กลายเป็นกระแสระดับโลก หลังแร็ปเปอร์สาว “มิลลิ-ดนุภา คณาธีรกิจ” ไปแสดงบนเวที “โคเชลลา 2022” โชว์กินข้าวเหนียวมะม่วง เมนูอาหารหวานยอดนิยม ส่งผลดีต่อการผลักดัน “ซอฟต์ พาวเวอร์” (Soft Power) ของไทย จนหลายคนมีการพูดถึงการสร้าง “ซอฟต์ พาวเวอร์” ในเชิงรัฐศาสตร์ และการทูตระหว่างประเทศ ที่บางประเทศในยุโรปมีการใช้มาอย่างยาวนาน
รวมถึงการเกิดคำถามกับประเทศไทย ซึ่งที่ผ่านมามีความพยายามจะสร้างอยู่หลายครั้ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ และมีแนวโน้มว่าไทยอาจจะตกขบวนในการพัฒนาของ โลกอนาคต หากไม่เริ่มทำอย่างเป็นระบบ
มิลลิ โชว์กินข้าวเหนียวมะม่วง “ซอฟต์ พาวเวอร์” แบบไทยๆ อำนาจทรงพลัง
สลัดอากาศจี้เครื่องบิน คอมมานโด อินโดฯ บุกสนามบินดอนเมือง (2524)
โควิด โอมิครอน BA.4 และ BA.5 ข้อมูลอะไรคือสิ่งที่เรารู้
“ผศ.วันวิชิต บุญโปร่ง” อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ยอมรับว่า ซอฟต์ พาวเวอร์ (Soft Power) เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจอย่างมากในไทย แต่คำนี้ในระดับโลกมีใช้มานานกว่า 20 ปี โดย “โจเซฟ เนย์” นักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกัน เป็นผู้กำหนดขึ้น และเป็นการดำเนินยุทธศาสตร์เชิงการปกครองที่ไม่ต้องใช้อาวุธ หรือกำลังพลทางทหารเพื่อเอาชนะ แต่เป็นการเอาชนะที่สามารถกำหนดพฤติกรรมประชากรของคู่ต่อสู้ได้ โดยไม่ต้องใช้อำนาจเงินมหาศาล และที่ผ่านมามีบางประเทศสามารถทำได้ ในการสร้างค่านิยมทางการเมืองให้กับประเทศฝ่ายตรงข้ามคล้อยตาม และดำเนินกลยุทธ์ทางการทูตตามที่ตัวเองกำหนดได้
ซอฟต์ พาวเวอร์ เป็นการสร้างอำนาจเชิงโน้มนำ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดอย่างสงครามรัสเซียกับยูเครน ที่ผู้นำยูเครนใช้กลยุทธ์นี้ในการสร้างภาพลักษณ์ให้คนทั่วโลกต่างสนใจ ผ่านโลกออนไลน์ และคลิปวิดีโอ จนทำให้คนทั่วโลกเกิดความเห็นใจในการสู้รบครั้งนี้ ที่ยูเครนเป็นรอง สิ่งนี้พิสูจน์ให้เห็นว่า กลยุทธ์นี้ยังใช้ได้ผล เพราะรัสเซียไม่สามารถเข้ามายึดครองยูเครนได้อย่างเบ็ดเสร็จ
หรือสหรัฐเอมริกา ใช้กลยุทธ์นี้ผ่านหนังโฆษณาและภาพยนตร์ซุปเปอร์ฮีโร่ เราจึงเห็นหนังฮอลลีวูด ที่มักสร้างให้พระเอกเป็นเหมือนตำรวจของโลก หรือประเทศที่มีความคิดเห็นต่างทางการเมืองเป็นตัวโกง จนประชนชนในประเทศมีความคล้อยตามและสนับสนุน ดังนั้นจะเห็นว่า ในเชิงรัฐศาสตร์ ซอฟต์ พาวเวอร์ สามารถใช้ได้ทั้งการต่อกรกับประเทศตรงข้าม และทำให้ประชาชนในประเทศสนับสนุนรัฐบาลได้
สำหรับไทย การจะพัฒนา ซอฟต์ พาวเวอร์ ให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติได้ ต้องมาจากนโยบายของรัฐบาล ต้องเปลี่ยนแนวคิดการจัดการระหว่างการสร้างกำลังทางทหารกับซอฟต์ พาวเวอร์ แต่ที่ผ่านมา เรายังเน้นการพัฒนาเชิงกำลังทหารและอาวุธเป็นหลัก ทั้งที่จริงเรามีจุดเด่นด้านวัฒนธรรมที่สามารถสร้างได้ และจะส่งผลดี ไม่ใช่แค่ในเชิงรัฐศาสตร์ แต่สามารถสร้างรายได้เข้ามาในประเทศ
แม้ที่ผ่านมาไทยมีความพยายามที่จะพัฒนาเรื่องนี้อยู่หลายรอบ แต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากไม่ได้มีหน่วยงานที่มารับผิดชอบโดยตรง แต่ที่ผ่านมายังเป็นการทำงานในหลายหน่วยงาน จนสุดท้ายแนวทางที่วางไว้ไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ เช่น เกาหลีใต้ ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้คือ กระทรวงวัฒนธรรม ดำเนินการทำงานอย่างต่อเนื่อง แต่กว่าจะประสบความสำเร็จ และสร้างมูลค่าได้ ต้องใช้เวลากว่าทศวรรษ
ขณะเดียวกัน ไทยควรจะต้องมาวิเคราะห์และสำรวจอย่างจริงจังว่า สิ่งใดที่สามารถสร้างและได้รับการยอมรับอย่างเป็นสากล โดยเฉพาะอาหารสตรีทฟู้ด และวัฒนธรรมต่างๆ เช่น มวยไทย แต่สิ่งสำคัญในการพัฒนา ไม่ควรจะทำตามกระแส ที่สุดท้ายจะพัฒนาได้ไม่ยั่งยืน เพราะไม่ใช่ตัวตนและสิ่งที่เราเป็น ซึ่งอาจสร้างความล้มเหลวได้ในอนาคต
💬 ที่มา: https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2370700
🖼️ ภาพจาก: https://plus.thairath.co.th/topic/subculture/101403
Sun Gateway, ซัน เกทเวย์, บริษัท ซัน เกทเวย์ จํากัด, สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ, สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างแดน, สินเชื่อบ้านคนไทยในต่างแดน, สินเชื่อบ้านคนไทยในต่างแดน, สินเชื่อต่างแดน, ธอส สินเชื่อคนไทยในต่างประเทศ, สินเชื่อ ธอส เพื่อคนไทยในต่างประเทศ, โครงการบ้าน ธอส