#สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ #ThinkOfThailandThinkSunGateway
วันที่ 28 กันยายน ของทุกปีถือเป็นวันพระราชทานธงชาติไทย โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พุทธศักราช 2460 โดยมีสาระสำคัญคือ การประกาศให้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทยสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ภายหลังจากมีการประกาศไว้ ณ วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2460 ซึ่งในปีนี้ถือเป็นปีที่ครบรอบ 104 ปี ที่ได้มีการประกาศใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย
และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงกำหนดความหมายของสีธงไตรรงค์แบบไม่เป็นทางการในพระราชนิพนธ์ เรื่อง เครื่องหมายแห่งไตรรงค์ ไว้ว่า
สีแดง หมายถึง เลือดอันยอมพลีให้แก่ชาติ
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์แห่งธรรมะอันเป็นหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา
สีน้ำเงิน หมายถึง สีส่วนพระองค์ขององค์พระมหากษัตริย์ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ ให้มีบันทึกเรื่องธงชาติ โดยให้ยึดเอาธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทยตั้งแต่นั้นมา เพื่อจะได้ไม่ต้องเกิดความสับสนกับต่างประเทศ และจะได้ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงธงชาติบ่อยๆ จึงได้กำหนดความหมายของธงไตรรงค์ให้ชัดเจน แต่ก็ครอบคลุมอุดมการณ์เดิมของรัชกาลที่ 6 เอาไว้ด้วย ดังนี้
สีแดง หมายถึง ชาติ (ประชาชน)
สีขาว หมายถึง ศาสนา (ไม่ได้เน้นศาสนาใดโดยเฉพาะ)
สีน้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์
อย่างไรก็ตาม ลักษณะของธงชาติไทยในปัจจุบันปรากฏตามความในหมวด 1 มาตรา 5 (1) แห่งพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522 โดยกำหนดไว้ว่า ธงชาติมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 6 ส่วน ยาว 9 ส่วน ด้านกว้างแบ่งเป็น 5 แถบ ตลอดความยาวของผืนธง ตรงกลางเป็นสีน้ำเงินแก่ กว้าง 2 ส่วน ต่อจากแถบสีน้ำเงินแก่ออกไปทั้ง 2 ข้างเป็นแถบสีขาว กว้างข้างละ 1 ส่วน และต่อจากแถบสีขาวออกไปทั้ง 2 ข้าง เป็นแถบสีแดง กว้างข้างละ 1 ส่วน อย่างที่เราเห็นธงไตรรงค์แห่งชาติไทย ณ ปัจจุบันกันนั่นเอง
cr. https://hilight.kapook.com/view/142405
#สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ #สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างแดน #อยู่ต่างประเทศอยากมีบ้านในไทย #กู้บ้านในไทยคนไทยในต่างแดน #สินเชื่อบ้านสำหรับคนไทยในต่างแดน #ทำงานต่างประเทศกู้บ้านในไทย