวช่วยการเกษตรชั้นดีที่จะเข้ามาเติมเต็มในส่วนที่เกษตรกรทำไม่ได้
วันนี้จะพาไปอินไซด์แนวคิด 2 นักพัฒนาเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ ซึ่งหลายคนอาจจะคิดไม่ถึงว่าจริงๆ แล้วโดรนที่เข้าไปช่วยเจ้าหน้าดับเพลิงในเหตุวินาศภัยนั้น เริ่มต้นมาจากโดรนเพื่อการเกษตรที่ต้องการจะยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ชาวไร่ ชาวสวน ในพื้นที่ต่างจังหวัด ให้สามารถนำเอาเทคโนโลยีเข้าไปประยุกต์ใช้ในขั้นตอนการทำเกษตรกรรม โดยเฉพาะในด้านผลผลิตและความแม่นยำ และความหวังที่จับมือเกษตรกรวิ่งสู่ความเป็น สมาร์ทฟาร์มเมอร์ ไปด้วยกัน
เริ่มกันที่ ดร.ดี จันทร์ศุภฤกษ์ ผู้ร่วมก่อตั้งโดรนชุมชน บริษัท นวัตกรรมเพื่อสังคมและเทคโนโลยีเกษตร จำกัด กล่าวว่า แนวคิดในการทำโดรนเพื่อชุมชนนั้น เกิดขึ้นจากที่ตนและทีมต้องการที่จะยกระดับ และเพิ่มโอกาสให้ชุมชนในแถบชนบทได้เข้าถึงเทคโนโลยีในการทำเกษตรกรรม เนื่องจากทางทีมงานได้มองเห็นความสำคัญของเกษตรกรในการเป็นผู้สร้างความมั่งคงทางอาหาร ต่อเนื่องไปสู่ความมั่นคงของมนุษย์ และความมั่นคงของประเทศ
ดังนั้นจึงได้เริ่มต้นในการทำแพลตฟอร์มสำหรับการจัดหาโดรนเข้าไปใช้ในการทำการเกษตรให้แก่ชุมชน โดยได้รับการสนับสนุนจาก NIA ในโครงการหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม (SID) จังหวัดอุบลราชธานี สำหรับโดรนนั้นเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่จะเข้าไปช่วยให้การทำเกษตรมีความแม่นยำ ช่วยในด้านการคำนวณปริมาณสารเคมี หรือปริมาณพันธุ์ข้าวที่จะใช้ต่อไร่ ซึ่งจะช่วยในเรื่องการเพิ่มผลผลิต รวมไปถึงช่วยลดความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีของเกษตรกรได้ดีมากขึ้น เพราะสามารถใช้โดรนฉีดพ่นสารเคมีได้เลย
นอกจากนี้การใช้โดรนในภาคการเกษตรยังช่วยเพิ่มความมั่นคงทางด้านแรงงานได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม มีการคาดการณ์ว่าในปี 2564 นี้ จะมีโดรนเพื่อการเกษตรเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 3,000-4,000 ลำ ซึ่งในจำนวนดังกล่าวถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับภาคการเกษตรไทย โดยเฉพาะด้านการผลักดันให้ภาคเกษตรก้าวสู่การทำเกษตรกรรมแบบ 4.0 อย่างเต็มตัว
ในอนาคตเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับหรือโดรนจะเริ่มมีความสำคัญและมีบทบาทมากกว่าปัจจุบัน โดยเฉพาะการใช้โดรนในระบบขนส่ง / โลจิสติกส์ที่มีน้ำหนักเบา ไม่ว่าจะเป็นกล่องพัสดุ เวชภัณฑ์ยา แต่ยิ่งไปกว่านั้นในอนาคตเชื่อว่าจะถูกพัฒนาให้แม่นยำ มีความทนทานพอที่จะส่งของหนักได้ อีกด้านคือการใช้โดรนเพื่อปฏิบัติหน้าที่แทนมนุษย์ในการกู้ภัย เพราะคุณสมบัติที่รวดเร็ว คล่องตัว และแม่นยำ จะช่วยให้ลดการสูญเสียกำลังคน และช่วยลดความสูญเสียจากการเกิดเพลิงไหม้ หรือวินาศภัยในด้านอื่นๆ ลงได้ด้วยเช่นกัน
ต่อกันที่ กฤตธัช สารทรานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โนวี่ (2018) จำกัด กล่าวว่าตนเองมีความสนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีหุ่นยนต์ เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ ส่วนจุดเริ่มต้นในการทำธุรกิจสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ หรือโดรน ตนและทีมเห็นว่าในอนาคตโดรนจะสามารถเข้าไปช่วยทำให้ระบบการทำงานในภาคส่วนต่าง ๆ เกิดความคล่องตัว รวดเร็ว มีความแม่นยำ และยังช่วยลดความสูญเสียได้มากยิ่งขึ้น
กฤตธัช กล่าวต่อว่าปัจจุบันโดรนของโนวี่สามารถให้บริการภาคการเกษตรได้อย่างครอบคลุมไม่ว่าจะเป็นการพ่นยา พ่นปุ๋ย และที่สำคัญโนวี่โดรนยังช่วยให้กระบวนการการทำการเกษตรสะดวก และรวดเร็ว ประหยัดการใช้แรงงานคนได้มาก เพราะโดรน 1 ตัว สามารถทำงานได้เร็วกว่าแรงงานคนมากถึง 10 เท่า อีกทั้งยังช่วยให้เกษตรกรปลอดภัยจากการที่ต้องสัมผัสสารเคมี
นอกจากนี้ ยังมองว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับจะเข้าไปมีบทบาทกับภารกิจอื่นๆ ได้เยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นการใช้โดรนในระบบโลจิสติกส์ โดรนเพื่อการขนส่ง แท็กซี่โดรน หรือแม้แต่กระทั่งใช้โดรนในการกู้ภัยพิบัติต่างๆ เพราะการใช้โดรนหรือหุ่นยนต์ในการกู้ภัยสามารถช่วยลดความสูญเสียจากการเข้าไปทำงานในจุดเสี่ยงอันตราย และอย่างน้อยหากเกิดอันตรายขึ้นเราก็แค่สูญเสียอุปกรณ์ไป
ด้วยความฉลาด และความสามารถที่หลากหลายนี้เอง จึงทำให้โดรนถูกวางตัวไว้เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่จะกลายเป็นส่วนสำคัญให้กับหลาย ๆ ภาคอุตสาหกรรม และเชื่อว่าในอนาคตคนไทยจะได้เห็นโดรนถูกใช้งานในภารกิจอื่น ๆ อย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน
#sme #smestartup #drone #smartfarm #สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ
cr. https://www.blockdit.com/posts/6115e52ce4ccfc0c819e5646
#สินเชื่อคนไทยในต่างประเทศ #สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ #สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างแดน #อยู่ต่างประเทศอยากมีบ้านในไทย #กู้บ้านในไทยคนไทยในต่างแดน #สินเชื่อบ้านสำหรับคนไทยในต่างแดน #ทำงานต่างประเทศกู้บ้านในไทย